การให้อภัย คนลาวให้อภัยคนไทย


ใน ระยะประวัติศาสตร์อันยาวนานนั้น นครหลวงเวียงจันทน์ก็มีทั้งระยะเจริญรุ่งเรืองและระยะระทมขมขื่น ถูกทำลายเผาผลาญและตกเป็นเมืองขึ้นของศักดินาต่างด้าวและจักรพรรดิ์ต่างแดน แต่ระยะที่เวียงจันทน์มีความสว่างแจ้งกว่าระยะไหนๆนั้น ก็คือตั้งแต่ปี 1975 มา จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นผู้นำพาทำให้ลาวได้เป็นประเทศที่มีเอกราช อำนาจอธิปไตย เอกภาพและประชาชนลาวได้เป็นเจ้าของประเทศชาติอย่างแท้จริง”

คำกล่าวข้างต้นนี้เป็นการแถลงโดย สมบัด เยียลิเฮอ (แกนนำชาวม้งฝ่ายตรงข้ามกับนายพลวั่ง ปาว)เจ้า ครองนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งยืนยันว่านครหลวงเวียงจันทน์ในปัจจุบันนี้นับเป็นระยะที่ประชาชน ลาวสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขมากที่สุด ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าลาวภายใต้การนำพาของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวนับตั้งแต่ ปี 1975 เป็น ต้นมาจนถึงทุกวันนี้ถือเป็นระยะที่ประเทศลาวนั้นมีเอกราช มีเอกภาพ มีอำนาจอธิปไตย และประชาชนลาวก็เป็นเจ้าตนเองอย่างแท้จริงนั่นเอง

กล่าวสำหรับในปี 2010 นี้ ซึ่งเป็นระยะของการสถาปนาเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของลาวครบรอบ 450 ปี พอดีนั้น ทางการลาวก็ยังได้ดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เพื่อรองรับการจัดงานเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวนี้อย่างยิ่งใหญ่ โดยกำหนดที่จะจัดขึ้นในโอกาสเดียวกันกับบุญนมัสการพระธาตุหลวงในระหว่างวัน ที่ 15-21 พฤศจิกายนปีนี้ที่นครหลวงเวียงจันทน์

ทั้ง นี้โดยกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและทางการลาวก็กำลังเร่งมือ ดำเนินการให้แล้วเสร็จทันกำหนดการเฉลิมฉลองนครหลวงเวียงจันทน์ครบรอบ 450 ปีดังกล่าวนี้ด้วยก็คือการก่อสร้างอนุสาวรีย์ของเจ้าอนุวงศ์ (เจ้ามหาชีวิตองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์) ที่จะมีความสูงถึง 17 เมตร (รวมฐานและแท่นยืนด้วย) ซึ่ง ถือว่าเป็นอนุสาวรีย์ของอดีตเจ้ามหาชีวิตลาวที่สูงที่สุดและจะต้องใช้ทองแดง เฉพาะการหล่อรูปปั้นของเจ้าอนุวงศ์คิดเป็นน้ำหนักรวมถึง 8 ตัน เพื่อให้ประดิษฐานที่สวนสาธารณะริมฝั่งโขงที่อยู่ตรงข้ามกับฝั่งอำเภอศรีเชียงใหม่ในเขตจังหวัดหนองคายของไทยพอดี

ยิ่ง ไปกว่านั้น ทางการลาวยังได้จัดเตรียมพิธีการเฉลิมฉลองอนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์อย่างยิ่ง ใหญ่ด้วยการจัดขบวนแห่อันครึกครื้นและดึงดูดมวลชนคนลาวทุกชนชั้นทั้งจากภาย ในและต่างประเทศเข้าร่วมด้วยทั้งยังถือเป็นการเปิดฉากการเฉลิมฉลองนครหลวง เวียงจันทน์ครบรอบ 450 ปี อย่างเป็นทางการด้วยนั้นก็จะเห็นได้ว่าทางการลาวภายใต้การนำพาของพรรค ประชาชนปฏิวัติลาวนั้นได้ให้ความสำคัญกับเจ้ามหาชีวิตพระองค์นี้ไม่ยิ่ง หย่อนไปกว่า เจ้าฟ้างุ้ม เจ้ามหาชีวิตผู้สถาปนาอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางขึ้นในปี พ.. 1900 และ เจ้าไชยเชษฐาธิราช เจ้ามหาชีวิตผู้สถาปนาเวียงจันทน์เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างแทนหลวงพระบางในปี พ.. 2103 แต่อย่างใดเลย

ทั้งนี้โดยถึงแม้ว่าพรรคประชาชนปฏิวัติลาว จะได้ล้มล้างสถาบันกษัตริย์และระบบศักดินาในลาวนับตั้งแต่ปี 1975 เป็น ต้นมาแล้วก็ตามแต่ก็หาได้เป็นปัญหาอย่างใดไม่ ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าวีรกรรมของเจ้าอนุวงศ์ ที่พรรคฯลาวได้เชิดชูขึ้นมาเป็นธงนำในการก่อสร้างอนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์ใน ครั้งนี้ ก็คือการเป็นเจ้ามหาชีวิตที่ได้กระทำในทุกวิถีทางเพื่อประกาศอิสรภาพและความ เป็นเอกราชของชาติลาว ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับการต่อสู้และการนำพาของพรรคฯลาวนั่นเอง

กล่าวสำหรับอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ภายหลังจากที่ได้ประกาศเอกราชจากพม่าในปี พ..2146 ในรัชสมัยของพระวรวงศาธรรมิกราช ซึ่งก็ทำให้อาณาจักรล้านช้างไม่มีศึกสงครามและการรุกรานจากภายนอกนับเป็นเวลากว่า 100 ปีจนกระทั่งตกมาถึงปี พ..2250 และปี พ..2256 อาณาจักร ล้านช้างหลวงพระบางและจำปาสักก็ได้ประกาศแยกตัวออกจากราชอาณาจักรล้านช้าง เวียงจันทน์ตามลำดับ โดยมีสาเหตุมาจากการแย่งชิงอำนาจระหว่างพี่น้องในราชวงศ์

ซึ่งด้วยความแตกแยกภายในดังกล่าวก็ได้ทำให้อาณาจักรล้านช้างทั้งสาม ต้องตกไปเป็นประเทศราชของสยามอย่างสมบูรณ์ ในปี พ..2322 อันเป็นที่มาของการกวาดต้อนคนลาวครั้งใหญ่ เฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระเจ้านันทเสน (..2324-2337) นั้น นับเป็นช่วงที่คนลาวถูกสยามกวาดต้อนไปเป็นแรงงานขุดคลองในบางกอกมากที่สุด

อย่าง ไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรล้านช้างจะตกเป็นประเทศราชของสยาม แต่ว่าในส่วนของนครเวียง จันทน์นั้นก็ได้รับการทำนุบำรุงในทุกๆด้านอย่างต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 หรือ เจ้าอนุวงศ์ (.. 2346-2370) นั้น พระองค์ได้ทรงพยายามทำนุบำรุงนครเวียงจันทน์อย่างต่อเนื่อง เช่น โปรดให้สร้างพระราชวังหอโรง วัดศรีบุญเรืองที่หนองคาย หอพระแก้ววัดช้างเผือกที่ศรี เชียงใหม่ สะพานข้ามแม่น้ำโขงจากวัดช้างเผือกมาที่นครเวียงจันทน์ และ วัดสตหัสสาราม (วัดแสนหรือวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน) เป็นต้น
นอก จากนี้ ยังสันนิษฐานกันว่ามีวรรณกรรมสองเรื่องที่เกิดขึ้นในรัชสมัยเจ้าอนุวงศ์ก็ คือสาส์นลึบบ่สูญ และวรรณกรรมร้อยแก้วเรื่องพระลักษณ์-พระราม

ครั้นเมื่อตกมาถึงปี พ..2370 พระเจ้าอนุวงศ์ ก็ทรงได้ประกาศกู้เอกราชจากสยาม ซึ่งก็ทำให้พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรง เห็นว่าเจ้าอนุวงศ์นั้นเป็นกบฎ จึงให้ยกทัพไปตีนครเวียงจันทน์ และก็ให้ควบคุมตัว เจ้าอนุวงศ์ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์มาที่กรุงสยามในปี พ..2371 โดยเจ้าอนุวงศ์นั้นก็สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกันอันถือเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์อีกด้วย

ส่วน นครเวียงจันทน์ในเวลานั้นก็ถูกทำลายอย่างย่อยยับ กำแพงเมืองถูกรื้อถอนอย่างสิ้นซาก ต้นไม้ใบหญ้าก็ถูกตัดทำลายแล้วเผาไหม้เป็นจุล พระพุทธรูปหลายร้อยหลายพันองค์ก็ถูกไฟเผาจนละลายและกองระเนระนาดอยู่ตาม วัดวาอารามต่างๆที่ถูกเผาไหม้ไปตามๆกัน โดยที่มีเพียงวัดศรีสะเกษเท่านั้นที่รอดพ้นจากการถูกเผาทำลาย แต่โดยสรุปรวมความแล้วก็คือว่านครเวียงจันทน์อันสวยงามและอุดมสมบูรณ์นั้น ได้กลับกลายเป็นเมืองร้างไปอย่างสิ้นเชิงในปี พ.. 2371 นั่นเอง

อาณาจักรล้านช้างตกเป็นประเทศราชของสยามจนถึงปี พ..2436 ฝรั่งเศสก็ได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดรวมถึงเกาะดอนต่างๆ ที่อยู่ในแนวแม่น้ำโขง ไปจากสยามตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี พ..2436 (..1893) ส่วนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงนั้นก็ยังคงเป็นของสยามจนกระทั่งปี พ..2446 ฝรั่งเศสจึงได้ดินแดนที่เป็นอาณาเขตหลวงพระบางและจำปาสักที่อยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสปี พ.. 2446 (..1903) นั่นเอง

ทั้งนี้ฝรั่งเศสได้ยกให้เขตหลวงพระบาง (เขตเหนือ) เป็นประเทศที่อยู่ในความอารักขา (Protectorate) โดย ได้มอบให้ พระเจ้าสักรินทรฤทธิ์ เป็นผู้ปกครองภายใต้การควบคุมดูแลของข้าหลวงฝรั่งเศสอีกต่อหนึ่ง ส่วนอาณาเขตนับจากแขวงเวียงจันทน์เรื่อยลงไปจนสุดแดนลาวทางภาคใต้นั้น ฝรั่งเศสก็ได้รวมเข้าเป็นหัวเมืองขึ้นหรืออาณานิคมของฝรั่งเศสโดยตรง ซึ่งก็ทำให้นครเวียงจันทน์ในช่วงเวลานั้นถูกจัดให้เป็นเมืองหนึ่งในแขวง เวียงจันทน์เท่านั้น

ส่วน ในด้านการปกครองนั้น ฝรั่งเศสก็มิได้ให้ความสำคัญกับลาวเท่าใดนักเมื่อเทียบกับเวียดนามและ กัมพูชา โดยถึงแม้ว่าจะมีการตั้งคนลาวเป็นเจ้าเมืองก็ตามแต่ก็ให้มีหน้าที่เพียงการ เก็บส่วยและเกณฑ์คนให้กับฝรั่งเศสเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำสภาพชีวิตการกินอยู่ของคนลาวเป็นไปตามสภาพเดิม ทั้งยังส่งเสริมให้เล่นการพนัน สูบฝิ่นและดื่มเหล้าได้ตามใจชอบด้วยแล้วก็ยิ่งทำให้ฝรั่งเศสสามารถปกครองคน ลาวได้อย่างไม่ต้องกังวลใจเลยว่าจะมีการแข็งขืนเกิดขึ้น

ครั้นเมื่ออำนาจการปกครองของฝรั่งเศสในอินโดจีนเสื่อมลงอันเนื่องมาจากการพ่ายแพ้สงครามอย่างย่อยยับในปี พ..2497 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพ่ายแพ้สงครามในสมรภูมิรบที่เดียนเบียนฟูทางภาคเหนือของเวียดนาม ซึ่งเป็นที่มาของสนธิสัญญาเจนีวาในปีดังกล่าว (..1954) นั้นก็หาได้เป็นผลทำ ให้ศึกสงครามในลาวสงบลงแต่อย่างใดไม่ เนื่องเพราะสหรัฐอเมริกานั้นได้เข้ามามีอิทธิพลในอินโดจีน (ลาว เวียดนาม และ กัมพูชา) แทนที่ฝรั่งเศสในปีถัดมา ด้วยหวั่นเกรงว่าลัทธิคอมมิวนิสต์จีนนั้นจะแผ่อิทธิพลเข้าสู่อินโดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั่นเอง

ทั้งนี้โดยรัฐบาลสหรัฐฯได้ทุ่มงบประมาณถึง 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อให้การช่วยเหลือแก่รัฐบาลลาวในแต่ละปีในช่วงปี พ..2498-2510 นั้นและเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 74 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐต่อปีในช่วงปี พ..2511-2516 ก็ตาม แต่เกินกว่า 70% ของ งบประมาณดังกล่าวนี้ก็เป็นการทุ่มเทให้กับกองทัพของรัฐบาลลาวที่นคร เวียงจันทน์เพื่อต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์เป็นหลัก จึงทำให้การพัฒนาในด้านอื่นๆเช่นด้านคมนาคมและด้านการศึกษาได้รับการสนับ สนุนเพียง 8% ของความช่วยเหลือทั้งหมดเท่านั้น

ยิ่ง ไปกว่านั้น การที่ลาวต้องตกอยู่ภายใต้สภาวะของสงครามอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จึงทำให้การพัฒนาในทุกๆด้านไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ กล่าวคือในปี ค..1976 ทั่วประเทศลาวมีถนนลาดยางเพียง 1,427 กิโลเมตร ส่วนอีก 1 หมื่นกิโลเมตรก็เป็นถนนลูกรังที่ใช้การได้เฉพาะในช่วงหน้าแล้งเท่านั้น ในขณะที่ประชากรลาวก็มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพียงไม่ถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

แต่ครั้นเมื่อพรรคฯ ได้สถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวครบรอบ 35 ปีในปี ค..2010 ซึ่งก็นับเป็นโอกาสเดียวกันกับการสถาปนาเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของลาวครบรอบ 450 ปีด้วยนั้น พรรคฯไม่เพียงจะสามารถทำให้ประชากรลาวมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าและมีถนนที่เชื่อมต่อตั้ง แต่เหนือจรดใต้ได้เท่านั้น แต่พรรคฯยังทำให้ลาวมีเอกราชและอธิปไตยอย่างสมบูรณ์อีกด้วย

เพราะ ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่พรรคฯ จะเชิดชูอดีตเจ้ามหาชีวิตผู้ซึ่งมีวีรกรรมทั้งในการ กอบกู้เอกราชและสร้างชาติเฉกเช่นเดียวกันกับวีรกรรมของพรรคประชาชนปฏิวัติ ลาวนั่นเอง!!!
ทรงฤทธิ์ โพนเงิน
ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=634096 

ท่าทางที่รูปปั้นที่แสดงอาการยื่นมือขวาออกไปข้างหน้า เป็นความหมายแห่งการแสดงการให้อภัย เพื่อมิตรภาพ
แสดงว่า คนลาวได้ให้อภัยศัตรูที่เคยเผาพลาญบ้านเรือนทำลายเมืองเวียงจันทร์จนย่อยยับ ในสมัยก่อน

ปัจจุบันการรบพุ่งแบบโบราณได้ถูกยกเลิกไปแล้ว คงไว้แต่ความเห็นอกเห็นใจ การเป็นพี่น้อง การอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์
จึงเป็นนิมิตหมายที่ดีที่เราควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีในการให้อภัยซึ่งกันและกัน
 ...................................
รู้จัก 'เจ้าอะนุวง' ฉบับย่อ
กล่าวสำหรับอาณาจักรล้านช้าง เวียงจันทน์ ภายหลังได้ประกาศเอกราชจากพม่าในปี พ.ศ.2146 ในรัชสมัยของพระวรวงศาธรรมิกราช ซึ่งไม่มีศึกสงครามและการรุกรานจากภายนอกกว่า 100 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ.2250 และปี พ.ศ.2256 อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางและจำปาสัก ก็ได้ประกาศแยกตัวออกจากราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ตามลำดับ โดยมีสาเหตุมาจากการแย่งชิงอำนาจระหว่างพี่น้องในราชวงศ์

จากความแตกแยกภายในดังกล่าว ทำให้อาณาจักรล้านช้างทั้งสาม ต้องตกไปเป็นประเทศราชของสยามอย่างสมบูรณ์ พ.ศ.2322 แต่ว่าในส่วนของนครเวียงจันทน์นั้น ก็ได้รับการทำนุบำรุงในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัย เจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 หรือพระเจ้าอนุวงศ์ หรือ 'เจ้าอะนุวง' (พ.ศ.2346-2370) นั้น พระองค์ได้ทรงพยายามทำนุบำรุง เช่น โปรดให้สร้างพระราชวังหอโรง วัดศรีบุญเรืองที่หนองคาย หอพระแก้ววัดช้างเผือกที่ศรีเชียงใหม่ สะพานข้ามแม่น้ำโขงจากวัดช้างเผือกมาที่นครเวียงจันทน์ และวัดสตหัสสาราม (วัดแสน หรือวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน) เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังสันนิษฐานกันว่ามีวรรณกรรมสองเรื่องที่เกิดขึ้นในรัชสมัยเจ้าอนุวงศ์ ก็คือสาส์นลึบบ่สูญ และวรรณกรรมร้อยแก้วเรื่องพระลักษณ์-พระราม 

ครั้นปี พ.ศ.2370 พระเจ้าอนุวงศ์ ก็ทรงได้ประกาศกู้เอกราชจากสยาม ซึ่งก็ทำให้พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงเห็นว่าเจ้าอนุวงศ์นั้นเป็นกบฏ จึงให้ยกทัพไปตีนครเวียงจันทน์ และก็ให้ควบคุมตัวเจ้าอนุวงศ์ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์มาที่กรุงสยามในปี พ.ศ.2371
โดยเจ้าอนุวงศ์นั้น ก็สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน อันถือเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์อีกด้วย
ส่วนนครเวียงจันทน์ก็ถูกทำลายอย่างย่อยยับทุกอย่าง มีเพียงวัดศรีสะเกษเท่านั้น ที่รอดพ้นจากการถูกเผาทำลาย
............

หมายเหตุ : ข้อมูลจาก เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 963 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2553
                คัดย่อบางส่วนจากบท ความเรื่อง 'นครหลวงเวียงจันทน์ 450 ปี' โดย ทรงฤทธิ์ โพนเงิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ 'เวียงจันทน์ 450 ปี ภายใต้การนำพาอันฉลาดส่องใส'

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น