การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้จากไปอย่างสงบ นอกจากการให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยทางจิตใจแล้ว การมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะทางร่างกาย โดยเฉพาะในช่วงขณะสุดท้ายมีความจำเป็นไม่แพ้กัน เพราะยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนหลายประการที่อาจทำให้ความปรารถนาดีของผู้ เกี่ยวข้องกลายเป็นการขัดขวางการตายอย่างสงบโดยไม่ได้ตั้งใจ
ผู้ป่วยด้วยโรคที่รักษาไม่หายและอยู่ในระยะสุดท้าย จะต้องเผชิญกับอาการต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความไม่สุขสบาย สมรรถนะของร่างกายจะถดถอยลง จนอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงต้องมีผู้ดูแลช่วยในกิจวัตรประจำวันต่างๆ ดังนั้นผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงจำเป็นต้องพึ่งพิงผู้ดูแลที่มีความเข้าใจในการ ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้สุขสบาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถจากไปอย่างสงบ ไม่ทุกข์ทรมาน
อาการที่มักพบในผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้แก่ ความปวด อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง เบื่ออาหาร ร่างกายซูบผอม หายใจไม่อิ่ม ปากแห้ง ท้องผูก และเมื่อโรคมีการลุกลามมากขึ้น ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและมีสภาพถดถอยลงเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อถึงจุดที่ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต การทำงานของอวัยวะในระบบต่างๆ จะเริ่มสูญเสียการทำงานตามหน้าที่
ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย รวมถึงอาการต่างๆ ที่จะทำให้ผู้ป่วยไม่สุขสบายและเข้าใจหลักในการดูแลด้วย
อาการที่มักพบในผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต
โดยทั่วไปก่อนผู้ป่วยเสียชีวิต การทำงานของอวัยวะรับรู้ต่างๆ จะเริ่มสูญเสียการทำงานตามหน้าที่ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกหิวอาหารและไม่หิวน้ำ ในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่รับประทานอาหารเลย การกลืนก็อาจทำได้ลำบาก ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงอย่างมาก จะนอนอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไหวได้น้อยลง สีผิวดูซีด ปากแห้ง ตาแห้ง คางตก หายใจติดขัดมีเสียงดัง เริ่มไม่รู้ตัว ผู้ป่วยบางรายอาจจากไปอย่างสงบ แต่บางรายอาจมีอาการปวด ทุรนทุราย หายใจลำบาก หรือมีกล้ามเนื้อชักกระตุก
การสูญเสียความอยากอาหาร
ในระยะก่อนเสียชีวิต ผู้ป่วยจะไม่มีความอยากรับประทานอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากร่างกายไม่สามารถที่จะย่อยสารอาหาร เพื่อเป็นพลังงานที่จะนำไปใช้ได้ต่อไป โดยทั่วไปผู้ดูแลมักจะวิตกกังวลกับการที่ผู้ป่วยไม่รับประทานอาหาร เนื่องจากเข้าใจว่าจะทำให้ผู้ป่วยไม่มีเรี่ยวแรง ผู้ดูแลมักขอร้องให้แพทย์ให้สารอาหาร ไม่ว่าจะให้ทางสายยางหรือให้น้ำเกลือ การให้อาหารทางสายยาง อาจทำให้มีท้องอืด เนื่องจากระบบการย่อยอาหารไม่สามารถทำงานได้ อาจอาเจียนหรือสำลักอาหารได้ ผู้ป่วยมักไม่หิวน้ำ อาจจิบน้ำเพียงเล็กน้อยหรือไม่ดื่มน้ำเลย
ในระยะสุดท้าย ไตของผู้ป่วยจะเริ่มไม่ทำงาน มีปัสสาวะลดลง การให้น้ำเกลืออาจทำให้มีภาวะน้ำคั่ง ทำให้มีน้ำท่วมในปอด มีเสมหะมาก ทำให้หายใจลำบาก ภาวะขาดน้ำจึงเป็นผลดีต่อผู้ป่วยมากกว่าการให้สารน้ำเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการปากและตาแห้ง จึงควรดูแลทำความสะอาดปากและหาสีผึ้งหรือน้ำมันทาปากไม่ให้แห้ง ส่วนตาควรหยอดน้ำตาเทียม
การสูญเสียความสามารถในการพูดและการมองเห็น
ในระยะสุดท้ายการพูดและการมองเห็นเป็นอวัยวะรับรู้ความรู้สึกที่จะสูญเสียไป ก่อน ผู้ป่วยจะสูญเสียการสื่อสาร มองสิ่งต่างๆ อย่างไม่มีความหมาย ผู้ดูแลอาจเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่รับรู้อะไรแล้ว แต่ความจริงผู้ป่วยบางราย อาจมีประสาทรับฟังทำงานได้อยู่ และสามารถรับรู้สิ่งที่คนรอบข้างพูดคุย การดูแลจึงไม่ควรร้องไห้ หรือพูดคุยในสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจ หรือก่อให้เกิดความกังวลหรือความห่วงใย ผู้ดูแลและญาติพี่น้องไม่ควรร้องไห้ฟูมฟาย ควรพูดคุยแต่สิ่งที่ดีๆ เช่น ความดีที่ผู้ป่วยเคยทำ ความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อผู้ป่วย
การสูญเสียการได้ยินและประสาทสัมผัส
การได้ยินและประสาทสัมผัสจะเป็นอวัยวะส่วนรับรู้ความรู้สึกที่เสียไปหลังสุด การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย จึงควรเป็นการดูแลผู้ป่วยให้สุขสบาย โดยการใช้สัมผัส การลูบคลำ การนวด เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย
อาการสับสนกระสับกระส่าย
อาจเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง เช่น ความปวดที่ควบคุมไม่ได้ จึงไม่ควรหยุดยาแก้ปวดทันที กรณีได้ยาแก้ปวดอยู่อาจเพิ่มขนาดให้ผู้ป่วยลดความกระสับกระส่าย แต่อาจมีผลทำให้ผู้ป่วยง่วงซึม การมีปัสสาวะหรืออุจจาระ ซึ่งอาจจำเป็นต้องช่วยสวนปัสสาวะหรืออุจจาระ
บางกรณี อาการกระสับกระส่ายอาจเกิดจากความกลัว หรือยังมีความค้างคาใจที่ยังไม่ได้รับการจัดการ จึงควรพิจารณาถึงสาเหตุให้ถี่ถ้วน และให้การดูแลแก้ไขที่สมควรแก่เหตุ
ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมอาการดังกล่าวได้ แพทย์จึงอาจให้ยาระงับประสาท เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสงบลงเป็นทางเลือกท้ายๆ
อาการอื่นๆ ในผู้ป่วยที่ใกล้จะเสียชีวิต
ในระยะที่ผู้ป่วยสูญเสียความรู้สึกตัวไป จะเริ่มมีอาการหายใจเสียงดัง การกลืนเป็นไปอย่างยากลำบาก คางตกหย่อนลง อาการหายใจเสียงดังมักไม่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน แต่มักทำให้ผู้ดูแลวิตกกังวล เกรงว่าผู้ป่วยจะทุกข์ทรมาน การดูแลภาวะหายใจเสียงดัง ควรจัดท่านอนตะแคง ซึ่งจะช่วยให้การหายใจเสียงดังลดลง แล้วใช้ผ้าซับน้ำลายหรือเสมหะที่ข้างกระพุ้งแก้ม หรือดูดเสมหะที่อยู่กระพุ้งแก้มออก ไม่จำเป็นต้องดูดเสมหะในลำคอออก เพราะนอกจากจะไม่ช่วยลดอาการแล้ว ยังกลับทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานมากขึ้น
การให้สารน้ำจำนวนมากในระยะสุดท้ายที่การทำงานของไตผู้ป่วยบกพร่อง อาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี โดยเฉพาะการให้น้ำเกลือ อาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะบวมน้ำ และมีเสมหะมากขึ้น การให้น้ำเกลือในผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต จึงเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เป็นต้น
หลักการดูแลผู้ป่วยในช่วงก่อนเสียชีวิต
ผู้ดูแลควรทราบว่าในระยะดังกล่าว ผู้ป่วยจะมีอาการอะไรบ้าง ซึ่งแพทย์ควรพูดคุยให้ผู้ดูแลและญาติทราบก่อน และมีการวางแผนล่วงหน้าว่าจะจัดการกับอาการดังกล่าวอย่างไร เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ดูแลให้น้อยลง
ควรมีการทบทวนยาต่างๆ ที่ผู้ป่วยใช้ เพราะผู้ป่วยในระยะนี้มีการกลืนลำบาก จึงควรให้ผู้ป่วยได้รับแต่ยาที่ช่วยระงับอาการไม่สุขสบายต่างๆ เท่านั้น ยาที่ไม่จำเป็นในระยะนี้ ได้แก่ยาสำหรับโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยใช้ประจำ เช่น ยาเบาหวาน ยาลดไขมัน ยาลดความดัน วิตามินต่างๆ ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ถ้าผู้ป่วยใช้ยาแก้ปวดอยู่ ไม่ควรจะหยุดยาในทันที แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการปวด แต่ควรลดขนาดยาลง เนื่องจากระยะสุดท้ายการทำงานของไตจะเริ่มเสื่อมถอยลง
ญาติควรปรึกษาหารือร่วมกับแพทย์ในเรื่องการปรับยา รวมถึงการเปลี่ยนรูปแบบการให้ยา เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถกลืนยาเม็ดได้ ต้องเปลี่ยนเป็นยาน้ำ ยาเหน็บทางทวารหนัก แผ่นปะทางผิวหนัง ยาที่ต้องให้ทางหลอดเลือด ควรเปลี่ยนเป็นให้ทางใต้ผิวหนัง กรณีที่ผู้ป่วยได้น้ำเกลือเข้าเส้น ควรลดปริมาณหรือหยุดให้ พร้อมกับยุติการให้อาหาร หรือน้ำทางสายยาง เนื่องจากไม่ก่อเกิดประโยชน์อีกต่อไป แต่ดูแลเรื่องการขับถ่าย ปัสสาวะและอุจจาระ
การดูแลในช่วงนี้ ควรเป็นการดูแลให้ผู้ป่วยสุขสบาย จึงให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบ ดูแลความสะอาดปาก โดยใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดในปาก ดูแลตาไม่ให้แห้งโดยหยอดน้ำตาเทียมทุกหนึ่งชั่วโมง พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย ทำกายภาพบำบัด นวดแขนขา เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง ลดอาการปวด
การดูแลครอบครัวผู้ป่วย
ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต เป็นช่วงที่วิกฤตสำหรับครอบครัว เนื่องจากต้องเผชิญกับความสูญเสียที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงควรมีการดูแลครอบครัวผู้ป่วยด้วยเช่นกันเพื่อให้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้
แพทย์ควรต้องสื่อสารอธิบายให้ครอบครัวทราบว่า เวลาเหลือน้อยลงเพียงใดแล้ว ภารกิจต่างๆ ของผู้ป่วยที่ยังค้างคาใจอยู่ ควรดำเนินการให้แล้วเสร็จ ควรให้ข้อมูลแก่ครอบครัว ถึงการเปลี่ยนแปลงและอาการต่างๆ ที่อาจพบในช่วงสุดท้าย รวมถึงแนะนำแนวทางการดูแลด้วย
การประคับประคองด้านจิตใจของครอบครัว เป็นสิ่งที่สำคัญ ควรให้คนในครอบครัวทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแล มีการพูดคุยเพื่อระบายความรู้สึกที่มีอยู่ให้กันและกันฟัง
ช่วงสุดท้ายของชีวิต
ช่วงวัน ชั่วโมง นาทีสุดท้ายของชีวิตของผู้ป่วย จะเป็นช่วงที่อยู่ในความทรงจำของครอบครัวไปชั่วชีวิต และการที่ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างไร มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อชีวิตที่เหลืออยู่ ของคนอื่นๆในครอบครัว การดูแลที่มีประสิทธิภาพ ที่เข้าอกเข้าใจและอ่อนโยน โดยคำนึงถึงมิติทางกายภาพและจิตใจอย่างเป็นองค์รวมในช่วงระยะก่อนผู้ป่วย เสียชีวิต จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นที่สุดที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ ป่วยทุกคนไม่ว่าจะเป็นแพทย์พยาบาล ตลอดจนครอบครัวญาติมิตรจะต้องเปิดใจรับฟัง เรียนรู้ และปฏิบัติร่วมกัน
บทสนทนาเรื่อง ภาวะร่างกายและการดูแลในช่วงขณะสุดท้ายของชีวิตในการอบรมเผชิญความตายอย่างสงบ
คุณสุรีย์ ลี้มงคล
หัวหน้าหน่วยการพยาบาลต่อเนื่อง ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช
เมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้าย คนไข้จะอ่อนเพลีย กินน้อยลง ทำให้ญาติทุกข์แล้วจะไปกดดันให้คนไข้กิน คนไข้จะบอกเองเลยว่า ถ้าไม่กินข้าวไม่ปวด แต่กินข้าวแล้วปวด แต่ญาติจะรู้สึกว่าไม่กินไม่ได้ ต้องทำความเข้าใจว่าให้เขากินเมื่ออยากจะกิน อย่าบังคับ ไม่จำเป็นต้องกินสามมื้อ ถ้าคนไข้ปากแห้ง อาจจะเอาสำลีชุบน้ำไปหยอด การใส่สายจะไปเพิ่มความทรมาน อย่างแม่ของตัวเอง ทั้งๆ ที่พูดว่าไม่ให้ใส่สาย แต่พอแม่ทานไม่ได้ เราเป็นคนไปบังคับเองว่าให้สายเพื่อให้อาหาร แล้วเรารู้เลยว่าพอใส่อาหารเข้าไปแล้ว จะไม่ย่อย จะอืดและทุกข์มากกว่าตอนที่ไม่ใส่ด้วยซ้ำ
นายแพทย์พัชรพล พงษ์ภักดี
โรงพยาบาลนครปฐม
ในกรณีการตายอย่างช้าๆ เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง หรือไตวายเรื้อรัง คนไข้มะเร็งเกินครึ่งจะมีความปวดร่วมอยู่ด้วยเสมอ แต่การทนความปวดขึ้นอยู่กับบุคคล ไม่เท่ากัน เรามักจะคิดว่าการทนต่อความปวดอย่างมีสติได้จะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า แต่ครูบาอาจารย์บางท่านบอกว่าเราสามารถลดความปวดได้ เพื่อไม่ให้ใจเราหวั่นไหวจนไม่อาจตั้งมั่นอยู่ในความรู้สึกที่ดีได้ การระงับความปวดจึงน่าจะทำได้ ไม่ควรคิดว่าจะทำให้ผู้ป่วยซึมขาดสติสูญเสียการรับรู้ เพียงแต่ต้องปรับยาให้เหมาะสม การควบคุมอาการปวดได้กลับจะมีผลดีต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ช่วยประคองสภาวะจิตใจให้เขาจากไปด้วยดีได้ เพราะความปรารถนาจะตายดีไม่ได้หมายความว่าตายโดยมีความเจ็บปวดพ่วงไปด้วย
คุณวรรณา จารุสมบูรณ์
กระบวนกรการอบรมเผชิญความตายอย่างสงบ
การแพทย์แบบประคับประคอง คือการดูแลที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะในเรื่องกายภาพเท่าที่จะทำได้ อย่างเช่น เมื่อผู้ป่วยมีภาวะแน่นท้อง เราอาจเจาะท้องเพื่อเอาน้ำออกได้ ไม่ใช่ปล่อยให้ผู้ป่วยแน่นท้องจนนอนไม่ได้ จึงต้องตัดสินใจว่าจะทำแค่ไหนระหว่างการไม่ทำอะไรเลยกับการทำมากเกินไป โดยดูตามอาการของโรค และประเมินให้ดีว่าเป็นอย่างไร
บางคนให้ยาแก้ปวดแล้วยังไม่ดีขึ้น เพราะมีความปวดจากสาเหตุอื่น เช่น นอนในท่าเดิม อย่างนอนเตียงพยาบาลนานๆ จะปวดมาก แต่คนไข้สื่อสารไม่ได้ จึงอาจจะร้องครวญคราง ถ้าเราช่วยปรับบางท่าจะทำให้อาการดีขึ้น จึงต้องประเมินดีๆ
ญาติจำนวนมาก มักจะบอกว่าอยากนำผู้ป่วยไปตายที่บ้าน แต่แล้วต้องนำกลับมา เพราะเขาไม่เข้าใจว่าระยะสุดท้ายจริงๆ เป็นอย่างไร ภาวะหายใจลำบากเป็นอย่างไร ฯลฯ พยาบาลสามารถช่วยเตรียมความเข้าใจให้ญาติได้ว่า ถ้าใกล้ภาวะสุดท้ายจริงๆ จะเกิดอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะบางคนพอถึงระยะสุดท้ายจริงๆ ญาติจะกังวลใจว่าช่วยเหลือผู้ป่วยไม่ได้มาก โดยเฉพาะเรื่องอาหาร บางทีผู้ป่วยไม่กินแล้ว แต่ญาติยังพยายามจะป้อน เพราะคิดว่าถ้าไม่กินแล้วจะตาย แต่ข้างในเขาไม่รับแล้ว
เคยถามญาติว่าพอถึงวาระสุดท้าย อะไรที่สำคัญกว่าเรื่องกิน เขาบอกว่าอาจจะได้คุยได้สั่งเสีย ถึงเขาจะหมดสติ ไม่รับรู้ แต่หูยังได้ยิน ถ้าในขณะนั้นญาติพีโพยตีพายจะยิ่งทำให้เขาไปลำบากขึ้น ยิ่งใกล้ระยะสุดท้าย ขณะที่ประสาทสัมผัสอื่นอาจจะเสื่อม แต่หูจะได้ยินมากขึ้น การทำสิ่งต่างๆ จึงต้องระมัดระวัง อ่อนโยน รวมถึงญาติด้วย จะสั่งเสีย จะสวดมนต์ให้บอกไปเลย
----
*รศ.พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล หัวหน้าหน่วยพาลลิเอทีฟแคร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ผู้ศึกษาเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กมาอย่างยาวนาน
** จาก 'อาทิตย์อัสดง' จดหมายข่าวการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย “ช่วงขณะสุดท้ายของชีวิต : ภาวะร่างกายและการดูแล” ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๖ ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม ๒๕๕๓
Source: http://www.budnet.org/peacefuldeath/node/126
MORE::::1 ภาวะใกล้สู่ความตาย
ด้านร่างกาย
ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในภาวะใกล้ตายจะทำให้ญาติและผู้ให้ การรักษา สามารถดูแลคนใกล้ตายได้ถูกต้องเหมาะสมขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้ป่วยอย่างยิ่ง เพราะทำให้สามารถลดการรักษาที่นอกจากไม่จำเป็นแล้ว ยังทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานมากขึ้น และไม่เป็นประโยชน์ใดๆ แก่ใครทั้งสิ้นโดยเฉพาะแก่คนใกล้ตาย
๏ เมื่อใกล้ตาย ความอ่อนเพลียเป็นสิ่งที่ควรยอมรับ และไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใดๆ สำหรับความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ควรให้ผู้ป่วยในระยะนี้ได้พักผ่อนให้เต็มที่
๏ คนใกล้ตายจะเบื่ออาหาร และกินอาหารน้อยลง จากการศึกษาพบว่าความเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะทำให้มีสารคีโตนในร่างกายเพิ่มขึ้น สารคีโตนจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น และบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
๏ คนใกล้ตายจะดื่มน้ำน้อยลงหรืองดดื่มเลย ภาวะขาดน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อใกล้ตายไม่ทำให้ผู้ป่วยทรมานมากขึ้น ตรงกันข้ามกลับกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ทำให้คนป่วยรู้สึกสบายขึ้น หากปาก ริมฝีปาก จมูกแห้ง และตาแห้ง ให้หมั่นทำความสะอาด และรักษาความชื้นไว้ โดยอาจใช้สำลีหรือผ้าสะอาดชุบน้ำแตะที่ปาก ริมฝีปาก หรือใช้สีผึ้งทาริมฝีปาก สำหรับตาก็ให้หยอดน้ำตาเทียม
๏ คนที่ใกล้ตายจะรู้สึกง่วงและอาจนอนหลับตลอดเวลา ผู้ดูแลควรให้ผู้ป่วยหลับ ไม่ควรพยายามปลุกให้ตื่น
๏ เมื่อคนใกล้ตายไม่รู้สึกตัว ไม่ควรคิดว่าเขาไม่สามารถรับรู้หรือได้ยินสิ่งที่มีคนพูดกันอยู่ข้าง ๆ เพราะเขาอาจจะยังได้ยินและรับรู้ได้ แต่ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นทราบได้ จึงไม่ควรพูดคุยกันในสิ่งที่จะทำให้เขาไม่สบายใจหรือเป็นกังวล
๏ การร้องครวญคราง หรือมีหน้าตาบิดเบี้ยวอาจไม่ได้เกิดความเจ็บปวดเสมอไป แต่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสมอง ซึ่งแพทย์สามารถให้ยาระงับอาการเหล่านี้ได้
๏ คนใกล้ตายอาจมีเสมหะมาก ควรให้ยาลดเสมหะแทนการดูดเสมหะซึ่งนอกจากไม่ได้ผลแล้วยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึก ทรมานเพิ่มขึ้นด้วย (ทั้งนี้หมายถึงเฉพาะคนที่ใกล้ตายเท่านั้น มิได้รวมถึงผู้ป่วยอื่นๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการดูดเสมหะ)
โดย ทั่วไปเมื่อกายป่วยใจจะป่วยด้วยเสมอ ยิ่งคนที่ป่วยหนักใกล้ตายแล้วก็ยิ่งต้องการการดูแลประคับประคองใจอย่างมาก การศึกษาต่างๆ พบตรงกันว่าสิ่งที่คนใกล้ตายกลัวที่สุดคือ การถูกทอดทิ้ง การถูกโดดเดี่ยว และสิ่งที่คนใกล้ตายต้องการคือ ใครสักคนที่เข้าใจและอยู่ข้างๆ เขาเมื่อเขาต้องการ แต่คนแต่ละคนก็อาจมีความรู้สึกและความต้องการต่างกันไป ฉะนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็ควรให้โอกาสคนใกล้ตายได้แสดงความรู้สึกและความ ต้องการ โดยการพูดคุยและเป็นผู้รับฟังที่ดี และควรปฏิบัติตามความต้องการของคนใกล้ตาย ซึ่งหมายรวมถึงความต้องการในด้านการรักษา ทั้งนี้ควรต้องประเมินก่อนว่าความต้องการนั้นเกิดจากการตัดสินใจบนพื้นฐานใด หากเป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานของอารมณ์ ไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง ก็ควรชะลอการปฏิบัติไว้ก่อน และควรให้การประคับประคองใจจนสบายใจขึ้น กับทั้งให้โอกาสผู้ใกล้ตายเปลี่ยนความต้องการและความตั้งใจได้เสมอ
ความรู้เกี่ยวกับการตาย
ปัจจุบัน มีความสนใจเรื่องความตายมากขึ้น แม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ในยุคก่อนไม่สนใจเรื่องความตายเลย จนเกือบจะเป็นสิ่งต้องห้ามที่ไม่ควรพูดถึง ก็ได้ให้ความสนใจและมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะความตายได้กลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นแล้ว วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ทำให้มนุษย์มีโอกาสตายตามธรรมชาติได้ น้อยลง ความตายอย่างสงบจึงไม่เกิดขึ้น ในบางประเทศคนไม่มีโอกาสได้ตายอย่างสงบที่บ้าน แต่ตายอย่างโดดเดี่ยวและทรมานในโรงพยาบาล โดยตายกับสายระโยงระยางที่เข้า ออกจากร่างกายและเครื่องมืออุปกรณ์ที่อยู่รอบตัว ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการตื่นตัวในเรื่องเกี่ยวกับความตายมากขึ้น โดยเฉพาะในวงการแพทย์ สถาบันทางการแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้พยายามให้คำจำกัดความของการตายดี ไว้ว่า “การตายดี คือ การตายที่ปลอดจากความทุกข์ทรมานที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของคนป่วย ญาติ และผู้ให้การรักษา และโดยทั่วไปควรเป็นไปตามความประสงค์ของคนป่วยและญาติ บนพื้นฐานของการรักษาด้านการแพทย์ วัฒนธรรม และจริยธรรม ที่ได้มาตรฐานและดีงาม
ส่วน “การตายดี” ในแง่พุทธศาสนานั้น ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้เขียนไว้ในหนังสือ การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์ เรื่องช่วยให้ตายเร็ว หรือช่วยให้ตายช้าว่า “ในคัมภีร์พุทธศาสนา พูดถึงเสมอว่า อย่างไรเป็นการตายที่ดี ท่านมักใช้คำสั้นๆ ว่า “มีสติไม่หลงตาย และที่ว่าตายดีนั้น ไม่ใช่เฉพาะตายแล้วจะไปสู่สุคติเท่านั้น แต่ขณะที่ตายก็เป็นจุดสำคัญที่ว่าต้องมีจิตใจที่ดี คือ มีสติ ไม่หลงตาย”
“ที่ ว่าไม่หลงตาย คือ มีจิตใจไม่ฟั่นเฟือน ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่นมัว จิตใจดีงาม ผ่องใส เบิกบาน จิตใจนึกถึงหรือเกาะเกี่ยวอยู่ กับสิ่งที่ดี จึงมีประเพณีที่ว่าจะให้ผู้ตายได้ยินได้ฟังสิ่งที่ดีงาม เช่น บทสวดมนต์ หรือคำกล่าวเกี่ยวกับพุทธคุณ อย่างที่ใช้คำว่า “บอกอรหัง” ก็เป็นคติที่ให้รู้ว่าเป็นการบอกสิ่งสำหรับยึดเหนี่ยวในทางใจให้แก่ผู้ที่ กำลังป่วยหนักในขั้นสุดท้าย ให้จิตใจเกาะเกี่ยวยึดเหนี่ยวอยู่กับพระรัตนตรัย เรื่องบุญกุศล หรือเรื่องที่ได้ทำความดีมา เป็นต้น
“อย่างไรก็ตาม ยังมีการตายที่ดีกว่านั้นอีกคือ ให้เป็นการตายที่ใจมีความรู้ หมายถึงความรู้เท่าทันชีวิต จนกระทั่งยอมรับความจริงของความตาย หรือความเป็นอนิจจังได้ เพียงแค่ว่าคนที่จะตายมีจิต ยึดเหนี่ยวอยู่กับบุญกุศลความดี ก็นับว่าดีแล้ว แต่ถ้าเป็นจิตใจที่มีความรู้เท่าทัน จิตใจนั้นก็จะมีความสว่าง ไม่เกาะเกี่ยว ไม่มีความยึดติด เป็นจิตใจที่โปร่งโล่งเป็นอิสระแท้จริง ขั้นนี้แหละถือว่าดีที่สุด”
นอกจากนั้นท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกยัง ได้แทรกคติทางพระ เกี่ยวกับจิตตอนที่จะตายว่า “เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ก็เป็นอันหวังทุคติได้ และเมื่อจิตใจไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้”
จาก ความหมายของการตายดีและคติทางพุทธเกี่ยวกับจิตตอนที่จะตาย ทำให้เห็นความสำคัญของการทำจิตให้ผ่องใสในเวลาที่จะตาย ความรู้นี้เป็นประโยชน์ในการที่เราจะให้การดูแลและช่วยเหลือผู้ใกล้ตายด้าน จิตใจ ซึ่งศาสนาอื่นทุกศาสนาก็ให้ความสำคัญต่อจิตใจเมื่อใกล้ตายเช่นเดียวกัน โดยจะมีพระหรือบาทหลวงในศาสนานั้นมาเยี่ยมและปลอบขวัญผู้ป่วยที่โรงพยาบาล เพื่อช่วยให้คนใกล้ตายได้ตายด้วยจิตอันสงบ ตายกับสติไม่หลงตาย ซึ่งถือว่าเป็นการตายที่ดี จะเห็นว่าความหมายของการตายดีในแง่มุมของศาสนาต่างๆ นั้นมีความลุ่มลึกและลึกซึ้งกว่าความหมายด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ทางตะวันตก และกำลังได้รับความสนใจจากวงการแพทย์และคนทั่วไป นอกจากนั้น ทางพุทธศาสนาถือว่า ชีวิตคนมีโอกาสตลอดเวลาจนถึงวาระสุดท้าย กล่าวคือแม้ถึงวาระสุดท้ายมนุษย์ก็ยังไม่หมดโอกาสที่จะได้สิ่งดีที่สุดของ ชีวิต หากบุคคลผู้นั้นมีปัญญารู้เท่าทันชีวิตและบรรลุธรรมในขณะจิตสุดท้ายตอนจะดับ
ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในภาวะใกล้ตายจะทำให้ญาติและผู้ให้ การรักษา สามารถดูแลคนใกล้ตายได้ถูกต้องเหมาะสมขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้ป่วยอย่างยิ่ง เพราะทำให้สามารถลดการรักษาที่นอกจากไม่จำเป็นแล้ว ยังทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานมากขึ้น และไม่เป็นประโยชน์ใดๆ แก่ใครทั้งสิ้นโดยเฉพาะแก่คนใกล้ตาย
๏ เมื่อใกล้ตาย ความอ่อนเพลียเป็นสิ่งที่ควรยอมรับ และไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใดๆ สำหรับความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ควรให้ผู้ป่วยในระยะนี้ได้พักผ่อนให้เต็มที่
๏ คนใกล้ตายจะเบื่ออาหาร และกินอาหารน้อยลง จากการศึกษาพบว่าความเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะทำให้มีสารคีโตนในร่างกายเพิ่มขึ้น สารคีโตนจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น และบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
๏ คนใกล้ตายจะดื่มน้ำน้อยลงหรืองดดื่มเลย ภาวะขาดน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อใกล้ตายไม่ทำให้ผู้ป่วยทรมานมากขึ้น ตรงกันข้ามกลับกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ทำให้คนป่วยรู้สึกสบายขึ้น หากปาก ริมฝีปาก จมูกแห้ง และตาแห้ง ให้หมั่นทำความสะอาด และรักษาความชื้นไว้ โดยอาจใช้สำลีหรือผ้าสะอาดชุบน้ำแตะที่ปาก ริมฝีปาก หรือใช้สีผึ้งทาริมฝีปาก สำหรับตาก็ให้หยอดน้ำตาเทียม
๏ คนที่ใกล้ตายจะรู้สึกง่วงและอาจนอนหลับตลอดเวลา ผู้ดูแลควรให้ผู้ป่วยหลับ ไม่ควรพยายามปลุกให้ตื่น
๏ เมื่อคนใกล้ตายไม่รู้สึกตัว ไม่ควรคิดว่าเขาไม่สามารถรับรู้หรือได้ยินสิ่งที่มีคนพูดกันอยู่ข้าง ๆ เพราะเขาอาจจะยังได้ยินและรับรู้ได้ แต่ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นทราบได้ จึงไม่ควรพูดคุยกันในสิ่งที่จะทำให้เขาไม่สบายใจหรือเป็นกังวล
๏ การร้องครวญคราง หรือมีหน้าตาบิดเบี้ยวอาจไม่ได้เกิดความเจ็บปวดเสมอไป แต่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสมอง ซึ่งแพทย์สามารถให้ยาระงับอาการเหล่านี้ได้
๏ คนใกล้ตายอาจมีเสมหะมาก ควรให้ยาลดเสมหะแทนการดูดเสมหะซึ่งนอกจากไม่ได้ผลแล้วยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึก ทรมานเพิ่มขึ้นด้วย (ทั้งนี้หมายถึงเฉพาะคนที่ใกล้ตายเท่านั้น มิได้รวมถึงผู้ป่วยอื่นๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการดูดเสมหะ)
โดย ทั่วไปเมื่อกายป่วยใจจะป่วยด้วยเสมอ ยิ่งคนที่ป่วยหนักใกล้ตายแล้วก็ยิ่งต้องการการดูแลประคับประคองใจอย่างมาก การศึกษาต่างๆ พบตรงกันว่าสิ่งที่คนใกล้ตายกลัวที่สุดคือ การถูกทอดทิ้ง การถูกโดดเดี่ยว และสิ่งที่คนใกล้ตายต้องการคือ ใครสักคนที่เข้าใจและอยู่ข้างๆ เขาเมื่อเขาต้องการ แต่คนแต่ละคนก็อาจมีความรู้สึกและความต้องการต่างกันไป ฉะนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็ควรให้โอกาสคนใกล้ตายได้แสดงความรู้สึกและความ ต้องการ โดยการพูดคุยและเป็นผู้รับฟังที่ดี และควรปฏิบัติตามความต้องการของคนใกล้ตาย ซึ่งหมายรวมถึงความต้องการในด้านการรักษา ทั้งนี้ควรต้องประเมินก่อนว่าความต้องการนั้นเกิดจากการตัดสินใจบนพื้นฐานใด หากเป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานของอารมณ์ ไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง ก็ควรชะลอการปฏิบัติไว้ก่อน และควรให้การประคับประคองใจจนสบายใจขึ้น กับทั้งให้โอกาสผู้ใกล้ตายเปลี่ยนความต้องการและความตั้งใจได้เสมอ
ความรู้เกี่ยวกับการตาย
ปัจจุบัน มีความสนใจเรื่องความตายมากขึ้น แม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ในยุคก่อนไม่สนใจเรื่องความตายเลย จนเกือบจะเป็นสิ่งต้องห้ามที่ไม่ควรพูดถึง ก็ได้ให้ความสนใจและมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะความตายได้กลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นแล้ว วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ทำให้มนุษย์มีโอกาสตายตามธรรมชาติได้ น้อยลง ความตายอย่างสงบจึงไม่เกิดขึ้น ในบางประเทศคนไม่มีโอกาสได้ตายอย่างสงบที่บ้าน แต่ตายอย่างโดดเดี่ยวและทรมานในโรงพยาบาล โดยตายกับสายระโยงระยางที่เข้า ออกจากร่างกายและเครื่องมืออุปกรณ์ที่อยู่รอบตัว ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการตื่นตัวในเรื่องเกี่ยวกับความตายมากขึ้น โดยเฉพาะในวงการแพทย์ สถาบันทางการแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้พยายามให้คำจำกัดความของการตายดี ไว้ว่า “การตายดี คือ การตายที่ปลอดจากความทุกข์ทรมานที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของคนป่วย ญาติ และผู้ให้การรักษา และโดยทั่วไปควรเป็นไปตามความประสงค์ของคนป่วยและญาติ บนพื้นฐานของการรักษาด้านการแพทย์ วัฒนธรรม และจริยธรรม ที่ได้มาตรฐานและดีงาม
ส่วน “การตายดี” ในแง่พุทธศาสนานั้น ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้เขียนไว้ในหนังสือ การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์ เรื่องช่วยให้ตายเร็ว หรือช่วยให้ตายช้าว่า “ในคัมภีร์พุทธศาสนา พูดถึงเสมอว่า อย่างไรเป็นการตายที่ดี ท่านมักใช้คำสั้นๆ ว่า “มีสติไม่หลงตาย และที่ว่าตายดีนั้น ไม่ใช่เฉพาะตายแล้วจะไปสู่สุคติเท่านั้น แต่ขณะที่ตายก็เป็นจุดสำคัญที่ว่าต้องมีจิตใจที่ดี คือ มีสติ ไม่หลงตาย”
“ที่ ว่าไม่หลงตาย คือ มีจิตใจไม่ฟั่นเฟือน ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่นมัว จิตใจดีงาม ผ่องใส เบิกบาน จิตใจนึกถึงหรือเกาะเกี่ยวอยู่ กับสิ่งที่ดี จึงมีประเพณีที่ว่าจะให้ผู้ตายได้ยินได้ฟังสิ่งที่ดีงาม เช่น บทสวดมนต์ หรือคำกล่าวเกี่ยวกับพุทธคุณ อย่างที่ใช้คำว่า “บอกอรหัง” ก็เป็นคติที่ให้รู้ว่าเป็นการบอกสิ่งสำหรับยึดเหนี่ยวในทางใจให้แก่ผู้ที่ กำลังป่วยหนักในขั้นสุดท้าย ให้จิตใจเกาะเกี่ยวยึดเหนี่ยวอยู่กับพระรัตนตรัย เรื่องบุญกุศล หรือเรื่องที่ได้ทำความดีมา เป็นต้น
“อย่างไรก็ตาม ยังมีการตายที่ดีกว่านั้นอีกคือ ให้เป็นการตายที่ใจมีความรู้ หมายถึงความรู้เท่าทันชีวิต จนกระทั่งยอมรับความจริงของความตาย หรือความเป็นอนิจจังได้ เพียงแค่ว่าคนที่จะตายมีจิต ยึดเหนี่ยวอยู่กับบุญกุศลความดี ก็นับว่าดีแล้ว แต่ถ้าเป็นจิตใจที่มีความรู้เท่าทัน จิตใจนั้นก็จะมีความสว่าง ไม่เกาะเกี่ยว ไม่มีความยึดติด เป็นจิตใจที่โปร่งโล่งเป็นอิสระแท้จริง ขั้นนี้แหละถือว่าดีที่สุด”
นอกจากนั้นท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกยัง ได้แทรกคติทางพระ เกี่ยวกับจิตตอนที่จะตายว่า “เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ก็เป็นอันหวังทุคติได้ และเมื่อจิตใจไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้”
จาก ความหมายของการตายดีและคติทางพุทธเกี่ยวกับจิตตอนที่จะตาย ทำให้เห็นความสำคัญของการทำจิตให้ผ่องใสในเวลาที่จะตาย ความรู้นี้เป็นประโยชน์ในการที่เราจะให้การดูแลและช่วยเหลือผู้ใกล้ตายด้าน จิตใจ ซึ่งศาสนาอื่นทุกศาสนาก็ให้ความสำคัญต่อจิตใจเมื่อใกล้ตายเช่นเดียวกัน โดยจะมีพระหรือบาทหลวงในศาสนานั้นมาเยี่ยมและปลอบขวัญผู้ป่วยที่โรงพยาบาล เพื่อช่วยให้คนใกล้ตายได้ตายด้วยจิตอันสงบ ตายกับสติไม่หลงตาย ซึ่งถือว่าเป็นการตายที่ดี จะเห็นว่าความหมายของการตายดีในแง่มุมของศาสนาต่างๆ นั้นมีความลุ่มลึกและลึกซึ้งกว่าความหมายด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ทางตะวันตก และกำลังได้รับความสนใจจากวงการแพทย์และคนทั่วไป นอกจากนั้น ทางพุทธศาสนาถือว่า ชีวิตคนมีโอกาสตลอดเวลาจนถึงวาระสุดท้าย กล่าวคือแม้ถึงวาระสุดท้ายมนุษย์ก็ยังไม่หมดโอกาสที่จะได้สิ่งดีที่สุดของ ชีวิต หากบุคคลผู้นั้นมีปัญญารู้เท่าทันชีวิตและบรรลุธรรมในขณะจิตสุดท้ายตอนจะดับ
แนวทางการช่วยเหลือคนใกล้ตาย
๏ มีจิตใจที่อยากช่วยเหลือ
จิตใจที่อยากช่วยเหลือเป็นคุณสมบัติแรกที่ควรต้องมี เพราะจิตใจนั้นจะแสดงออกทางกาย วาจา ที่คนใกล้ตายสามารถสัมผัสและรับรู้ได้ เอื้อให้สิ่งที่จะทำเพื่อช่วยเหลือต่อไปได้ผลดี
๏ รู้เขารู้เรา
คนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในความรู้สึกนึกคิด ความต้องการและทัศนคติ คนใกล้ตายก็เช่นเดียวกัน แม้จะเหมือนและคล้ายกันในบางเรื่อง แต่ก็มีความต่างกันด้วย ในการให้ความช่วยเหลือ จึงต้องรู้จักคนใกล้ตายในด้านความเจ็บป่วยทางกาย ซึ่งทราบได้จากแพทย์ที่ให้การรักษา และรู้จักสภาพจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ความเชื่อ วัฒนธรรม และเศรษฐานะ ซึ่งจะรู้ได้ไม่ยาก ด้วยการให้คนใกล้ตายได้มีโอกาสระบายความรู้สึก บอกความต้องการ โดยผู้ให้ความช่วยเหลือใส่ใจรับฟังและใช้ความสังเกต เมื่อ “รู้เขา” แล้ว ก็สามารถช่วยเหลือได้ถูกต้องและเหมาะสมโดยปรับใช้วิธีการให้เข้ากับสภาพและ ภูมิหลังของคนใกล้ตาย โดยเฉพาะในด้านจิตใจและ ความรู้สึก เช่น เรื่องที่จะทำให้จิตใจสบายของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ก็ต้องเลือกพูดและเลือกทำให้เหมาะสม ในกรณีที่ผู้ใกล้ตายเป็น ผู้ปฏิบัติธรรมก็ควรเปิดโอกาสให้ได้เจริญสติ โดยไม่ถูกรบกวน และ ช่วยให้คนใกล้ตายได้ใช้พลังในตัวเขาเองเผชิญกับความตายที่จะมาถึง
สำหรับการ “รู้เรา” คือการรู้จักความสามารถและสภาพจิตใจของตนเองก็มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในด้านจิตใจ ผู้ให้ความช่วยเหลือ ต้องมีจิตใจหนักแน่นมั่นคงและสติตั้งมั่น ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนให้เกิดขึ้นได้ และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว นอกจากเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว ยังเกิดประโยชน์ต่อตนเองด้วย ผู้ที่เคยช่วยเหลือคนใกล้ตาย มีประสบการณ์ตรงกันว่าเกิดพลังขึ้นในตนเอง เมื่อการช่วยเหลือนั้นประกอบด้วยเมตตา กรุณา และอุเบกขา
๏ เอาใจเขามาใส่ใจเรา
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา จะทำให้สามารถช่วยเหลือคนใกล้ตายได้ดีขึ้น เพราะสิ่งที่เขาต้องการคือใครสักคนที่พยายามเข้าใจเขา และให้ความเอาใจใส่เขา แม้เมื่อเขาไม่สามารถโต้ตอบได้ การสัมผัส การจับมือ ก็สามารถช่วยให้เขารู้สึกดีและสงบได้
ที่กล่าวนี้เป็นเพียงส่วนน้อยนิด เท่านั้น เรื่องเกี่ยวกับภาวะใกล้ตายและความตายยังมีอีกมากมาย และล้วนแต่น่าสนใจและน่าศึกษา ทั้งในด้านการแพทย์และด้านศาสนา สำหรับหนังสือภาษาไทยที่มีให้หาอ่านได้คือ เหนือห้วงมหรรณพ และประตูสู่ภาวะใหม่ ซึ่งพระไพศาล วิสาโล ได้แปลจากหนังสือเรื่อง The Tibetan Book of Living and Dying โดยท่านโซเกียล รินโปเช ซึ่งให้ความกระจ่าง เกี่ยวกับความตาย และวิธีช่วยเหลือผู้ใกล้ตายอย่างดีเยี่ยมควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง ตอนหนึ่งที่ท่านไพศาลแปลไว้มีความว่า
“การตายอย่างสงบ เป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญโดยแท้ อาจสำคัญยิ่งกว่าสิทธิในการลงคะแนนเสียงหรือสิทธิที่จะได้ความยุติธรรมเสีย อีก ทุกศาสนาสอนว่า นี้เป็นสิทธิที่มีผลอย่างมากต่อปกติสุข และอนาคตทางจิตวิญญาณของผู้ใกล้ตาย ไม่มีสิ่งประเสริฐใดๆ ที่คุณสามารถจะให้ได้ นอกเหนือจากการช่วยให้บุคคลตายด้วยดี”
เมื่อ การดูแลช่วยเหลือผู้ใกล้ตายมีความสำคัญถึงเพียงนี้ ถึงเวลาหรือยังที่เราไม่ว่าจะเป็นใคร ควรที่จะให้ความสนใจศึกษาและฝึกฝนตนเองให้สามารถเผชิญกับความตายของผู้อื่น และของตนเองได้ โดยช่วยให้ผู้อื่นและตนเอง ตายดี ตายกับสติ ไม่หลงตาย คือ มีศิลปะในการตาย ซึ่งเท่ากับมีศิลปะในการดำเนินชีวิตนั่นเอง เพราะคนเราอยู่อย่างไรก็ตายอย่างนั้น ตายอย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เป็นสัจธรรมอยู่แล้ว หากเราช่วยเหลือกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเรียนรู้จากกันและกัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการตาย สิ่งที่จะได้ก่อน คือศิลปะในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะช่วยให้สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่มีคุณภาพและเกิดความสงบสุขโดยทั่วกัน
Source: http://www.thailivingwill.in.th/index.php?mo=3&art=280063
MORE @2
การที่ผู้ป่วยทราบว่า ตนกำลังจะเสียชีวิต เป็นสถานการณ์ที่มนุษย์ปรับตัวได้ยากยิ่ง ซึ่งจะมากหรือน้อยมีความแตกต่างไปในแต่ละคน ขึ้นอยุ่กับสภาพร่างกาย สังคม จิตใจและจิตวิญญาณ ขณะเดียวกัน ความรู้สึกเช่นนี้ก็เกิดขึ้นกับญาติและผู้ดูแล รวมทั้งแพทย์ พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะปัจจุบันในยุคที่มี เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้า มีเครื่องมือ อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่สามารถดูแลผู้ป่วยและพยายามยืดชีวิตออกไป ให้นานที่สุด ไม่ว่าด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงเพียงใด และผู้ป่วยจะมีชีวิตด้วยคุณภาพชีวิตเช่นใด ทั้งนี้ด้วยเจตนาดีที่ต้องการช่วยเหลือผู้ป่วย รวมทั้งญาติก็พยายามขอร้องให้แพทย์รักษาอย่างสุดความสามารถ ทั้งทีบางครั้งผู้ป่วยเองไม่มีโอกาสที่จะเรียกร้องหรือตัดสินใจในการยืด ชีวิตชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างการตายอย่างมีศักดิ์ศรี (Dying with dignity) กับการต่อสู้เพื่อยืดชีวิต (Fighting of life) ปัญหาต่างๆเหล่านี้ ล้วนเกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะใกล้ตายและความตาย รวมทั้งไม่เข้าใจในด้านสังคม จิตใจ และจิตวิญญาณของมนุษย์ ดังนั้นการตายซึ่งเป็นสภาวธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กลายเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากมิใช่เป็นประเด็นทางการแพทย์หรือทางกฎหมายเท่านั้น แต่เป็นประเด็นทางด้านจิตใจ คุณธรรม จริยธรรม และสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเรียนรู้และเข้าใจ
สรีรวิทยาของภาวะใกล้ตาย
เมื่อผู้ป่วยใกล้จะเสียชีวิต จะมีการเปลี่ยนแปลงทางบด้านร่างกายและจิตใจ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างไม่จำเป็นต้องแก้ไข บางอย่างสมควรแก้ไขเพื่อให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบ
1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
การ เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิตจะช่วยทำให้ ผู้ดูแลและญาติดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม ลดวิธีการดูแลรักษาที่ไม่จำเป็น ผู้ป่วยไม่ทรมานมาก บางอย่างนอกจากไม่ก่อประโยชน์ใดๆ แก่ผู้ป่วยแล้ว ยังอาจเป็นผลเสียกับผู้ป่วยได้
ผู้ป่วยที่ใกล้ตายจะมีการเบื่ออาหาร กินอาหารได้น้อยลง การคะยั้นคะยอให้กินอาหารตามปกติ จึงไม่มีประโยชน์ นอกจากนี้ยังพบว่าความเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นจะทำให้มีสารคีโตน (Ketone) เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายและลดความเจ็บปวดลงได้ จึงอาจเป็นผลดีสำหรับผู้ป่วยใกล้ตายด้วยซ้ำ
ความอ่อนเพลียเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ สมควรยอมรับ อาจไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใดๆ นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะรู้สึกง่วงนอน อาจนอนหลับตลอดเวลา ดังนั้นควรให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนเต็มที่ ไม่ควรพยายามปลุกให้ตื่น
ผู้ป่วยใกล้ตายจะดื่มน้ำน้อยลง หรืองดดื่มเลย ภาวะขาดน้ำที่เกิดขึ้นไม่ทำให้ผู้ป่วยทรมานมากขึ้น ตรงกันข้ามกลับกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟีน (Endorphine) ทำให้รู้สึกสบายขึ้น ลดอาการเจ็บปวดได้ ถ้าผู้ป่วยมีอาการริมฝีปากแห้ง คอแห้ง อาจใช้สำลีหรือผ้าชุบน้ำสะอาดแตะที่ริมฝีปาก จะช่วยลดอาการปากแห้งได้
จากการที่ร่างกายเสื่อมสภาพลง การรับสัมผัสและสื่อประสาทจึงลดลงจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดลดลง การไหลเวียนเลือดส่วนปลายน้อยลงทำให้ผิวหนัง แขนขา มีลักษณะเป็นจ้ำๆ สีออกม่วงแดง ผู้ป่วยหลายรายอาจมีอาการเพ้อ ประสาทหลอน เห็นผี เหมือนภาพเก่าๆ เห็นญาติที่เสียชีวิตเห็นความผิดบาปในอดีต ซึ่งอาจเกิดจากผลข้างเคียงของยา หรือจากความผิดปรกติในการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง
การร้องครวญครางหรือมีหน้าตาบิดเบี้ยวเหมือนเจ็บปวด อาจไม่ใช่เกิดจากความเจ็บปวดอย่างใด แต่อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสมอง หรือเป็นจากกล่องเสียงหรือหลอดลมเริ่มอ่อนแรง เสียงที่ลอดออกมาจึงฟังคล้ายเสียงร้องทั้งที่ไม่ได้ร้อง อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยมีอาการไม่รู้สึกตัว อย่าคิดว่าเขาไม่สามารถรับรู้หรือได้ยินเสียงใดๆ ที่คนพูดอยู่รอบๆข้าง เขาอาจได้ยินเสียงแต่ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นทราบได้ จึงไม่ควรพูดในสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจ ดังนั้นในผู้ป่วยมุสลิมจึงควรให้ญาติได้สอนให้กล่าว “ชาฮาดะห์” มีความหมายว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ฉันเคารพ ภักดี นอกจากอัลลอฮ์) โดยกระซิบเบาๆ ข้างหู ซึ่งการตายด้วยคำสุดท้ายด้วยการกล่าวกาลิมะห์ชาฮาดะห์จะเป็นสุดยอดปรารถนา ของมุสลิมทุกคนก่อนตาย นอกจากนี้อาจให้ญาติได้อ่านคัมภีร์อัลกรุอ่านด้วยเสียงที่นิ่มนวลให้ผู้ป่วย ฟัง เพื่อให้จิตใจสงบ
ผู้ป่วยบางรายอาจลุกขึ้นมานั่งได้ กินได้ พูดได้เหมือนหายแล้วในวันสุดท้ายก่อนตาย ซึ่งพบได้ทั่วไป เชื่อกันว่าอาจจะเป็นพลังงานเฮือกสุดท้ายที่ผู้ป่วยพยายามจะตื่นขึ้นมาเพื่อ ให้ญาติได้รู้สึกดีขึ้น ได้มีโอกาสดูแลใกล้ชิด ป้อนข้าวป้อนน้ำให้ ได้สั่งเสียก่อนจากโลกนี้ไป
2. การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
เมื่อ มีความเจ็บป่วยย่อมมีความเครียด ความกังวล ความกลัวอยู่ในใจทุกคน เมื่อเป็นความเจ็บป่วยที่ต้องเผชิญกับความตาย จึงยิ่งมีผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยทุกคน จะมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพทางร่างกาย สังคม จิตใจ และจิตวิญญาณของผู้ป่วยเอง
นายแพทย์ Ned H. Cassem แห่งโรงพยาบาล Massachusetts ได้กล่าวถึงความกังวลที่พบบ่อยของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้แก่
1. Helplessness or loss or control
คือ กลัวไม่ได้รับความช่วยเหลือ กลัวที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้
2. Being bad
กลัวความรู้สึกที่ไม่ดี กลัวจะดูไม่ดี ตำหนิตัวเองหรือโทษตัวเอง
3. Physical injury or symbolic injury
กลัวเรื่องการบาดเจ็บหรือความเจ็บปวด
4. Abandonment
กลัวการถูกทอดทิ้ง ถูกโดดเดี่ยว
การกลัวต่อความตายโดยทั่วไปแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ กลัวต่อความตายโดยตรง กลัวการจากไป ไม่รู้ว่าจะไปอยู่ในสภาพใด ที่ไหน สูญเสียทุกสิ่งที่มีอยู่ ต้องจากคนที่รักไป ซึ่งถ้าเป็นผู้ป่วยมุสลิมที่เข้าใจในเรื่องชีวิตหลังความตายแล้ว เขาจะกลัวน้อยลงหรือไม่กลัวเลย ตรงกันข้ามอาจมีความสงบสุขที่จะได้ไปพบกับพระผู้เป็นเจ้า ส่วนอีกลักษณะหนึ่ง คือ กลัวต่อกระบวนการก่อนที่จะไปสู่การตาย เช่น ความเจ็บปวด ความพิการ การสูญเสียอัตลักษณ์ เป็นต้น
จากการศึกษาพบว่า สิ่งที่คนใกล้ตายกลัวมากที่สุด คือ กลัวการถูกทอดทิ้ง กลัวการถูกโดดเดี่ยว เขาจึงต้องการใครสังคนที่อยู่เคียงข้าง ยิ่งถ้าเป็นคนที่เขารัก คนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องจะดีมาก ดังนั้นผู้ดูแลควรให้ผู้ป่วยได้พูดคุย และรับฟังในสิ่งที่ผู้ป่วยแสดงความรู้สึกออกมา รวมทั้งประคับประคองให้กำลังใจ และเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้ป่วย เพราะบางครั้งผู้ป่วยอาจแสดงออกถึงพฤติกรรมและอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม ก็ให้เข้าใจว่าเป็นปฏิกิริยาทางจิตใจที่เกิดจากภาวะความเครียดหรือภาวะวิกฤต (Stress or crisis) แต่ในบางรายอาจเป็นมากจนกระทั่งเป็นโรคทางจิตเวช ที่พบบ่อยและมีความสำคัญคือโรคซึมเศร้า ซึ่งผู้ป่วยอาจคิดหรือฆ่าตัวตายได้ ในกรณีเช่นนี้ควรส่งพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อบำบัดรักษา
ตามแบบจำลองภาวะวิกฤต (Crisis model) เมื่อผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองตกอยู่ในภาวะอันตราย เช่น เจ็บป่วยรุนแรง หรือเผชิญกับความตาย ผู้ป่วยจะปรับตัวด้วยพฤติกรรม การแก้ปั้ญหา (Coping) ซึ่งอาจแก้ปัญหาได้สำเร็จหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้ามีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นแล้ว ทำให้ผู้ป่วยหมดหวังไม่เห็นหนทางแก้ปัญหา อารมณ์และจิตใจ จะรู้สึกว่าเป็นภาวะวิกฤต (Emotional crisis) ซึ่งผู้ป่วยจะแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมอย่างมาก และใช้กลไกป้องกันทางจิตใจ (Defense mechanism) เพื่อลดความขัดแย้งในจิตใจ ซึ่งผู้ป่วยอาจใช้กลไกที่ไม่เหมาะสม (Immature defense) โดยแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ผู้ดูแลหรือญาติจึงอาจไม่รู้จักรำคาญหรือรู้สึกไม่ดีต่อผู้ป่วยได้
ที่มา : “การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวทางอิสลาม” พฤษภาคม 2547 หน้า 15-19
MORE @3
ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะใกล้ตาย
ทำไมจึงต้องสนใจเรื่องความตาย
ความ ตายเป็นสิ่งที่ทุกคนเคยได้ยินได้ฟัง และเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นกับทุกคนไม่วันใดก็วันหนึ่ง เมื่อใดก็เมื่อนั้น แต่คนทั่วไปส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่สนใจและไม่รู้จักว่าความตายคืออะไร หรือมิเช่นนั้นก็ไม่รู้จักความตายตามจริง หากแต่รู้จักตามภาพที่ตนเองจินตนาการขึ้น ซึ่งมักจะทำให้รู้สึกกลัวความตายมากขึ้น
ท่านพุทธทาสภิกขุได้กล่าวไว้ในเรื่อง ความตายไม่มี? ว่า "ความตายทั้งทางกายและทางวิญญาณ เป็นจุดรวมของความกลัวทุกชนิด" จึง ไม่แปลกที่มนุษย์เกือบทุกคน กลัวความตาย ไม่อยากพูดถึง ไม่อยากได้ยิน ไม่อยากให้มาเยือนตนเองหรือผู้คนที่แวดล้อมอยู่รอบตัว และไม่สนใจจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความตาย ทำให้ขาดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งเป็นผลให้ความกลัวตายเพิ่มเป็นทวีคูณ กับทั้งทำให้ตั้งอยู่บนความประมาท คิดว่าความตายยังอยู่ไกลตัว โดยพยายามผลักความตายให้ออกห่างตนเองให้มากที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้และไม่อยู่ในบังคับบัญชาของมนุษย์
แต่มนุษย์ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีด้านการแพทย์มีความก้าวหน้ามาก เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และการรักษาสามารถยืดชีวิตคนเจ็บไข้ได้ป่วยได้ ดีมาก จนทำให้คนสมัยนี้เข้าใจว่า โรคทุกโรคสามารถรักษาหายได้ และผู้ป่วยไม่ควรต้องตาย แพทย์และบุคลากรด้านการแพทย์ก็ต้องการช่วยชีวิตผู้ป่วย และพยายามยืดชีวิตผู้ป่วยให้อยู่ได้นานที่สุด ไม่ว่าด้วยการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงเพียงใดและผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ด้วย คุณภาพชีวิตเช่นใด ทั้งนี้ก็ด้วยเจตนาดีที่จะช่วยเหลือผู้ป่วย ขณะเดียวกันญาติผู้ป่วยก็ต้องการให้ผู้ที่เป็นที่รักอยู่ให้นานที่สุด ไม่ว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจะเป็นอย่างไร จึงมักแสดงความจำนงให้แพทย์ให้การรักษาให้ถึงที่สุด แม้ในบางกรณีคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจะไม่ดี บางครั้งในหมู่ญาติเองก็มีความเห็นต่างกัน หรือมีความเห็นต่างกับผู้ป่วยเอง ทำให้เกิดปัญหาในการรักษา ปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากการขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะใกล้ตายและความตายทั้งสิ้น ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานกับทุกๆ ฝ่าย ทั้งตัวผู้ป่วยครอบครัว ญาติมิตร และผู้ให้การรักษา เป็นปัญหาของสังคมทั่วโลก จนเกิดประเด็น "การุณยฆาต" และข้อโต้แย้งเรื่องสิทธิการตาย ซึ่งพบบ่อยๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ยุคปัจจุบัน
การตายซึ่งเป็นสภาวะธรรมตามธรรมชาติธรรมดาๆ ชนิดหนึ่ง ได้กลายเป็นเรื่องใหญ่ เป็นปัญหาระดับโลกจนเกิดการฟ้องร้องกันขึ้นในบางประเทศว่า ผู้ป่วยผู้นั้นมีสิทธิขอตายได้หรือไม่ และถ้าได้จะทำอย่างไร ถ้าไม่ได้จะทำอย่างไร ปัญหาที่เกิดขึ้นมิใช่แต่ในด้านกฎหมาย หรือด้านการแพทย์ หรือด้านเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังเป็นปัญหา ด้านจิตใจ ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และสังคม ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและมีความสลับซับซ้อนมาก ผู้เขียนมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องตาย เพราะต้องประสบพบกับความตายของผู้คนอยู่เนืองๆ ทั้งในฐานะแพทย์ และญาติมิตร และสนใจมากโดยเฉพาะว่าจะช่วยเหลือคนใกล้ตายให้ "ตายกับสติและตายด้วยจิตที่สงบ" ได้อย่างไร กับทั้งมีความเห็นว่า หากเราเข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับภาวะใกล้ตาย และความตาย ทั้งในด้านวิชาการแพทย์และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตและการตายแล้ว ไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพใด หรือมีบทบาทหน้าที่ใดในสังคม เราก็สามารถช่วยผู้ใกล้ตายและแม้ตนเองในที่สุดได้
ปัจจุบันในทางการแพทย์ได้มีความสนใจและมีความรู้เกี่ยวกับสรีรวิทยาของภาวะใกล้ตายมากขึ้น ซึ่งเมื่อผนวกเข้ากับความรู้ว่า "อย่างไร คือ การตายดี" ก็จะทำให้เราสามารถเผชิญกับความตายได้ดีขึ้น และลดความทุกข์ทรมานของภาวะใกล้ตายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ใกล้ตาย ญาติ และผู้ให้การรักษาได้ ผู้เขียนจึงรวบรวมความรู้ในด้านต่างๆ โดยสังเขป เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ที่สนใจ ดังนี้
ความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายความ เข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในภาวะใกล้ตายจะทำให้ญาติและผู้ให้ การรักษาสามารถดูแลคนใกล้ตายได้ถูกต้องเหมาะสมขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้ป่วยอย่างยิ่ง เพราะทำให้สามารถลดการรักษาที่นอกจากไม่ จำเป็นแล้วยังทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานมากขึ้น และไม่เป็นประโยชน์ใดๆ แก่ใครทั้งสิ้น โดยเฉพาะแก่คนใกล้ตาย
- เมื่อใกล้ตาย ความอ่อนเพลีย เป็นสิ่งที่ควรยอมรับ และไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใดๆ สำหรับความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ควรให้ผู้ป่วยในระยะนี้ได้พักผ่อนให้เต็มที่
- คนใกล้ตายจะเบื่ออาหาร และกินอาหารน้อยลง จากการศึกษาพบว่า ความเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะทำให้มีสารคีโตนในร่างกายเพิ่มขึ้น สารคีโตนจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น และบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
- คนใกล้ตายจะดื่มน้ำน้อยลง หรืองดดื่มเลย ภาวะขาดน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อใกล้ตายไม่ทำให้ผู้ป่วยทรมานมากขึ้น ตรงกันข้ามกลับกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น หากปาก ริมฝีปากแห้ง จมูกแห้ง และตาแห้ง ให้หมั่นทำความสะอาด และรักษาความชื้นไว้ โดยอาจใช้สำลีหรือผ้าสะอาดชุบน้ำแตะที่ปาก ริมฝีปาก หรือใช้สีผึ้งทาริมฝีปาก สำหรับตาก็ให้หยอดน้ำตาเทียม
- คนใกล้ตายจะรู้สึกง่วงและอาจนอนหลับตลอดเวลา ผู้ดูแลควรให้ผู้ป่วยหลับ ไม่ควรพยายามปลุกให้ตื่น
- เมื่อคนใกล้ตายไม่รู้สึกตัว ไม่ควรคิดว่าเขาไม่สามารถรับรู้หรือได้ยิน สิ่งที่มีคนพูดกันอยู่ข้างๆ เพราะเขาอาจจะยังได้ยินและรับรู้ได้ แต่ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นทราบได้ จึงไม่ควรพูดคุยกันในสิ่งที่จะทำให้เขาไม่สบายใจหรือเป็นกังวล
- การร้องครวญคราง หรือมีหน้าตาบิดเบี้ยวอาจไม่ได้เกิดความเจ็บปวดเสมอไป แต่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสมอง ซึ่งแพทย์สามารถให้ยาระงับอาการเหล่านี้ได้
- คนใกล้ตายอาจมีเสมหะมาก ควรให้ยาลดเสมหะแทนการดูดเสมหะ ซึ่งนอกจากไม่ได้ผลแล้วยังทำให้ ผู้ป่วยรู้สึกทรมานเพิ่มขึ้นด้วย (ทั้งนี้หมายถึง เฉพาะคนที่ใกล้ตายเท่านั้น มิได้รวมถึงผู้ป่วยอื่นๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการดูดเสมหะ)
ความเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
โดย ทั่วไปเมื่อกายป่วย ใจจะป่วยด้วยเสมอ ยิ่งคนที่ป่วยหนักใกล้ตายด้วยแล้วก็ยิ่งต้องการการดูแลประคับประคองใจอย่าง มาก การศึกษาต่างๆ พบตรงกันว่า สิ่งที่คนใกล้ตายกลัวที่สุดคือ การถูกทอดทิ้ง การอยู่โดดเดี่ยว และสิ่งที่คนใกล้ตายต้องการคือ ใครสักคนที่เข้าใจและอยู่ข้างๆ เขาเมื่อเขาต้องการ แต่ละคนก็อาจมีความรู้สึกและความต้องการต่างกันไป ฉะนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็ควรให้โอกาสคนใกล้ตายได้แสดงความรู้สึกและความ ต้องการ โดยการพูดคุยและเป็นผู้รับฟังที่ดี และควรปฏิบัติตามความต้องการของคนใกล้ตาย ซึ่งหมายรวมถึงความต้องการในด้านการรักษา ทั้งนี้ควรต้องประเมินก่อนว่าความต้องการนั้นเกิดจากการตัดสินใจบนพื้นฐานใด หากเป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานของอารมณ์ ไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง ก็ควรชะลอการปฏิบัติไว้ก่อน และควรให้การประคับประคองใจจนสบายใจขึ้น กับทั้งให้โอกาสผู้ใกล้ตายเปลี่ยนความต้องการ และความตั้งใจได้เสมอ
ความรู้เกี่ยวกับการตาย
ปัจจุบัน มีความสนใจเรื่องความตายมากขึ้น แม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ในยุคก่อนไม่สนใจเรื่องความตายเลย จนเกือบจะเป็นสิ่งต้องห้ามที่ไม่ควรพูดถึง ก็ได้ให้ความสนใจและมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะความตายได้กลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นแล้ว วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ทำให้มนุษย์มีโอกาสตายตาม ธรรมชาติได้น้อยลง ความตายอย่างสงบจึงไม่เกิดขึ้น ในบางประเทศไม่มีโอกาสได้ตายอย่างสงบที่บ้าน แต่ตายอย่างโดดเดี่ยวและทรมานในโรงพยาบาล โดยตายกับสายระโยงระยาง ที่เข้า-ออกจากร่างกายและเครื่องมืออุปกรณ์ที่อยู่รอบตัว
ในประเทศ สหรัฐอเมริกาได้มีการตื่นตัวในเรื่องเกี่ยวกับความตายมากขึ้น โดยเฉพาะในวงการแพทย์ สถาบันการแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้พยายามให้คำจำกัดความของการตายดีไว้ ว่า "การตายดี คือ การตายที่ปลอดจากความทุกข์ทรมาน ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของผู้ป่วย ญาติ และผู้ให้การรักษา และโดยทั่วไป ควรเป็นไปตามความประสงค์ของผู้ป่วยและญาติ บนพื้นฐานของการรักษาด้านการแพทย์ วัฒนธรรม และจริยธรรมที่ได้มาตรฐานและดีงาม" ส่วน "การตายดี" ในแง่พุทธศาสนานั้น ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้เขียนไว้ในหนังสือ การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์ เรื่องช่วยให้ตายเร็วหรือช่วยให้ตายช้า ว่า
"ในคัมภีร์พุทธศาสนา พูดถึงเสมอว่า อย่างไรเป็นการตายที่ดี ท่านมักใช้คำสั้นๆ ว่า "มีสติไม่หลงตาย" และที่ว่าตายดีนั้น ไม่ใช่เฉพาะตายแล้วจะไปสู่สุคติเท่านั้น แต่ขณะที่ตายก็เป็นจุดสำคัญ ที่ว่าต้องมีจิตใจที่ดี คือมีสติไม่หลงตาย"
"ที่ ว่าไม่หลงตาย คือ มีจิตใจ ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่นมัว จิตใจดีงาม ผ่องใส เบิกบาน จิตใจนึกถึงหรือเกาะเกี่ยวอยู่กับสิ่งที่ดี จึงมีประเพณีที่ว่าจะให้ผู้ตายได้ยินได้ฟังสิ่งที่ดีงาม เช่น บทสวดมนต์ หรือคำกล่าวเกี่ยวกับพุทธคุณ อย่างที่ใช้คำว่า "บอกอรหัง" ก็เป็นคติที่ให้รู้ว่าเป็นการ บอกสิ่งสำหรับยึดเหนี่ยวในทางใจ ให้แก่ผู้ที่กำลังป่วยหนักในขั้นสุดท้าย ให้จิตใจเกาะเกี่ยวยึดเหนี่ยวอยู่กับพระรัตนตรัย เรื่องบุญกุศลหรือเรื่องที่ได้ทำความดีมา เป็นต้น"
"อย่าง ไรก็ตาม ยังมีการตายที่ดีกว่านั้นอีก คือ ให้เป็นการตายที่ใจมีความรู้ หมายถึงความรู้เท่าทันชีวิต จนกระทั่งยอมรับความจริงของความตาย หรือความเป็นอนิจจังได้ เพียงแค่ว่าคนที่จะตายมีจิตยึดเหนี่ยวอยู่กับบุญกุศล ความดี ก็นับว่าดีแล้ว แต่ถ้าเป็นจิตใจที่มีความรู้เท่าทัน จิตใจนั้นก็จะมีความสว่าง ไม่เกาะเกี่ยว ไม่มีความยึดติด เป็นจิตใจที่โปร่งโล่งเป็นอิสระแท้จริง ขั้นนี้แหละถือว่าดีที่สุด"
นอกจากนั้นท่านเจ้าคุณพระ-ธรรมปิฎกยังได้แทรกคติทางพุทธเกี่ยวกับจิตตอนที่จะตายว่า "เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ก็เป็นอันหวังทุคติได้ และเมื่อใจไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติก็เป็นอันหวังได้" จากความหมายของการตายดีและคติทางพุทธเกี่ยวกับจิตตอนที่จะตาย ทำให้เห็นความสำคัญของการทำจิตให้ผ่องใสในเวลาที่จะตาย ความรู้นี้เป็นประโยชน์ในการที่เราจะให้การดูแลและช่วยเหลือผู้ใกล้ตายด้าน จิตใจ
ศาสนาอื่นทุกศาสนาก็ให้ความสำคัญต่อจิตใจเมื่อใกล้ตายเช่นเดียวกัน โดยจะมีพระหรือบาทหลวงในศาสนานั้นมาเยี่ยมและปลอบขวัญผู้ป่วยที่โรงพยาบาล เพื่อช่วยให้คนใกล้ตายได้ตายด้วยจิตอันสงบ ตายกับสติไม่หลงตาย ซึ่งถือว่าเป็นการตายที่ดี จะเห็นว่าความหมายของการตายดีในแง่มุมของศาสนาต่างๆ นั้น มีความลุ่มลึก และลึกซึ้งกว่าความหมายด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ทางตะวันตก และกำลังได้รับความสนใจจากวงการแพทย์ และคนทั่วไปนอก จากนั้นทางพุทธศาสนาถือว่าชีวิตคนมีโอกาสตลอดเวลาจนถึงวาระสุดท้าย กล่าวคือ แม้ถึงวาระสุดท้ายมนุษย์ก็ยังไม่หมดโอกาสที่จะได้สิ่งดีที่สุดของชีวิต หากบุคคลผู้นั้นมีปัญญารู้เท่าทันชีวิตและบรรลุธรรมในขณะจิตสุดท้ายตอนจะดับ
แนวทางการช่วยเหลือคนใกล้ตาย
เมื่อมีความรู้ความเข้าใจด้านร่างกายและจิตใจของคนใกล้ตาย และความตายดังกล่าวแล้ว ก็สามารถช่วยเหลือคนใกล้ตายได้ โดย
- มีจิตใจที่อยากช่วยเหลือ
- รู้เขารู้เรา
เมื่อ "รู้เขา" แล้วก็สามารถช่วยเหลือได้ถูกต้องและเหมาะสม โดยปรับใช้วิธีการให้เข้ากับสภาพและภูมิหลังของคนใกล้ตาย โดยเฉพาะในด้านจิตใจและความรู้สึก เช่น เรื่องที่จะทำให้จิตใจสบายของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ก็ต้องเลือกพูดและเลือกทำให้เหมาะสม ในกรณีที่ผู้ใกล้ตายเป็นผู้ปฏิบัติธรรมก็ควรเปิดโอกาส ให้ได้เจริญสติโดยไม่ ถูกรบกวน และช่วยให้คนใกล้ตายได้ใช้พลังในตัวเขาเองเผชิญกับความตายที่จะมาถึง
สำหรับ การ "รู้เรา" คือ การรู้จักความสามารถและสภาพจิตใจของตนเองก็มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในด้านจิตใจ ผู้ให้ความช่วยเหลือต้องมีจิตใจหนักแน่นมั่นคงและสติตั้งมั่น ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนให้เกิดขึ้นได้ และเมื่อเกิดขึ้นแล้วนอกจากเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว ยังเกิดประโยชน์ต่อตนเองด้วย ผู้ที่เคยช่วยเหลือคนใกล้ตายมีประสบการณ์ตรงกันว่าเกิดพลังขึ้นในตนเอง เมื่อการช่วยเหลือนั้นประกอบด้วยเมตตา กรุณา และอุเบกขา
- เอาใจเขามาใส่ใจเรา
สรุป
ที่ กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้น เรื่องเกี่ยวกับภาวะใกล้ตายและความตายยังมีอีกมากมายและล้วนแต่น่าสนใจและ น่าศึกษา ทั้งในด้านการแพทย์และด้านศาสนา สำหรับหนังสือภาษาไทยที่มีให้หาอ่าน คือ "เหนือห้วงมหรรณพ และ ประตูสู่ภาวะใหม่" ซึ่งพระไพศาล วิสาโล ได้แปลจากหนังสือเรื่อง "The Tibetan Book of Living and Dying " โดยท่านโซเกียล รินโปเช ซึ่งให้ความกระจ่างเกี่ยวกับความตาย และวิธีช่วยเหลือผู้ใกล้ตายอย่างดีเยี่ยมควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง ตอนหนึ่งที่ท่านไพศาลแปลไว้มีความว่า
"สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าหวัง ก็คือ หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้หมอทั่วโลกตระหนักว่า การอนุญาตให้ผู้ใกล้ตายได้จากไปอย่างสงบและเป็นสุขนั้น เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ข้าพเจ้าใคร่ขอวิงวอนต่อบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน และหวังว่าจะช่วยให้เขาเหล่านั้น ค้นพบหนทางในการทำให้ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ แห่งความตายอันยากลำบากนี้ ผ่านไปอย่างง่ายดาย ไม่เจ็บปวด และสงบ เท่าที่จะทำได้ การตายอย่างสงบเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญโดยแท้ อาจสำคัญยิ่งกว่าสิทธิในการลงคะแนนเสียงหรือสิทธิที่จะได้ความยุติธรรมเสีย อีก ทุกศาสนาสอนว่า นี้เป็นสิทธิที่มีผลอย่างมากต่อปกติสุข และอนาคตทางจิตวิญญาณของผู้ใกล้ตาย"
"ไม่มีสิ่งประเสริฐใดๆ ที่คุณสามารถจะให้ได้ นอกเหนือจากการช่วยให้บุคคลตายด้วยดี"
เมื่อ การดูแลช่วยเหลือผู้ใกล้ตาย มีความสำคัญถึงเพียงนี้ ถึงเวลาหรือยังที่เราไม่ว่าจะเป็นใครควรที่จะใช้ความสนใจศึกษาและฝึกฝนตนเอง ให้สามารถเผชิญกับความตายของผู้อื่นและของตนเองได้ โดยช่วยให้ผู้อื่น และตนเองตายดี ตายกับสติ ไม่หลงตาย คือ มีศิลปะในการตาย ซึ่งเท่ากับมีศิลปะในการดำเนินชีวิตนั่นเอง เพราะคนเราอยู่อย่างไรก็ตายอย่างนั้น ตายอย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เป็นสัจธรรมอยู่แล้ว หากเราช่วยเหลือกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเรียนรู้จากกันและกัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการตาย สิ่งที่จะได้ก่อน คือ ศิลปะในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะช่วยให้สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่มีคุณภาพและเกิดความสงบสุขโดยทั่วกัน
Source: http://www.doctor.or.th/node/1722
MORE 4
ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนว่าจะไม่ให้คำแนะนำหรือการรักษาใดๆ
อันเป็นการทำลายชีวิตผู้ป่วยแม้ร้องขอ
Hippocratic Oath |
บทนำ ปรากฏการณ์ “การุณยฆาต” เป็นเรื่องใหม่และยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทย เมื่อเปรียบเทียบกับบางประเทศในวัฒนธรรมตะวันตก เช่น เนเธอร์แลนด์ 3 เบลเยี่ยม ออสเตรเลีย และอังกฤษ เป็นต้น ความคิดเห็นหลากขั้วเกี่ยวกับการจัดการชีวิตสำหรับผู้ป่วยที่หมดหนทางเยียว ยาให้หายจากการเจ็บป่วย และมีคุณภาพชีวิตเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ มีศักดิ์ศรี ล้วนมีเหตุผลที่รับฟังได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นมุมมองทางการแพทย์ ศาสนา สังคม และความชอบธรรมทางกฎหมาย บทความนี้เป็นการนำเสนอความคิดเห็นต่อสภาวะที่มนุษย์เผชิญกับวาระสุดท้าย แห่งชีวิต ด้วยพยาธิสภาพที่สิ้นหวังและเกินกว่าจะเยียวยาและมีคุณภาพชีวิตในภาวะปกติ แล้ว มนุษย์มีสิทธิที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมาน โดยเลือกที่จะตายได้ด้วยเงื่อนไขอะไรได้บ้าง |
กระบวนทัศน์การุณยฆาต ในวัฒนธรรมตะวันตก การุณยฆาต หรือ Euthanasia เป็นภาษากรีก ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ eu หมายถึง good และ thanatos หมายถึง death แปลรวมความว่า ตายดี ตายสงบ 4 แนวคิดตะวันตกสำหรับ การุณยฆาต มีข้อพิจารณา 3 ประการ คือ 5 1. เมื่ออยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส 2. สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง 3. บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้ และไร้การรับรู้ทางสมอง ถ้าหากพิจารณาทั้ง 3 เงื่อนไขในเชิงลึกแต่ละกรณีแล้ว จะเห็นว่า กรณีที่บุคคลอยู่ในภาวะที่เจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพที่มีชีวิตอยู่ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อให้มีลมหายใจ หรือไม่รับรู้ความเจ็บป่วยด้วยการใช้ยาระงับความเจ็บปวดทรมาน ข้อโต้แย้งก็คือ เราจะใช้เทคโนโลยีเอาชนะความเจ็บปวดทรมานได้มากน้อยเพียงไรและนานเพียงใด ภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง เราจะแยกแยะระหว่างความเจ็บปวดทรมานที่บุคคลหนึ่งกำลังเผชิญอยู่และต้องการ หลุดพ้น โดยที่ไม่กดดันทางอารมณ์ หรืออยู่ในภาวะซึมเศร้า ทุกครั้งที่ลืมตาตื่นขึ้นมาพบสภาพที่เจ็บปวดทรมานและเลือกที่จะตายในแต่ละ วัน กับความเห็นทางการแพทย์ที่วินิจฉัยว่าบุคคลนั้นๆ ยังมีโอกาสที่จะเยียวยาและมีชีวิตต่อไปได้อีกระยะหนึ่งได้อย่างไร ความเห็นประการที่ 2 ที่ว่าบุคคลควรมีสิทธิที่จะยุติชีวิตในสภาวะที่พร้อมและสมัครใจ ต่อกรณีนี้ “สิทธิที่จะตาย” ต้องไม่ถูกหยิบยื่นให้กับผู้อื่น นอกจากผู้ที่เป็นเจ้าของชีวิตจะร้องขอเท่านั้น เงื่อนไขนี้จะมีช่องว่างทันทีหากผู้ที่หยิบยื่นความตายให้บุคคลอื่นใช้ดุลยพินิจส่วนตัวตัดสินว่า บุคคลนั้นๆ หมดหนทางที่จะเยียวยาได้จากสภาพทนทุกข์ทรมาน เพราะเป็นการล่อแหลมต่อการใช้ “การุณยฆาต” ฟุ่มเฟือยเกินไป |
“การุณยฆาต”
ในแนวคิดที่ 3 ที่ว่า ผู้ป่วยไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้
และไร้การรับรู้ทางสมอง กาืรยืดชีวิตไว้ถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยหรือไม่
เราจะมีทางเลือกอย่างไรบ้าง สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะ “ฟื้นไม่ได้
ตายไม่ลง” 6
จะถือว่าเป็นการยืดชีวิตโดยที่ผู้ป่วยไม่ปรารถนาจะทนกับภาวะทรมานนั้นอีกต่อไปหรือไม่
(ทั้งที่มีสติสัมปชัญญะครบถ้วน และไร้การรับรู้) ทางออกที่มีอยู่ในปัจจุบัน
คือ การให้สิทธิผู้ป่วยวาระสุดท้าย อยู่ในสภาพที่พร้อมตายอย่างมีศักดิ์ศรี
สงบ และมีสติ โดยมีคนรักรอบข้างที่ยอมรับการจากไปอย่างมีสติและเห็นความตายเป็นธรรมชาติ
แนวคิดในซีกวัฒนธรรมตะวันตกเช่นนี้เป็นที่มาของการจัดหาสถานพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
7
(hospiceหรือ in-home hospice ) ให้เตรียมตัวตายอย่างมีศักดิ์ศรี และตายอย่างมีสติ
ปราศจากการยืดชีวิตไว้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ การุณยฆาต ถูกนำไปปฎิบัติอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ อาทิ รัฐบาลเบลเยี่ยมประกาศออกกฎหมาย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 มีผลบังคับใช้วันที่ 23 กันยายน 2545 อนุญาตเฉพาะผู้ป่วยผู้ใหญ่ และให้มีผลบังคับใช้กับผู้ป่วยเด็กในอีก 2 ปีต่อมาแต่ยังมีข้อโต้แย้งว่า แพทย์จะมีสิทธิ์กระทำการุณยฆาตทารกที่มีอาการสมองตายได้หรือไม่ ในปีพ.ศ. 2548 มีกฎหมายรองรับให้เภสัชกรและแพทย์สามารถจำหน่ายและใช้อุปกรณ์การทำการุณยฆาตได้ “การุณยฆาตสำเร็จรูป” ดังกล่าว ซื้อขายกันในสนนราคาประมาณ 2,000 บาท ประกอบด้วย ยากล่อมประสาท เช่น Barbiturate และยาประเภทดมให้หมดสติ เป็นต้น ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ กฎหมายเปิดช่องให้พิจารณาได้ว่า แพทย์สามารถกระทำการุณยฆาตได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ตราบใดที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าไม่มีมูลเหตุที่ “จงใจทำให้ผู้อื่นตาย“ ประเทศเนเธอร์แลนด์ออกกฎหมายรองรับ การุณยฆาต ตั้งแต่ปี 2539 และพบว่าสถิติการตายประมาณ 9.1% ของการตายทั้งหมดต่อปี เกิดจาก การุณยฆาต (2,300 ราย สมัครใจตาย และ 400 ราย ตายเพราะแพทย์ลงมือเอง และ 1,040 ราย ถูกการุณยฆาตโดยผู้ป่วยไม่มีส่วนรับรู้หรือให้ความยินยอม) นอกจากนี้กฎหมายยังเปิดกว้างให้ผู้ป่วยอายุ 12-16 ปี มีสิทธิร้องขอ การุณยฆาต ได้ โดยพ่อแม่หรือญาติให้คำยินยอม 8 ในประเทศออสเตรเลีย เฉพาะ Northern Territory เท่านั้น ที่มีกฎหมายรองรับให้แพทย์สามารถกระทำ การุณยฆาต ได้ ทั้งในกรณีที่ผู้ป่วยเองและญาติผู้ป่วยร้องขอ (passive euthanasia) หรือกรณีที่แพทย์มีส่วนช่วยเหลือในการเตรียมอุปกรณ์เพื่อปลิดชีพตามความต้องการของผู้ป่วย และกระทำด้วย “น้ำมือ” ของผู้ป่วยเอง (active euthanasia) แต่ภายหลังที่มีเหตุการณ์ผู้ป่วย 4 ราย ปลิดชีพตนเองด้วยอุปกรณ์ที่ติดตั้งโดยแพทย์ (passive euthanasia) รัฐบาลกลางจึงได้สั่งยกเลิกกฎหมายทันทีในปี พ.ศ. 2540 กรณีของประเทศออสเตรเลีย การุณยฆาต กลายเป็นธุรกิจที่น่าสะพรึงกลัว นายแพทย์ Phillip Nitschke ผู้รณรงค์ให้ การุณยฆาต กระทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย คิดวิธี การุณยฆาต เอาไว้ให้เป็นทางเลือก เช่น โปรแกรมสำเร็จรูป death-by–laptop ประกอบด้วย สายยางต่อกับเข็มฉีดยาที่บรรจุยาระงับความรู้สึก เช่น Barbiturate ที่ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ อุปกรณ์ดังกล่าวจะทำงานพร้อมกับโปรแกรมที่บรรจุใน Laptop เมื่อผู้ป่วยตอบคำถาม ครบ 3 คำถาม ที่ปรากฎบนจอ การทำงานของโปรแกรมจะเริ่มต้นทันที คำถามที่สร้างไว้ ในโปรแกรม คือ 1. ท่านต้องการเดินเครื่องฉีดสารพิษเพื่อตาย กดปุ่ม “ใช่” 2. ท่านพร้อมที่จะตาย กดปุ่ม “ใช่” 3. ท่านต้องการให้ฉีดสารพิษเข้าเส้นเลือดภายใน 15 วินาที กดปุ่ม “ใช่” ด้วยวิธีดังกล่าว นายแพทย์ Phillip สรุปว่า แพทย์ไม่ได้ลงมือฆ่าผู้ป่วย แต่เป็นการตายที่ผู้ป่วยตัดสินใจเอง นายแพทย์ Phillip ไม่หยุดยั้งความคิดของเขาเพียงเท่านั้น เขาได้พัฒนาโปรแกรม การุณยฆาต ที่ผู้ป่วยสั่งได้ผ่าน Internet เพื่อให้ การุณยฆาต ทำได้เร็วยิ่งขึ้นและไม่ต้องมีผู้เกี่ยวข้องมาก สนนราคาอยู่ที่ 2,500 บาท นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ อีก เช่น หน้ากากบรรจุคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นวิธีง่ายกว่าการใช้เข็มฉีดสารพิษเข้าเส้น เลือดดำ และเหมาะสำหรับผู้ป่วยอายุมากๆ ไม่มีใครหยุดยั้งการคิดวิธี การุณยฆาต ของนายแพทย์ Phillip ได้ เครื่องมือตัวใหม่ถูกเผยแพร่ใน Internet มากขึ้น แม้แต่วิธีการสำหรับให้วัยรุ่นสามารถเข้าถึงโดยผ่าน Internet ในปี 2547 นายแพทย์ Phillip คิดค้น “ยาเพื่อเป็นนิรันดร์“ ในราคา 5,000 บาท สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นพร้อมหยิบออกมาใช้เมื่ออยากตาย เป็นที่น่าสังเกตว่า ข่าวที่ปรากฎตามสื่อต่างๆ บุคลากรทางการแพทย์ที่หยิบยื่น “การุณยฆาต” ให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ชายตัวอย่างกรณีของบุรุษพยาบาลวัย 27 9 ในสหรัฐอเมริกา ทำสถิติ “การุณยฆาต” ผู้ป่วยรวม 29 ราย เขาถูกศาลตัดสินประหารชีวิต แต่รออุทธรณ์ ซึ่งญาติผู้ตายไม่เห็นด้วยกับกระบวนการยุติธรรม ตัวเขาเองคัดค้านการตัดสินของศาล และคิดว่าตนทำหน้าที่การเป็นบรุษพยาบาลได้อย่างดีที่สุดแล้ว ขณะศาลอ่านคำพิพากษา เขาตะโกนด่าทอผู้พิพากษาตลอดเวลา จนเจ้าหน้าที่ต้องเอาแผ่นพลาสเตอร์ปิดปากเขาไว้ นายแพทย์ Jack Devorkian จากมิชิแกนทำการุณยฆาตรวม 40 ราย เขาถูกถอนใบอนุญาตวิชาชีพและถูกตัดสินว่าไม่ได้ทำผิด ในประเทศอังกฤษนายแพทย์ Harold Shipman สังหารผู้ป่วยวาระสุดท้ายรวมถึง 215 ราย 10 ญาติผู้ป่วยร้องเรียนศาลให้พิจารณาคดีเอาผิดเขาให้ถึงที่สุด เพราะลงความเห็นว่า เขาฆ่าผู้ป่วยด้วยความเคยชินมากกว่าจะเป็น “การุณยฆาต” |
การุณยฆาตตามหลักศาสนา : การเชื่อมโยงและการเห็นต่าง กระบวนทัศน์แนวพุทธ พุทธปรัชญาเน้นการสอนให้มองทุกอย่างทางโลกเป็นความจริง เพราะทุกสิ่งล้วนเป็น อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา เปลี่ยนแปลง ไม่คงทน และไม่มีตัวตนให้ติดยึด ทุกข์ สุข เป็น ของคู่กัน หมุนเวียนกันเข้ามาในชีวิต ชีวิตและความตายเชิงพุทธปรัชญาถือว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา ให้เผชิญกับความตายอย่างไม่หวั่นไหวและยอมรับสภาพ คือ การเตรียมตัวตายอย่างมีสตินั่นเอง ภาวะการตายคือ การละสังขาร สิทธิที่จะ “ถูกฆ่าให้ตาย” หรือ “สิทธิที่จะฆ่าตัวตาย” (จะด้วยมีผู้อื่นช่วยเหลือหรือไม่ก็ตาม) เป็นการละเมิดวัฒนธรรมว่าด้วยชีวิตตามกฎแห่งธรรมชาติของคนไทยหรือไม่ เพราะพุทธศาสนาให้ความสำคัญการละสังขาร คือ การตายอย่างสงบ อย่างมีสติ ดังที่ ท่านพุทธทาสได้กล่าวไว้ว่า ถ้าเราฝืนความตายในวาระสุดท้ายของชีวิตก็เสมือนว่า เรายอมรับ “ตายดี – ตายเป็น” ให้เป็น “ตายลำบาก – ตายทรมาน - ตายโหง” 11 กระบวนทัศน์แนวคริสต์ ศาสนาคริสต์ เน้นแนวคิดเรื่องชีวิต 2 ระดับ คือ ระดับดิน (กายภาพ – ชีวภาพ) และระดับลมหายใจ 12 คริสตศาสนิกชน เชื่อว่าชีวิตมิได้สิ้นสภาพเพราะสภาวะธรรมชาติ (เกิด พัฒนา ชรา ป่วยไข้ และสิ้นสุด) แต่ชีวิตมีสภาวะนิรันดร์ หมายถึงเมื่อมนุษย์สิ้นสุดสภาวะทางกายที่เป็นธรรมชาติก็จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ “จิตวิญญาน” คือการได้ใกล้ชิดกับพระเจ้า คริสตศาสนิกชนจึงฝังศพเพื่อคืนร่างสู่ดิน ในฐานะที่มาแห่งชีวิต และส่งผ่าน “จิตวิญญาน” สู่พระเจ้า ความเชื่อในจุดเปลี่ยนผ่านจากชีวิตกายสู่ชีวิตจิตวิญญาน มีพลังต่อวิธีคิดของการมองชีวิตและให้คุณค่าชีวิตต่อการดำเนินชีวิตของ มนุษย์ตามนัยแห่งคริสต์ ซึ่งถ้าเชื่อมโยงกับ การุณยฆาต ก็จะมีข้อถกเถียงว่าใครควรมีสิทธิ์จะเป็นผู้หยิบยื่นการเปลียนผ่านแห่งชีวิต (ดูรายละเอียดท้ายบทความ) กระบวนทัศน์แนวอิสลาม ความเชื่อของศาสนาอิสลามในเรื่องกำเนิดและการสิ้นสุดชีวิต กล่าวไว้ว่า ความตายตามบัญญัติศาสนาจะยังไม่เกิดขึ้นจริงจนกว่าวิญญาณจะออกจากร่างกาย และสิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือ อวัยวะต่างๆ ในร่างกายหยุดทำงาน สิ่งที่แสดงว่า ชีวิตสิ้นสุดแล้วนั้นถือตามเงื่อนไขว่า ให้ใช้เครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ ของความตายที่ผู้คนรู้จัก หรืออาศัยการตรวจภายนอกโดยคณะแพทย์ ในกรณีที่ไม่ปรากฏเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่จะใช้แยก คนเป็น ออกจาก คนตาย ได้ 13 แนวคิดที่พิจารณาอาการสมองตายมาเป็นหลักตามศาสนา มีข้อร่วมพิจารณา 2 ประการ คือ คณะแพทย์ลงความเห็นว่าก้านสมองตายทั้งหมด ให้ถือว่าเป็นคนตาย โดยมีข้อพิจารณาย่อยๆ อีก 5 เงื่อนไข 14 คือ - หมดความรู้สึกอย่างสมบูรณ์ โดยไม่อาจหายจากอาการหมดความรู้สึกนั้นได้อีกต่อไป - ประสบอุบัติเหตุ เลือดตกในสมอง สมองบวม - ไม่สามารถหายใจได้เอง ต้องอาศัยเครื่องช่วยหายใจ - หมดความรู้สึกโดยไม่ได้เกิดจากสิ่งมึนเมา ยาเสพติด ดื่มยาพิษ อาการไตวาย - ไม่มีอาการตอบสนองจากก้านสมอง รวมทั้งการวัดคลื่นสมอง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีคลื่นใดๆ และ ไม่มีการหมุนเวียนโลหิตในสมอง ด้วยการถ่ายภาพเอ็กซเรย์เส้นเลือดสมอง ดังนั้น ศาสนาอิสลามใช้เกณฑ์ที่ว่าผู้ป่วยที่สมองตายเป็นคนตายแล้วตามบัญญัติศาสนา ไม่ว่าจะยังหายใจได้โดยเครื่องช่วยหายใจ หรือเซลล์บางตัวในร่างกายยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม |
ข้อโต้แย้งในสังคมไทย สิทธิที่จะตาย คืออะไร การตื่นตัวเรื่องสิทธิการตายในสังคมไทยกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น หากนับจากความพยายามที่จะผลักดันพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ เมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่า ปัจจุบันมีกลุ่มต่างๆ เกิดขึ้นหลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มพุทธิกา ที่ประกอบด้วยสมาชิกจากหลากกลุ่มอาชีพที่สนใจการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายในมิติ กาย-จิต-สังคมมากขึ้น และเห็นว่า การแพทย์แบบประคับประคอง (palliative care) ให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเผชิญกับการเจ็บปวดทรมานน้อยที่สุดเป็นสิ่งที่การแพทย์สมัยใหม่ควรศึกษาอย่างรอบคอบ ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยสิทธิการตาย มาตรา 24 ระบุไว้ว่า “บุคคล มีสิทธิแสดงความจำนงเกี่ยวกับวิธีการรักษาพยาบาลหรือปฏิเสธการรักษาที่เป็นไปเพื่อการยืดชีวิตในวาระสุดท้ายในชีวิตของตนเอง เพื่อการตายอย่างสงบและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” โดยมีคำชี้แจงว่าเพื่อให้บุคคลมีสิทธิเลือกตายอย่างสงบ และมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ในบั้นปลายของชีวิต โดยไม่ยืดชีวิต หรือถูกแทรกแซงการตายเกินความจำเป็น และเพื่อไม่ให้เป็นภาระทุกๆ ด้าน โดยให้มีสิทธิแสดงความจำนงล่วงหน้า 15 (Living will) ในร่างพ.ร.บ. นี้ ไม่ได้กล่าวถึงการให้แพทย์มีสิทธิ์ฆ่าผู้ป่วยด้วยความสงสาร (การุณยฆาต) และไม่ได้กล่าวถึงการให้แพทย์ช่วยให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตายด้วยการจัดหาอุปกรณ์ปลิดชีพให้ผู้ป่วย มาตรา 10 ระบุว่า ‘บุคคล มีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน’ มาตรฐานในการวินิจฉัย ภาวะสมองตายของแพทยสภา 16 มีดังนี้ 1. กระทำด้วยคณะแพทย์ ไม่น้อยกว่า 3 คน คือ แพทย์เจ้าของผู้ป่วย และแพทย์สาขาประสาทวิทยา หรือแพทย์สาขาประสาทศัลยแพทย์ (ถ้ามี) 2. ต้องไม่ประกอบด้วยแพทย์ผู้ทำการปลูกถ่ายอวัยวะรายนั้น 3. ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะต้องร่วมเป็นผู้รับรองการวินิจฉัยสมองตายเป็นผู้รับรองการตาย |
การุณยฆาต : ทางเลือกเพื่อความมั่นคงของมนุษยชาติหรือไม่ ถ้าเรามองความตายเป็นเรื่องกฎธรรมชาติ เกิดหนเดียว ตายหนเดียว ก็ดูเหมือนว่า “การุณยฆาต” เป็นเรื่องเข้าใจง่ายขึ้น แต่ในทางปฏิบัติไม่ง่ายอย่างที่คิด ตราบใดที่การให้คุณค่าของสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ต่างกัน ถ้าหากเราลั่นกระสุนใส่ม้าแข่งที่พลาดท่าประสบอุบัติเหตุขาหักในการแข่งขัน มนุษย์ไม่รู้สึกผิดอะไร แต่กลับคิดว่าช่วยให้ม้าแข่งตายโดยไม่เจ็บปวดทรมาน แต่สำหรับชีวิตมนุษย์ เราพอใจที่จะมองต่างมุมว่าผู้ป่วยวาระสุดท้ายอาจมีโอกาสรอดชีวิตได้ด้วย เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ซับซ้อนและราคาสูง เรามักจะคิดว่าต้องช่วยคนที่เรารักให้ถึงที่สุด แม้ว่าการยืดชีวิตออกไปอีกช่วงระยะเวลาสั้นๆ ให้ความรู้สึกที่ดีและเป็นการได้ทำอะไรสักอย่างหนึ่งให้กับบุคคลที่เราไม่ อยากให้จากไป ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับ “การุณยฆาต” ในมิติเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น ชีวิตมนุษย์ถูกเทียบค่าเป็นตัวเงิน ถ้าเราจะต้องดูแลผู้ป่วยที่มีสภาพที่เรียกว่า “ผักถาวร” (persistent vegetative state) คือ มีชีวิตอยู่ได้ด้วยการให้อาหารและน้ำผ่านเครื่องช่วย ถ้าดึงสายเครื่องช่วยออกผู้ป่วยก็จะตาย ในแง่นี้ มีความคิดเห็นแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ เมื่อผู้ป่วยหมดหนทางรักษาให้หายจะมีประโยชน์ประการใดที่รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่มีต้นทุนสูง ในขณะที่ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากรอความช่วยเหลือ และมีโอกาสรอดชีวิตได้มากกว่า โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะเบียดแทรกเข้ามาในกระบวนการรักษาพยาบาล ถ้าด้วยเหตุผลนี้เรากำลังแลกชีวิตกับชีวิตใช่หรือไม่ หรือในอีกมุมมองหนึ่ง เรามองเห็นประโยชน์ในทางการแพทย์สมัยใหม่หรือไม่ว่า ผู้มีวิชาชีพแพทย์มีโอกาสทดลองวิธีการ เครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อให้มนุษย์มีชีวิตยืนยาวต่อไปได้ แต่เมื่อสุดความสามารถแล้ว ผู้มีวิชาชีพแพทย์ก็พร้อมที่จะเป็น “ยมฑูตชุดขาว” สิ่งที่ท้าทายเราอยู่คือการแยกแยะระหว่างวิทยาศาตร์และจริยศาตร์ เทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่โน้มน้าวให้เราต้องการยืดชีวิตผู้ป่วยเอาไว้ ด้วยวิธีการให้อาหาร ให้ลมหายใจ และรักษาระบบการหมุนเวียนของโลหิตให้ทำงาน ซึ่งผู้ป่วยอาจมีชีวิตอยู่ในสภาพที่เรียกว่า ‘จะตายก็ไม่ตาย จะเป็นก็ไม่เป็น’ 17 มีชีวิตได้อีกหลายเดือน หรือนานนับปี โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก เพียงเพื่อให้ญาติผู้ป่วยมีความรู้สึกว่าไม่ได้นิ่งดูดาย ปล่อยให้ผู้ป่วยตาย ในสภาพการณ์เช่นนี้ ชวนให้คิดได้ว่า การยืดชีวิตคนตายเอาไว้ด้วย “พันธนาการทางการแพทย์” เป็นการเสียทรัพย์ เสียเวลา เสียเตียงคนไข้ของโรงพยาบาล 18 ที่ยังมีผู้ป่วยรายอื่นๆ มีสิทธิที่จะใช้ได้หรือไม่ ถ้ามองในแง่ของความมั่นคงแห่งมนุษยชาติ เราจะแปลเจตนาตรงนี้อย่างไร จะกล่าวได้ไหมว่า คนที่ตายแล้ว (ยังอยู่ได้เพราะมีเครื่องช่วยชีวิต) ก็ต้องเป็นคนตาย และควรหยิบยื่นโอกาสและทรัพยากรให้กับผู้ที่มีโอกาสรอดชีวิตมากกว่า จะถือเป็นกระบวนการความมั่นคงของมนุษยชาติได้หรือไม่ ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ตรงจากการใกล้ชิดกับผู้ป่วย 2 ราย ที่เสียชีวิตด้วยมะเร็งต่อมลูกหมากและเอดส์ ในกรณีวาระสุดท้ายของชีวิตของผู้ป่วยเอดส์ ภรรยาเป็นผู้ขอร้องแพทย์ให้ดึงเครื่องช่วยหายใจออก เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ต้องทรมานอีกต่อไป หลังจากที่เวียนเข้าออกโรงพยาบาลอยู่หลายครั้ง รวมทั้งการดูแลรักษาอย่างดีที่บ้าน โดยมีถังอ๊อกซิเจนวางไว้ข้างเตียงผู้ป่วยตลอดเวลา เมื่อผู้เขียนมีโอกาสพูดคุยกับภรรยา ได้รับคำตอบว่า ในช่วงที่ผู้ป่วยอาการไม่ทรุดหนัก ผู้ป่วยสนใจดูแลรักษาตนเองดีมาก มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือน ในระยะหลังที่มีอาการรู้สึกตัวบ้างเป็นบางครั้ง และต้องนอนอยู่โรงพยาบาลจนสิ้นอายุนั้น ภรรยาดูแลใกล้ชิดมาก และลังเลอยู่นานที่จะบอกแพทย์ให้หยุดการรักษาด้วยเหตุผลว่า “เขาเป็นคนรักตัวเองมาก ไม่อยากตาย ดูแลตนเองดี เลือกวิธีรักษาที่ดีที่สุด ที่แพงที่สุด เท่าที่จะได้รับคำแนะนำจากคนรู้จัก เขาคงไม่อยากตายจริงๆ” กรณีที่สอง ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากมีระยะเวลารักษาตัวระยะสุดท้ายสั้นมาก ประมาณ 1 เดือน ผู้ป่วยมีสติดีมาก และกล้าเผชิญกับความตายอย่างสงบและมีสติ ในระยะก่อนสิ้นใจ ผู้ป่วยมีอาการทุรนทุรายมาก ขอผ้าชุบน้ำเช็ดตัวตลอดเวลา และบ่นว่าร้อนมาก หายใจหอบและเหนื่อย เนื่องจากมีอาการน้ำท่วมปอด ระยะสุดท้ายผู้ป่วยรู้สึกตัวบ้างในบางเวลา แต่สิ่งที่ผู้เขียนสังเกตได้ชัดเจนคือ ผู้ป่วยพยายามดึงสายยางเครื่องช่วยหายใจออกอยู่ตลอดเวลา จนญาติต้องขอร้องให้พยาบาลมัดแขนมัดมือเอาไว้กับขอบเตียง เพราะคิดว่าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่รู้สติ แต่ผู้เขียนกลับคิดว่า ผู้ป่วยคงอยากพ้นสภาพความทรมานจากการเจ็บปวด มากกว่าเหตุผลอื่นใด จากกรณีตัวอย่างผู้ป่วยสองรายนี้ สิ่งที่เราน่าพิจารณาก็คือ ชีวิตและความตายเป็นของใคร ใครเป็นผู้กำหนดว่าจะตายเมื่อไร อย่างไร ให้สมกับความเป็นมนุษย์ กรณีศึกษารายแรก รักชีวิตไม่อยากตาย ในขณะที่ผู้ป่วยรายที่สองพร้อมที่จะตายอย่างสงบและทรมานน้อยที่สุด |
บทสรุป ถ้าเราจะประมวลแนวคิดหลักว่าด้วยวาระสุดท้ายแห่งชีวิตและสิทธิการตาย รวม 3 มิติ 19 คือ มิติด้านชีวการแพทย์ ซึ่งให้ความสำคัญกับกลไกการทำงานทางกายภาพเป็นหลัก แยกความตายและร่างกายออกจากกัน มิติด้านกาย-จิต-สังคม ให้ความสำคัญด้านจิตใจ ครอบครัว ให้โอกาสผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในกระบวนการรักษาด้วย โดยมีมาตรการทางการแพทย์ให้การช่วยเหลือ เพื่อจัดการกับความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย และมิติสุดท้าย คือ มิติด้านจิตวิญญาน ให้ความสำคัญว่าชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่มีอะไรเป็นตัวตนถาวรและความตายไม่ใช่สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง เมื่อร้อยเรียงมิติการมองชีวิตและความตายดังกล่าวแล้ว สังคมไทยอาจมีแนวทางปฏิบัติเรื่องวาระสุดท้ายแห่งชีวิตและสิทธิการตายได้ตรง และสอดคล้องกับกระบวนการและหลักประกันความมั่นคงแห่งมนุษยชาติได้อย่างลงตัว ไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างวิทยาศาสตร์และจริยศาสตร์เหมือนสังคมตะวันตก คนไทยจะเตรียมตัวอย่างไรที่จะมองชีวิตและการสิ้นสุดชีวิต ให้แนบเนียนกับหลักคำสอนของพุทธศาสนา ให้พิจารณาทุกอย่างเป็นอนิจจัง การเลือกที่จะตายเมื่อเผชิญกับภาวะสุดท้ายแห่งชีวิตควรถือหลักปัจจัยเหตุ ประการใดบ้างที่ทำให้คนที่จากไปก็สงบและมีศักดิ์ศรี ในขณะที่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่รู้สึก “สูญเสีย” สิ่งที่เป็นที่รัก หรือ “สิ้นสุดภาระ“ ที่จะดูแล เพราะความรู้สึกทั้งสองประการนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และมีนัยต่อการยอมรับ “การุณยฆาต” ในสังคมไทยอย่างยิ่ง |
MORE @4 ความตายในทัศนะของผู้เชื่อพระเยซู
ความตายในทัศนะของผู้เชื่อพระเยซูคริสต์ เป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัวเกินไป เพราะอะไรหรือ
บทความเรื่องภาวะใกล้ตาย ที่ท่านได้อ่านมาทั้งหมดที่ผมรวบรวมมานี่ เขาบอกตรงกันว่า คือ คนที่ใกล้จะตาย เขามีอาการเป็นอย่างไร เขาคาดหวังอะไรให้ช่วยเขาได้ดีกว่านี้หรือ คือ
ก. ความกลัวตาย
ข. ความพลัดพลาก ความสิ้นหวัง และความไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนแน่
ค. ความสับสน ความกลัวถึงภาพแห่งอดีตที่เคยทำสิ่งเลวร้าย หรือบาป
ง. ความรู้สึกถูกทอดทิ้งเดียวดาย
ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ความตายแม้จะเป็นศัตรูตัวสุดท้ายของมนุษย์ แต่พระเยซูเจ้าได้มีชัยชนะเหนือความตายแล้ว มีพระองค์ใดที่สัญญากับผู้ศรัทธาว่าจะมารับเอาดวงวิญญาณของผู้เชื่อ แต่พระเยซูสัญญาไว้อย่างชัดเจนในพระคัมภีร์ ดังนี้
พระเยซูตรัสกับเธอว่า
“เราเป็นเหตุให้คนทั้งปวงเป็นขึ้นและมีชีวิต ผู้ที่วางใจในเรานั้น ถึงแม้ว่าเขาตายแล้วก็ยังจะมีชีวิตอีก และทุกคนที่มีชีวิตและวางใจในเราจะไม่ตายเลย เจ้าเชื่ออย่างนี้ไหม” มารธาทูลพระองค์ว่า “เชื่อพระองค์เจ้าข้า ข้าพระองค์เชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้าที่เสด็จมาในโลก”
มีข้อพระธรรมที่แสดงถึงพระสัญญามากมายที่พูดถึงการฟื้นขึ้นจากตาย ของผู้เชื่อพระเยซูที่บอกถึงการตายของพวกเขาจะไม่ใช่การสิ้นสุดของชีวิต และพวกเขาจะได้ไปดี
"เพื่อทุกคนที่วางใจในพระองค์จะได้ชีวิตนิรันดร์” เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์ "
เพราะว่าพระเจ้าทรงให้พระบุตรเข้ามาในโลก มิใช่เพื่อพิพากษาลงโทษโลก แต่เพื่อช่วยกู้โลกให้รอดโดยพระบุตรนั้น
ผู้ที่วางใจในพระบุตร (พระเยซูคริสต์) ก็ไม่ต้องถูกพิพากษาลงโทษ ส่วนผู้ที่มิได้วางใจก็ต้องถูกพิพากษาลงโทษอยู่แล้ว เพราะเขามิได้วางใจในพระนามพระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า
พระธรรมยอห์น บทที่ 3:16-18
ในหนังสือดาเนียล ที่เขียนขึ้นก่อนพระเยซูเกิดหลายร้อยปี ได้บันทึกไว้ว่า
คนตายของพระองค์จะมีชีวิต ศพของเขาทั้งหลายจะลุกขึ้น
โอ ผู้อาศัยอยู่ในผงคลี จงตื่นเถิด และร้องเพลงเพราะน้ำค้างของเจ้าเป็นน้ำค้างของความสว่าง
และแผ่นดินโลกจะให้ชาวแดนคนตายเป็นขึ้น
พระธรรมอิสยาห์ 26:19:
ขณะที่พระเยซูกำลังถูกตรึงตายที่บนไม้กางเขน พระเยซูได้ยกโทษบาปให้แก่นักโทษประหารที่ถูกตรึงข้างๆ หลักไม้กางเขนของพระองค์ ว่า
ฝ่ายพระเยซูทรงตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่เจ้าว่า วันนี้เจ้าจะอยู่กับเราในเมืองบรมสุขเกษม”
พระธรรมลูกา 23:43:
อีกตอนหนึ่งมีข้อพระธรรมบันทึกไว้ดังนี้
ถ้าพระคริสต์อยู่ในท่านทั้งหลายแล้ว ถึงแม้ว่าร่างกายของท่านจะตายไปเพราะบาป แต่วิญญาณจิตของท่านก็จะดำรงอยู่เพราะความชอบธรรม
ถ้าพระวิญญาณของพระองค์ ผู้ทรงชุบให้พระเยซูเป็นขึ้นมาจากความตาย ทรงสถิตอยู่ในท่านทั้งหลาย พระองค์ผู้ทรงชุบให้พระเยซูคริสต์เป็นขึ้นมาจากความตายแล้วนั้น จะทรงกระทำให้กายซึ่งต้องตายของท่าน เป็นขึ้นมาใหม่ โดยเดชแห่งพระวิญญาณของพระองค์ซึ่งทรงสถิตอยู่ในท่านทั้งหลาย
พระธรรมโรม 8:10-11
ตามที่มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า " เราได้ให้เจ้าเป็นบิดาของมวลประชาชาติ ต่อพระพักตร์พระองค์ที่ท่านเชื่อ คือพระเจ้าผู้ทรงให้คนที่ตายแล้วฟื้นชีวิตขึ้นมา และทรงเรียกสิ่งของที่ยังมิได้มีให้มีขึ้น"
พระธรรมโรม 4:17:
แต่ว่าในเหตุการณ์ทั้งปวงเหล่านี้ เรามีชัยเหลือล้นโดยพระองค์ผู้ได้ทรงรักเราทั้งหลาย
เพราะข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า แม้ความตาย หรือชีวิต หรือบรรดาทูตสวรรค์ หรือเทพเจ้า หรือสิ่งซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือสิ่งซึ่งจะมีในภายหน้า หรือฤทธิ์เดชทั้งหลาย
หรือซึ่งสูง หรือซึ่งลึก หรือสิ่งใดๆอื่นที่ได้ทรงสร้างแล้วนั้น จะไม่สามารถกระทำให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระเจ้า ซึ่งมีอยู่ในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้
พระธรรมโรม 8:37-39
พระธรรมยอห์น บทที่ 11 ข้อ 25-27
อุโมงค์ที่ฝังพระศพพระเยซู ว่างเปล่า
พระเยซูเจ้าไม่มีกระดูกเหลือไว้ให้ผู้เชื่อเอามากราบนมัสการ
สาวกคนสำคัญของพระเยซูได้กล่าวไว้ในหนังสือพระธรรม 1โครินธ์บทที่ 15 ดังนี้
เรื่อง(ข่าวประเสริฐการยกบาปด้วยความเชื่อในพระเยซูเจ้า) ซึ่งข้าพเจ้ารับไว้นั้น ข้าพเจ้าได้ประกาศแก่ท่านทั้งหลาย เป็นเรื่องสำคัญที่สุดคือว่าพระคริสต์ (พระเยซู) ได้ทรงวายพระชนม์ เพราะบาปของเราทั้งหลาย ตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ และทรงถูกฝังไว้ แล้ววันที่สามพระองค์ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาใหม่ ตามที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์นั้น
พระองค์ทรงปรากฏแก่เคฟาส แล้วแก่อัครทูตสิบสองคน ภายหลัง พระองค์ทรงปรากฏแก่พวกพี่น้องกว่าห้าร้อยคนในคราวเดียว ซึ่งส่วนมากยังอยู่จนถึงทุกวันนี้ แต่บางคนก็ล่วงหลับไปแล้ว ภายหลังพระองค์ทรงปรากฏแก่ยากอบ แล้วแก่อัครทูตทั้งหมด
ถ้าเราเทศนาว่าพระคริสต์ได้ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาแล้ว เหตุใดพวกท่านบางคนยังกล่าวว่า การฟื้นขึ้นมาจากตายไม่มี ถ้าการฟื้นขึ้นมาจากตายไม่มี พระคริสต์ก็หาได้ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาไม่ ถ้าพระคริสต์มิได้ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมา การเทศนาของเรานั้นก็ไม่มีหลัก ทั้งความเชื่อของท่านทั้งหลายก็ไม่มีหลักด้วย
และก็จะปรากฏว่าเราอ้างพยานเท็จในเรื่องพระเจ้า เพราะเราอ้างพยานว่าพระองค์ได้ทรงชุบพระคริสต์ให้เป็นขึ้นมา แต่ถ้าคนตายไม่ถูกทรงชุบให้เป็นขึ้นมาแล้ว พระองค์ก็ไม่ได้ทรงชุบพระคริสต์ให้เป็นขึ้นมา
เพราะว่าถ้าการชุบให้เป็นขึ้นมาไม่มี พระคริสต์ก็ไม่ได้ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมา และถ้าพระคริสต์ไม่ได้ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมา ความเชื่อของท่านก็ไร้ประโยชน์ ท่านก็ยังตกอยู่ในบาปของตน และคนทั้งหลายที่ล่วงหลับในพระคริสต์ก็พินาศไปด้วย ถ้าในชีวิตนี้ พวกเราซึ่งอยู่ในพระคริสต์มีแต่ความหวังเท่านั้น เราก็เป็นพวกที่น่าสังเวชที่สุดในบรรดาคนทั้งปวง
แต่ความจริงพระคริสต์ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว และทรงเป็นผลแรกในพวกคนทั้งหลายที่ได้ล่วงหลับไปแล้วนั้น เพราะว่าความตายได้อุบัติขึ้น เพราะมนุษย์คนหนึ่งเป็นเหตุฉันใด การเป็นขึ้นมาจากความตายก็ได้อุบัติขึ้น เพราะมนุษย์ผู้หนึ่งเป็นเหตุฉันนั้น เพราะว่าคนทั้งปวงต้องตายเกี่ยวเนื่องกับอาดัมฉันใด คนทั้งปวงก็จะกลับได้ชีวิตเกี่ยวเนื่องกับพระคริสต์ฉันนั้น
พระเยซูมีจริง และพระเยซูยังทรงพระชนม์อยู่ ผมขอรับประกัน นี่คือความจริง คนครึ่งโลกเชื่อพระเยซูแล้ว คนจำนวนมากได้ หลงไปวิงวอน กราบไหว้สิ่งเคารพ เป็นรูป เป็นสิ่งสมมุติสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยคิดว่าเป็นพระเจ้า สิ่งเหล่านั้นมีหูแต่ไม่ได้ยิน มีตาแต่มามองไม่เห็น มีขาแต่เดินไม่ได้ ถูกจำกัดด้วยสถานที่ เพราะเป็นวัตถุ
พระเยซูคริสต์ตรัสว่า
"เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิตไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้นอกจามาทางเรา"
และพระองค์กล่าวอีกว่า
"บรรดาผู้ทำงานเหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนักจงมาหาเรา เราจะให้ท่านทั้งหลายพักหายเหนื่อยเป็นสุข"
ผู้ที่ตรากตรำทำงานมาทั้งชีวิตในพระเยซูคริสต์ การตายคือการเข้าสู่การพักสงบ เป็นการเปลี่ยนสถานะอันต่ำด้อยเปลี่ยนไปสู่สภาพที่สมบูรณ์สุข นิรันดร์ เหมือนกับตัวดักแด้ผีเสื้อที่เป็นดักแด นิ่งสงบอยู่ การตายของผู้เชื่อพระเยซูก็เป็นดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่ดักแด้ออกจากเปลือกแข็ง ผู้เชื่อพระเยซูก็จะออกจากร่างกายที่หมดลมหายใจ เข้าสู่สภาพอันเป็นอมตะ ที่มีพระผู้สร้างนำเขากลับไปสู่ที่พักนัก คือบ้านอันถาวรของจิตวิญญาณมนุษย์ เพราะมนุษย์แท้ไม่ได้เป็นมนุษย์ที่เป็นเพียงเนื้อและเลือด ที่มีโครงสร้างเป็นรูปร่างด้วยโครงกระดูก แต่มนุษย์แท้คือจิตวิญญาณที่อยู่ภายในต่างหาก
ก่อนที่ผู้นำชาวยิวยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ สามพันปีก่อนคริสตกาลแก่ตัวลงมากและใกล้ตาย เขาได้กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจดังนี้
“จงดูเถิด ในวันนี้ข้าพเจ้าได้วางชีวิตและสิ่งดี ความตายและสิ่งร้ายไว้ต่อหน้าท่าน
คือ ในการที่ข้าพเจ้าได้บัญชาท่านในวันนี้ ให้รักพระยาเวห์พระเจ้าของท่าน ให้ดำเนินในพระมรรคาทั้งหลายของ พระองค์และให้รักษาพระบัญญัติ และกฎเกณฑ์และกฎหมายของพระองค์ แล้วท่านจะมีชีวิตอยู่และทวีมากขึ้น และพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน จะอำนวยพระพรแก่ท่านในแผ่นดินซึ่งท่านเข้าไปยึดครองนั้น
ถ้าใจของท่านหันเหไปและท่านมิได้เชื่อฟัง แต่ถูกลวงให้ไปนมัสการพระอื่นและปรนนิบัติพระนั้น
ข้าพเจ้า ขอประกาศแก่ท่านทั้งหลายในวันนี้ว่า ท่านทั้งหลายจะพินาศเป็นแน่ ท่านจะไม่มีชีวิตอยู่นานใน แผ่นดินซึ่งท่านกำลังจะยกข้ามแม่น้ำจอร์แดน เข้าไปยึดครองนั้น
ข้าพเจ้าขออัญเชิญสวรรค์และ โลกให้เป็นพยานต่อท่านในวันนี้ว่า ข้าพเจ้าตั้งชีวิตและความตาย พระพรและคำสาปแช่งไว้ต่อหน้าท่าน เพราะฉะนั้นท่านจงเลือกเอาข้างชีวิต เพื่อท่านและลูกหลานของท่านจะได้มีชีวิตอยู่
ด้วยมีความรักต่อพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน เชื่อฟังพระสุรเสียงของพระองค์ และติดพันอยู่กับพระองค์ กระทำเช่นนั้นจะได้ชีวิตและความยืนนาน เพื่อท่านจะได้อยู่ในแผ่นดินซึ่งพระเจ้าปฏิญาณ แก่บรรพบุรุษของท่าน คือแก่อับราฮัม แก่อิสอัค และแก่ยาโคบว่า จะประทานแก่ท่านเหล่านั้น”
พระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ บทที่ 30
ขอพระเจ้าอวยพระพร
Rice Mu
เอกสารอ้างอิง
|
Tag: www.google.com
การเตรียมตัวตาย, การฆ่าตัวตาย, วิธีการฆ่าตัวตาย, การปลิดชีพตัวเอง, ตายแล้วไปไหน, ความตายคืออะไร, การเวียนว่ายตายเกิด, การเกิดใหม่, ภาระใกล้มรณา, ภาวะใกล้ตาย, การเข้าสู่ความตาย, ตายอย่างไรให้สบายดี, ตายแบบสบายๆทำอย่างไร, การฆ่าตัวตายหมู่, วิธีการตาย, ชาติหน้ามีจริงหรือ, เกิดมาทำไม, ตายแล้วจะไปไหน, นรกมีจริงไหม, สวรรค์อยู่ที่ไหน, ใครคือเจ้าของสวรรค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น