เส้นทางการเดินทางของอัครทูตเปาโล














เส้นทางการเดินทางออกไปประกาศ และตั้งคริสตจักรของท่านเปาโล

แรงจูงใจ

แรงจูงใจ
Motive/ Motivation/

ความหมายของแรงจูงใจและการจูงใจ (Definition of motive and motivation)
แรงจูงใจ คือพลังผลักดันให้คนมีพฤติกรรม และยังกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรมนั้นด้วย คนที่มีแรงจูงใจสูง จะใช้ความพยายามในการกระทำไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละ แต่คนที่มีแรงจูงใจต่ำ จะไม่แสดงพฤติกรรม หรือไม่ก็ล้มเลิก การกระทำ ก่อนบรรลุเป้าหมาย

แรงจูงใจ (Motive) เป็นคำที่ได้ความหมายมาจากคำภาษาละตินที่ว่า movere ซึ่งหมายถึง "เคลื่อนไหว (move) " ดังนั้น คำว่าแรงจูงใจจึงมีการให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังนี้
1.แรงจูงใจ หมายถึง "บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ภายในตัวของบุคคลที่มีผลทำให้บุคคลต้องกระทำ หรือเคลื่อนไหว หรือมี พฤติกรรม ในลักษณะที่มีเป้าหมาย" กล่าวตรงๆ ก็คือ แรงจูงใจเป็นเหตุผล ของการกระทำ นั่นเอง
2. แรงจูงใจ หมายถึง "สภาวะที่อยู่ภายในตัวที่เป็นพลัง ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ไปในทิศทางที่มีเป้าหมาย ที่ได้เลือกไว้แล้ว ซึ่งมักจะเป็นเป้าหมายที่มีอยู่นภาวะสิ่งแวดล้อม"
3. จากความหมายนี้จะเห็นได้ว่า แรงจูงใจจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ
(1) เป็นกลไกที่ไปกระตุ้นพลังของร่างกายให้เกิดการกระทำ
(2) เป็นแรงบังคับให้กับพลังของร่างกายที่จะกระทำอย่างมีทิศทาง

ส่วนการจูงใจ (Motivation) เป็นเงื่อนไขของการได้รับการกระตุ้นอาจมีความหมาย ดังนี้
1. การจูงใจ หมายถึง "แรงขับเคลื่อนที่อยู่ภายในของบุคคลที่กระตุ้นให้บุคคลมีการกระทำ"
2. การ จูงใจ เป็นภาวะภายใน ของบุคคล ที่ถูกกระตุ้นให้กระทำพฤติกรรมอย่างมีทิศทางและต่อเนื่อง
3. การจูงใจเป็นภาวะในการ เพิ่มพฤติกรรม การกระทำหรือกิจกรรมของบุคคล โดยบุคคลจงใจ กระทำพฤติกรรม นั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ ต้องการ
จาก คำอธิบายและความหมายดังกล่าว จึงสรุปได้ว่า การจูงใจ เป็นกระบวนการที่บุคคลถูก กระตุ้นจากสิ่งเร้าโดยจงใจ ให้กระทำหรือดิ้นรนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง ซึ่งจะเห็นได้ว่า พฤติกรรมที่เกิดจาก การจูงใจ เป็น พฤติกรรม ที่มิใช่เป็นเพียงการตอบสนองสิ่งเร้าปกติธรรมดา แต่ ต้องเป็นพฤติกรรมที่มีความเข้มข้น มีทิศทางจริงจัง มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการไปสู่จุดใด และ พฤติกรรมที่เกิดขึ้น เป็นผลสืบเนื่องมาจาก แรงผลักดัน หรือ แรงกระตุ้น ที่เรียกว่า แรงจูงใจ ด้วย
การจูงใจเป็นกระบวนที่เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายอยู่ในสภาวะเกิดความไม่สมดุล ทำให้เกิดแรงขับ (Drive) ที่กำหนดทิศทาง เพื่อแสงพฤติกรรม และการกระทำไปสู่เป้าหมาย ที่จะตอบสนองต่อความต้องการเหล่านั้น เมื่อได้รับการตอบสนองแรงขับก็จะลดลงและเกิดความพึงพอใจ หรือสรุปได้ว่า การจูงใจก็คือกระบวนการในการนำปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นแรงจูงใจมาเป็นตัวกระตุ้นหรือผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกอย่างมี ทิศทาง ปัจจัยที่นำมากระตุ้นอาจเป็นสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ที่มาเร้า ล่อ จูงใจหรือผลักดันให้บุคคลเกิดความต้องการ

ความสำคัญของการจูงใจ
การจูง ใจมีอิทธิผลต่อผลผลิต ผลิตผลของงานจะมีคุณภาพดี มีปริมาณมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ การจูงใจในการทำงาน ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานจึงจำเป็นต้องเข้าใจว่าอะไร คือแรงจูงใจที่จะทำให้พนักงานทำงานอย่างเต็มที่ และไม่ใช่เรื่องง่ายในการจูงใจพนักงาน เพราะ พนักงานตอบสนองต่องานและวิธีทำงานขององค์กรแตกต่างกัน การจูงใจพนักงานจึงมี ความสำคัญ สามารถสรุปความสำคัญของการจูงใจในการทำงานได้ดังนี้
1. พลัง (Energy) เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการกระทำ หรือ พฤติกรรมของมนุษย์ ในการทำงานใดๆ ถ้าบุคคลมี แรงจูงใจ ในการทำงานสูง ย่อมทำให้ขยันขันแข็ง กระตือรือร้น กระทำให้สำเร็จ ซึ่งตรงกันข้ามกับ บุคคลที่ทำงานประเภท “เช้าชาม เย็นชาม” ที่ทำงานเพียงเพื่อให้ผ่านไปวันๆ

2. ความพยายาม (Persistence) ทำให้บุคคลมีความมานะ อดทน บากบั่น คิดหาวิธีการนำความรู้ความสามารถ และ ประสบการณ์ของตน มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่องานให้มากที่สุด ไม่ท้อถอยหรือละความพยายามง่ายๆ แม้งาน จะมีอุปสรรคขัดขวาง และเมื่องานได้รับผลสำเร็จ ด้วยดีก็มักคิดหา วิธีการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

3. การเปลี่ยนแปลง (Variability) รูปแบบการทำงานหรือวิธีทำงานในบางครั้ง ก่อให้เกิดการค้นพบช่องทาง ดำเนินงาน ที่ดีกว่า หรือประสบ ผลสำเร็จมากกว่า นักจิตวิทยาบางคนเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลง เป็นเครื่องหมายของ ความเจริญ ก้าวหน้า ของบุคคล แสดงให้เห็นว่า บุคคลกำลังแสวงหาการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้ชีวิต บุคคลที่มี แรงจูงใจ ในการทำงานสูง เมื่อดิ้นรน เพื่อจะบรรลุ วัตถุประสงค์ใดๆ หากไม่สำเร็จบุคคล ก็มักพยายามค้นหา สิ่งผิดพลาด และพยายามแก้ไข ให้ดีขึ้นในทุก วิถีทาง ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การทำงานจน ในที่สุดทำให้ค้นพบแนวทาง ที่เหมาะสมซึ่ง อาจจะต่างไป จากแนวเดิม

4. บุคคลที่มีแรงจูงใจในการทำงาน จะเป็นบุคคลที่มุ่งมั่นทำงานให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และการมุ่งมั่นทำงานที่ตนรับผิดชอบ ให้เจริญก้าวหน้า จัดว่าบุคคลผู้นั้นมี จรรยาบรรณในการทำงาน (work ethics) ผู้มีจรรยาบรรณในการทำงาน จะเป็นบุคคล ที่มีความรับผิดชอบ มั่นคงในหน้าที่ มีวินัยในการทำงาน ซึ่งลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ ผู้มีลักษณะ ดังกล่าวนี้ มักไม่มีเวลาเหลือพอที่จะคิดและทำในสิ่งที่ไม่ดี
ลักษณะของแรงจูงใจ
แรงจูงใจของมนุษย์มีมากมายหลายอย่าง เราถูกจูงใจให้มีการกระทำหรือพฤติกรรม หลายรูปแบบ เพื่อหาน้ำและ อาหารมาดื่มกิน สนองความต้องการทางกาย แต่ยังมีความต้องการมากกว่านั้น เช่น ต้องการความสำเร็จ ต้องการเงิน คำชมเชย อำนาจ และในฐานะที่เป็นสัตว์สังคม คนยังต้องการมีอารมณ์ผูกพันและอยู่รวมกลุ่มกับผู้อื่น แรงจูงใจ จึงเกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

แรงจูงใจภายใน (Intrinsic motives)
แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจ การมองเห็นคุณค่า ความพอใจ ความต้องการ ฯลฯ สิ่งต่างๆ ดังกล่าวมาเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวร เช่น คนงานที่เห็นคุณค่าของงาน มองว่าองค์การคือสถานที่ให้ชีวิตแก่เขาและครอบครัว เขาก็จะจงรักภักดีต่อองค์การ กระทำ การต่างๆ ให้องค์การเจริญก้าวหน้า หรือในกรณีที่บ้านเมืองประสบปัญหาเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาของเศรษฐกิจขาลง องค์การจำนวนมากอยู่ในภาวะขาดทุน ไม่มีเงินจ่ายค่าตอบแทน แต่ด้วยความผูกพัน เห็นใจกันและกัน ทั้งเจ้าของกิจการ และพนักงานต่างร่วมกันค้าขายอาหารเล็กๆ น้อยๆ ทั้งประเภทแซนวิช ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ เพียงเพื่อ ให้มีรายได้ ประทังกันไปทั้งผู้บริหารและลูกน้อง และในภาวะดังกล่าวนี้จะเห็นว่า พนักงานหลายราย ที่ไม่ทิ้งเจ้านาย ทั้งเต็มใจไปทำงานวันหยุดโดยไม่มีค่าตอบแทน ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นไปโดย เนื่องจากความรู้สึก หรือเจตคติที่ดีต่อเจ้าของกิจการ หรือด้วยความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกคนหนึ่งขององค์การ มิใช่เพราะ เกรงจะถูกไล่ออกหรือไม่มีที่ไป ก็กล่าวได้ว่า เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน

แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic motives)
แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม อาจจะเป็นการได้รับรางวัล เกียรติยศ ชื่อเสียง คำชม การได้รับการยอมรับยกย่อง ฯลฯ แรงจูงใจนี้ไม่คงทนถาวรต่อพฤติกรรม บุคคลจะ แสดงพฤติกรรม เพื่อ ตอบสนองสิ่งจูงใจดังกล่าว เฉพาะในกรณีที่ต้องการรางวัล ต้องการเกียรติ ชื่อเสียง คำชม การยกย่อง การได้รับ การยอมรับ ฯลฯ ตัวอย่างแรงจูงใจภายนอกที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม เช่น การที่คนงาน ทำงานเพียง เพื่อแลกกับ ค่าตอบแทน หรือเงินเดือน การแสดงความขยันตั้งใจทำงานเพียง เพื่อให้หัวหน้างานมองเห็นแล้ว ได้ความดีความชอบ เป็นต้น
http://www.novabizz.com/NovaAce/Motives.htm

“การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้”
แรงจูงใจ (Motivation) คือ แรงขับเคลื่อนที่อยู่ภายในตัวบุคคล ที่จะกระตุ้นให้บุคคลนั้นเกิดการกระทำ แรงขับดังกล่าวเกิดจากความต้องการพื้นฐาน (Needs) แรงผลัก/พลังกดดัน (Drives) หรือความปรารถนา (Desires) อันเนื่องมาจากสิ่งล่อใจ (Incentives) ความคาดหวัง (Expectancy) หรือการตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) ทำให้บุคคลพยายามดิ้นรนเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งแรงจูงใจอาจจะเกิดมาตามธรรมชาติหรือจากการเรียนรู้ก็ได้
นักจิตวิทยา ได้แบ่งรูปแบบของแรงจูงใจทางสังคม เอาไว้หลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้
1. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive)
2. แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliative Motive)
3. แรงจูงใจใฝ่อำนาจ (Power Motive)
4. แรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว (Aggression Motive)
5. แรงจูงใจใฝ่พึ่งพา (Dependency Motive)
พวกที่มีัแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง พวกนี้จะทะเยอทะยานสูง มุ่งหาความสำเร็จ และกลัวความล้มเหลว จะไม่ทำงานเพราะหวังรางวัล แต่ทำเพื่อจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ส่วนพวกที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์สูง พวกนี้จะโอบอ้อมอารี ต้องการการยอมรับจากกลุ่ม มีความเกรงใจสูง หลีกเลี่ยงการโต้แย้ง คล้อยตามผู้อื่น และตั้งเป้าหมายต่ำ

ทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งเป็นแนวคิดของบรรดาผู้รู้ในวงการจิตวิทยา มีมากมายหลายทฤษฏี เอาพอสังเขปก็แล้วกันนะคะ ในฐานะที่ไม่ได้เรียนจิตวิทยามาโดยตรง
1. ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslor’s Hierarchy of Needs Theory) บุคคลจะมีความต้องการที่เรียงลำดับจากระดับพื้นฐานต่ำสุด ไปยังระดับสูงสุด ดังนี้
1. ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs)
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs)
3. ความต้องการทางสังคม ได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่น (Social Needs)
4. ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง ได้รับการยกย่องในสังคม (Esteem Needs)
5. ความต้องการความสมหวังของชีวิต ได้รับความสำเร็จดังที่คาดหวังไว้ (Self-Actualization Needs)

2. ทฤษฎี ERG ของ Clayton P. Alderfer
พัฒนาต่อจากทฤษฎีของมาสโลว์ แต่ไม่จำเป็นต้องตอบสนองตามลำดับขั้น ข้ามไปข้ามมาก็ได้ หรือเกิดขึ้นพร้อมกันเลยก็ได้
1. ความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต ความต้องการทางร่างกายและความปลอดภัย (Existence Needs : E)
2. ความต้องการทางด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Relatedness Needs : R)
3. ความต้องการด้านความเจริญเติบโตก้าวหน้า ได้รับการยกย่อง (Growth Needs :G)

3. ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบอร์ก (Herzberg’s Two Factor Theory) เป็นทฤษฎีแรงจูงใจทางสังคม ในการประกอบอาชีพต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ที่สัมพันธ์กับความชอบหรือไม่ชอบในงานของแต่ละบุคคล

1. ปัจจัยจูงใจ (Motivators) : เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงเพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานปฏิบัติ สามารถสนองตอบความต้องการภายในบุคคลได้ เช่น ความสำเร็จของงาน การได้รับความยอมรับ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้า
2. ปัจจัยค้ำจุน หรือ ปัจจัยสุขอนามัย (Hygiene Factors) : เป็นปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา เป็นปัจจัยที่มาจากภายนอก เช่น เงินเดือน โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน นโยบายการบริหารงาน สภาพการทำงาน ความเป็นอยู่ส่วนตัว ความมั่นคงในงาน

4. ทฤษฎีแรงจูงใจของแมคเคิลล์แลนด์ (McClelland’s Motivation Theory) แบ่งแรงจูงใจตามความต้องการขั้นพื้นฐานของบุคคลเป็น 3 แบบ
1. ความต้องการอำนาจ (Power Need)
2. ความต้องการความผูกพัน (Affiliation Need)
3. ความต้องการความสำเร็จ (Achievement Need)

5. ทฤษฎีความเสมอภาค หรือความเท่าเทียม (Equity Theory) ของ J Stacey Adams
เป็น ทฤษฏีสำคัญในการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานในองค์กร แนวคิดหลักของทฤษฏีนี้ คือ พนักงานจะเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองกับคนอื่น เพื่อหาความเท่าเทียมกัน หรือความยุติธรรมเสมอ … ถ้าไม่ได้ จะเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทำงาน หรืออาจลาออก

6. Vroom’s Expectancy Theory (ทฤษฎีความคาดหวังของ Victor Vroom)
คน ทุกคนมีความคาดหวังต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตน การจูงใจขึ้นอยู่กับ 1) บุคคลต้องการสิ่งนั้นมากเพียงใด 2) เขาคิดว่าน่าจะได้สิ่งนั้นมากเพียงใด …
วิธีการจูงใจ จะต้องมีความเข้าใจในเป้าหมายของแต่ละบุคคล ตามองค์ประกอบดังนี้ 1. ความคาดหวัง (Expectancy) ว่าจะสามารถทำงานนั้นได้สำเร็จหรือไม่ เป็นตัวกำหนดความพยายาม 2. กลไก (Instrumentality) ความเชื่อมั่นว่าผลของการทำงาน อาจจะเป็นทางนำไปสู่รางวัลบางอย่างที่ต้องการได้ 3. คุณค่าของรางวัล (Valance) … ซึ่งไม่มีกฎตายตัว เนื่องจากพนักงานทุกคนไม่ได้มีความต้องการแบบเดียวกัน

7. Reinforcement Theory (ทฤษฎีการเสริมแรง ของ Skinner)
ผลรวมของพฤติกรรมที่ผ่านมาในอดีต เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมในอนาคต บุคคลจะแสดงพฤติกรรมเช่นใด ขึ้นอยู่กับว่า เขาได้รับผลเช่นไรในอดีต

8. ทฤษฎี X Y ของ Douglas McGregor
1. มนุษย์ X คือ คนที่มีลักษณะเกียจคร้าน หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ จำเป็นต้องบังคับให้ทำงาน ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
2. มนุษย์ Y คือ คนที่มีลักษณะขยัน มีความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมจะทำงานให้ความร่วมมือ หากได้รับการจูงใจอย่างเหมาะสม

9. Hawthrone Effect ของ Elton Mayo
(จาก การทดลองนี้ ไม่น่าเชื่อเลยว่า) ผลผลิตที่ได้จากคนงาน มีผลมาจากปัจจัยด้านสังคมจิตวิทยา เช่น ความภูมิใจที่ได้การได้รับการไว้วางใจ มากกว่าการปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้ดีขึ้นเสียอีก

อ้างอิงจาก: http://ruchareka.wordpress.com

ความคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking

ความคิดสร้างสรรค์

ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกตัวคน มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป สำหรับความหมายของความคิดสร้างสรรค์นั้นได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายทัศนะ เช่น
หน่วยศึกษานิเทศน์ กรมการฝึกหัดครู (2523) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะการคิดแบบอเนกนัยหรือความคิดหลายทิศหลายทางที่นำไปสู่กระบวนการคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมทั้งการคิดและการค้นพบวิธีการแก้ปัญหาใหม่ตลอดจนความสำเร็จในด้านการคิดค้นพบทฤษฎีต่าง ๆ อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคม
อารี รังสินันท์ (2527) ให้ความหมายความคิดสร้างสรรค์ไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดจินตนาการประยุกต์ที่สามารถนำไปสู่สิ่งประดิษฐ์คิดค้นพบใหม่ ๆทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นความคิดในลักษณะที่คนอื่นคาดไม่ถึงหรือมองข้าม เป็นความคิดหลากหลาย คิดได้กว้างไกลเน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ อาจเกิดจากการคิดผสมผสานเชื่อมโยงระหว่างความคิดใหม่ ๆที่แก้ปัญหาและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
Guilford (1959) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมอง เป็นความสามารถที่จะคิดได้หลายทิศหลายทาง หรือแบบอเนกนัยและความคิดสร้างสรรค์นี้ประกอบด้วยความคล่องในการคิด ความคิดยืดหยุ่นและความคิดที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ คนที่มีลักษณะดังกล่าวจะต้องเป็นคนกล้าคิดไม่กลัวถูกวิพากษ์วิจารณ์และมีอิสระในการคิดด้วย
Anderson (1970) ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า คือความสามารถของบุคคลในการคิดแก้ปัญหาด้วยการคิดอย่างลึกซึ้งที่นอกเหนือไปจากการคิดอย่างปกติธรรมดา เป็นลักษณะภายในตัวบุคคลที่สามารถจะคิดได้หลายแง่หลายมุมผสมผสานจนได้ผลิตผลใหม่ที่ถูกต้องสมบูรณ์กว่า
จากนิยามความหมายดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์หมายถึงความสามารถของบุคคลในการคิดหลายแง่หลายมุมที่เรียนกว่าความคิดอเนกนัย( Divergent Thinking) ซึ่งเกิดจาการเชื่อมโยงสิ่งที่ดี ความสัมพันธ์กันโดยมีสิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความคิดแปลกใหม่ที่ต่อเนื่องกันไป สามารถนำไปแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้สถานการณ์ต่าง ๆได้

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์
Davis (1983) ได้รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ของนักจิตวิทยาที่ได้กล่าวถึงทฤษฎีของความคิดสร้างสรรค์ โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆได้ 4 กลุ่ม คือ
1. ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงจิตวิเคราะห์ นักจิตวิทยาทางจิตวิเคราะห์หลายคนเช่น Freud และ Kris ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดความคิดสร้างสรรค์ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นผลมาจากความขัดแย้งภายในจิตใต้สำนึกระหว่างแรงขับทางเพศ (Libido) กับความรู้สึกผิดชอบทางสังคม (Social Conscience) ส่วน Kubie และ Rugg ซึ่งเป็นนักจิตวิเคราะห์แนวใหม่กล่าวว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นเกิดขึ้นระหว่างการรู้สติกับจิตใต้สำนึกซึ่งอยู่ในขอบเขตของจิตส่วนที่เรียกว่าจิตก่อนสำนึก
2. ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดการเรียนรู้ โดยเน้นที่ความสำคัญของการเสริมแรงการตอบสนองที่ถูกต้องกับสิ่งเร้าเฉพาะหรือสถานการณ์ นอกจากนี้ยังได้เน้นความสัมพันธ์ทางปัญญา คือการโยงความสัมพันธ์จากสิ่งเร้าหนึ่งไปยังสิ่งต่าง ๆทำให้เกิดความคิดใหม่หรือสิ่งใหม่เกิดขึ้น
3. ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงมานุษยนิยม นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีแนวคิดว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มนุษย์มีติดตัวมาแต่กำเนิด ผู้ที่สามารถนำความคิดสร้างสรรค์ออกมาใช้ได้คือผู้ที่มีสัจจการแห่งตน คือ รู้จักตนเอง พอใจตนเองและใช้ตนเองเต็มตามศักยภาพของตน มนุษย์จะสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ของตนออกมาได้อย่างเต็มที่นั้นขึ้นอยู่กับการสร้างสภาวะหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ได้กล่าวถึงบรรยากาศที่สำคัญในการสร้างสรรค์ว่าประกอบด้วยความปลอดภัยในเชิงจิตวิทยา ความมั่นคงของจิตใจ ความปราถนาที่จะเล่นกับความคิดและการเปิดกว้างที่จะรับประสบการณ์ใหม่
4. ทฤษฎี AUTA ทฤษีนี้เป็นรูปแบบของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล โดยมีแนวคิดว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบ AUTA ประกอบด้วย
4.1 การตระหนัก (Awareness) คือ ตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเอง สังคม ทั้งในปัจจุบันและอนาคตและตระหนักถึงความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตนเองด้วย
4.2 ความเข้าใจ (Understanding) คือ มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
4.3 เทคนิควิธี (Techniques) คือ การรู้เทคนิควิธีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้งที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคลและเทคนิคที่เป็นมาตรฐาน
4.4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่าง ๆ (Actualization) คือ การรู้จักหรือตระหนักในตนเอง พอใจในตนเองและพยายามใช้ตนเองอย่างเต็มศักยภาพรวมทั้งการเปิดกว้างรับประสบการณ์ต่าง ๆโดยมีการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม การตระหนักถึงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การผลิตผลงานด้วยตนเองและการมีความคิดที่ยืดหยุ่นเข้ากับทุกรูปแบบของชีวิต

จากทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าว จะเห็นว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่มีอยู่ในบุคคลทุกคน และสามารถที่จะพัฒนาให้สูงขึ้นได้โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้และการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนในบรรยากาศที่เอื้ออำนวยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์
บรรพต พรประเสริฐ; 2538 ได้จำแนกองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ว่ามีองค์ประกอบ 3 ด้านคือ
1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
2. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
3. ความคิดริเริ่ม(Originality)
ความคิดสร้างสรรค์มีลักษณะที่แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะได้แก่
ลักษณะที่ 1 เป็นกระบวนการคิดสามารถแตกความคิดเดิมไปสู่ความคิดที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกับใคร
ลักษณะที่ 2 เป็นลักษณะของบุคคลที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองเกิดความรู้สึกพอใจและเชื่อมั่นในตนเอง และ
ลักษณะที่ 3 เป็นผลงานที่เกิดจากความคิดแปลกใหม่ที่มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น โดยที่ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ได้ กับให้ผู้อื่นยอมรับว่ามีประโยชน์เป็นของแปลกใหม่ ตลอดจนสามารถวัดและประเมินผลของคุณค่าผลผลิตได้
กิลฟอร์ด (Guilford) เสนอความคิดว่า ความสามารถทางสมองซึ่งเกิดจาการปฏิบัติตามเงื่อนไขขององค์ประกอบ 3 มิติ (Three Dimensional Model) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
มิติที่ 1 ด้านเนื้อหา (Contents) หมายถึงวัตถุ/ข้อมูลต่าง ๆที่รับรู้และใช้เป็นสื่อให้เกิดความคิด มีอยู่ 5 ชนิด คือ เนื้อหาที่เป็นรูปภาพ (Figural contents) เนื้อหาที่เป็นเสียง (Auditory contents) เนื้อหาที่เป็นสัญลักษณ์ (Symbolic Contents) เนื้อหาที่เป็นภาษา (Semantic Contents) และเนื้อหาที่เป็นพฤติกรรม (Behavior Contents)
มิติที่ 2 ด้านปฏิบัติการ (Operation)หมายถึงวิธีการ/กระบวนการคิดต่าง ๆที่สร้างขึ้นมา ประกอบด้วยความสามารถ 5 ชนิด คือ การรับรู้และการเข้าใจ(Cognition) การจำ (Memory) การคิดแบบอเนกมัย(Divergent thinking) และการประเมินค่า(Evaluation)
มิติที่ 3 ด้านผลผลิต (Products) หมายถึงความสามารถที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานมิติด้านเนื้อหาและด้านปฏิบัติการเข้าด้วยกัน เป็นผลผลิตที่เกิดจากการรับรู้ วัตถุ/ข้อมูล แล้วเกิดวิธีการคิด/กระบวนการคิด ซึ่งทำให้เกิดผลของการผสมผสานในรูปแบบ 6 ชนิด คือ หน่วย (Units) จำพวก (classes) ความสัมพันธ์ (Relations) ระบบ (System) การแปลงรูป (Transformation) และการประยุกต์ (Implication)

การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
เทตนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์นั้น ครูควรที่จะนำเทคนิควิธีการต่าง ๆมากระตุ้นให้เกิดนิสัยและเจตคติในทางสร้างสรรค์แก่ผู้เรียน ด้วยการหาแนวทางที่จะส่งเสริมความคิดให้แก่ผู้เรียนได้
Davis (1983) ได้รวบรวมแนวความคิดของนักจิตวิทยาและนักการศึกษาที่กล่าวถึงเทคนิคในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นมาตรฐาน เพื่อใช้ในการฝึกฝนบุคคลทั่วไปให้ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้น เทคนิคเหล่านี้ได้แก่
1. การระดมพลังสมอง (Brainstorming) โดย Alex Csborn เป็นผู้ทีคิดเทคนิคนี้ขึ้น โดยหลักการสำคัญของการระดมพลังสมองคือ การให้โอกาสคิดอย่างอิสระที่สุดโดยเลื่อนการประเมินความคิดออกไปไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในระหว่างที่มีการคิดการวิจารณ์หรือการประเมินผลใด ๆก็ตามที่เกิดขึ้นระหว่างการคิด จะเป็นสิ่งขัดขวางความคิดสร้างสรรค์ จุดประสงค์ของการระดมพลังสมองก็เพื่อจะนำไปสู่การที่สามารถแก้ปัญหาได้
2. Attribute Listing ผู้สร้างเทคนิคนี้คือ Robert Crawford เทคนิคนี้มีลักษณะเป็นการสร้างแนวคิดใหม่โดยอาศัยแนวคิดเดิม วิธีการใช้แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
1.1 Attribute modifying คือการปรับเปลี่ยนลักษณะบางประการของแนวคิดหรือผลงานเดิม เช่น ในการตกแต่งห้องทำงานอาจกระทำโดยแยกแยะองค์ประกอบของห้องนั้นออกเป็นส่วน ๆเช่น สี พื้น ผนังห้อง แล้วปรับเปลี่ยนแต่ละส่วนเมื่อนำมารวมกันก็จะได้รูปแบบของห้องในแนวใหม่เกิดขึ้นมากมาย
1.2 Attribute transferring คือการถ่ายโยงลักษณะบางประการจากสถานการณ์หนึ่งมาใช้กับอีกสถานการณ์หนึ่ง เช่น การถ่ายโยงลักษณะงาน คาร์นิวัลมาใช้เป็นแนวคิดในการจัดงานปีใหม่ของโรงเรียน เป็นต้น
3. Morphological Synthesis เป็นเทคนิคที่ใช้ในการสร้างความคิดสร้างความคิดใหม่ ๆ โดยวิธีแยกแยะองค์ประกอบของความคิดหรือปัญหาให้องค์ประกอบหนึ่งอยู่บนแกนตั้งของตารางซึ่งเรียกว่าตาราง Matrix และอีกองค์ประกอบหนึ่งอยู่บนแกนนอน เมื่อองค์ประกอบบนแกนตั้งมาสัมพันธ์กับองค์ประกอบบนแกนนอนในช่วงตารางก็จะเกิดความคิดใหม่ขึ้น
4. Idea Checklist เป็นเทคนิคที่ใช้ในการค้นหาความคิดหรือแนวทางในการแก้ปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยรายการตรวจสอบความคิดที่มีผู้ทำไว้แล้ว
5. Synectics Methods คิดค้นขึ้นโดย William J.J.Cordon โดยการสร้างความคุ้นเคยที่แปลกใหม่และความแปลกใหม่ที่เป็นที่คุ้นเคยจากนั้นจึงสรุปเป็นแนวคิดใหม่กระบวนการของการคิดเป็น Cordon นี้มี 4 ประการ คือ
5.1 การสร้างจินตนาการขึ้นในจิตใจของเราหรือการพิจารณาความคิดใหม่
5.2 การประยุกต์เอาความรู้ในสาขาวิชาหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาแก่ปัญหา ที่เกิดขึ้น
5.3 การประยุกต์ใช้การเปรียบเทียบหรืออุปมาในการแก้ปัญหา
5.4 การประยุกต์เอาความคิดใด ๆก็ตามที่เกิดจากจินตนาการมาใช้ แก้ปัญหา
จากแนวคิดเกี่ยวกับการนำเทคนิคการสอนเพื่อช่วยให้เกิดพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชี้ให้เห็นว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถสอนกันได้ แต่อย่างไรก็ตามความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีภาวะที่เป็นอิสระสำหรับการคิด ดังที่ Rogers (1970) กล่าวว่า ภาวะที่ส่งเสริมให้บุคคลกล้าคิดอย่างสร้างสรรค์ ได้แก่ ภาวะที่บุคคลรู้สึกว่าตนเองมีความปลอดภัยทางจิต มีค่าได้รับการยอมรับรวมทั้งภาวะที่มีเสรีภาพในการแสดงออกโดยไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือถูกประเมิน

พัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์
ลักษณะพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กจะมีแบบแผนที่แตกต่างกันไปจากพัฒนาการด้านต่าง ๆซึ่งสามารถพัฒนาได้มากกว่าวัยผู้ใหญ่ และจากแนวคิดที่ว่าความคิดสร้างสรรค์ส่งเสริมให้พัฒนาได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาถึงพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กให้เจริญต่อเนื่องถึงวัยผู้ใหญ่ต่อไป Torrance (1962) ได้สรุปลักษณะพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์จาการศึกษาของ Ligon ไว้ดังนี้

เด็กวัยทารก – วัยก่อนเรียน (อายุ 0 – 6 ปี)
ในช่วงอายุ 0 – 2 ปี เด็กเริ่มพัฒนาการจินตนาการ ในช่วงขวบแรกเด็กต้องการรู้เรื่องต่าง ๆพยายามเลียนแบบเสียงและจังหวะ เมื่ออายุ 2 ขวบเด็กต้องการให้มีอะไรพิเศษเกิดขึ้น เด็กกระตือรือร้นที่จะได้สัมผัส ชิม และดูทุกสิ่งทุกอย่าง เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น แต่วิธีการแสดงออกนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน
อายุ 2 – 4 ปี เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับโลกโดยประสบการณ์ตรงและกระทำสิ่งนั้นซ้ำ ๆโดยการเล่นที่ใช้จินตนาการ เด็กตื่นตัวกับสิ่งแปลกใหม่ตามธรรมชาติ ช่วงความสนใจของเด็กจะสั้น โดยเปลี่ยนจากการเล่นอย่างหนึ่งไปอีกอย่างหนึ่งเสมอ เด็กเริ่มพัฒนาความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง เด็กวัยนี้มักทำในสิ่งที่เกินความสามารถของตนเอง ทำให้เกิดความรู้สึกโกรธและคับข้องใจ
อายุ 4 – 6 ปี เด็กเริ่มสนุกสนานกับการวางแผน การเล่น การทำงาน เด็กเรียนรู้บทบาทของผู้ใหญ่โดยการเล่นสมมุติ มีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งที่เป็นจริงและถูกต้อง เด็กสามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่าง ๆแม้ว่าจะไม่เข้าใจเหตุผลนักเด็กทดลองเล่นบทบาทต่าง ๆโดยใช้จินตนาการของ
เด็กเอง ลักษณะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กวัยนี้ค่อนข้างจะเป็นธรรมชาติที่ปรากฏชัด

เด็กวัยเรียน (อายุระหว่าง 6 – 12 ปี)
อายุ 6 – 8 ปี จินตนาการสร้างสรรค์ของเด็กเปลี่ยนไปสู่ความเป็นจริงมากขึ้น เขาพยายามที่จะบรรยายออกมาแม้ในขณะที่เขาเล่น เด็กวัยนี้รักการเรียนรู้มากดังนั้นการจัดประสบการณ์ที่ท้าทายและสนุกสนานให้เด็กวัยนี้ย่อมพัฒนาความอยากรู้อยากเห็นให้แก่เด็ก
อายุ 8 – 10 ปี เด็กใช้ทักษะหลายด้านในการสร้างสรรค์และสามารถค้นพบวิธีที่จะใช้ความสามารถเฉพาะตัวของเขาสร้างสรรค์ เด็กมักจะเปรียบเทียบตนเองกับคนที่น่ายกย่องซึ่งสามารถเอาชนะอุปสรรคได้ความสามารถในการถามและความอยากรู้อยากเห็นของเด็กเพิ่มยิ่งขึ้น
อายุ 10 – 12 ปี เด็กชอบการสำรวจค้นคว้า เด็กผู้หญิงชอบอ่านหนังสือและเล่นสมมุติ เด็กชายชอบเรียนจากประสบการณ์ตรง ช่วงเวลาของความสนใจจะนานขึ้นความสามารถทางศิลปะและดนตรีจะพัฒนาได้เร็ว เด็กจะชอบทดลองทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อประสบการณ์แต่มักขาดความมั่นใจในผลงานของตนเอง
เด็กวัยนี้จะมีความคิดสร้างสรรค์บางช่วง ซึ่งอาจเป็นผลจากการเข้าสู่ระบบโรงเรียน
เด็กต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดขาดโอกาสแสดงความคิดเห็น (Torrance,1968)

การวิเคราะห์การบริหารงานของคริสตจักรไทย

การวิเคราะห์การบริหารงานตามโครงสร้างของคริสตจักรในประเทศไทย
บทนำ

คริสต์ศาสนาที่เผยแพร่ในไทยเป็นครั้งแรกตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ประมาณ พ.ศ. 2127 (ค.ศ. 1584) โดยนิกายแรกที่เข้ามาเผยแพร่คือนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งมีทั้งคณะโดมินิกัน (Dominican) คณะฟรังซิสกัน (Franciscan) และคณะเยซูอิต (Jesuit) บาทหลวงส่วนมากมาจากโปรตุเกส
สมัยพระเทพราชา มิชชั่นนารีชาวต่างประเทศ ถูกห้ามไม่ให้มีการเผยแพร่ศาสนา และถูกกีดกันต่างๆ นานา เมื่อสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว คริสต์ศาสนาไม่ได้รับความสะดวกในการเผยแพร่ศาสนาอีกเลยเนื่องจากถูกจำกัดขอบเขต ถูกคำสั่งของทางการห้ามประกาศเผยแพร่คำสอนของศาสนาคริสต์ มีการห้ามเขียนหนังสือศาสนาเป็นภาษาไทย และภาษาบาลี
เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์จักรีแล้ว ชาวคริสต์เริ่มอพยพเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเปิดเสรีการนับถือศาสนา และทรงประกาศพระราชกฤษฎีกา ให้ทุกคนมีสิทธิในการนับถือศาสนาใดก็ได้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าสัมพันธภาพระหว่างไทยกับฝรั่งเศสไม่ดีนัก แต่พระองค์ก็ทรงรับรองมิสซังโรมันคาทอลิกเป็นนิติบุคคล ค.ศ.1868 มีศูนย์มิชชันของมิชชันนารีคณะเพรสไบ ทีเรียนอเมริกันสองแห่ง คือ "มิชชันสยาม" ที่กรุงเทพฯกับ "มิชชันลาว" ที่เชียงใหม่ ในปีค.ศ. 1885 มีการจัดตั้งเพรสไบเทอรี่ลาวเพื่อดำเนินพันธกิจของคริสตจักรใน ภาคเหนือ (ล้านนา) โดยตรงและทำพันธกิจคริสตจักรอย่างเป็นอิสระในเขตมิชชัน ของตน คริสตจักรในประเทศไทยมีรากฐานทางประวัติศาสตร์ย้อนไปถึงการเข้ามาเผย แพร่ คริสต์ศาสนาของ มิชชันนารีโปรเตสแตนท์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1828 โดยศาสนาจารย์จาคอบ ทอมลิน และนายแพทย์คาร์ล กุต สลาฟ สังกัดสมาคมมิชชันนารีแห่ง ลอนดอน คริสตจักรในประเทศไทย เป็นกลุ่มคริสตศาสนิกชนของคนไทย อยู่ในนิกายโปรเตสแต้นท์ ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นคริสตจักรในสยาม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ (ค.ศ.๑๙๓๔) คริสตจักรในประเทศไทย ได้เข้ามาประกาศเผยแผ่คริสต์ศาสนาในประเทศไทย ตั้งแต่ปี ค.ศ.1840
ลักษณะงานของคริสตจักรไทย แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังต่อไปนี้
1.งานด้านการประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณ
ดำเนินการประกาศเผยแพร่ข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ โดยการอบรม สั่งสอนตามหลักข้อเชื่อแห่งคริสต์ศาสนา ให้รับบัพติศมาเป็นคริสเตียน ต่อมาคณะต่างๆ ได้รวมตัวกันตั้งเป็นคริสตจักรเรียกชื่อต่างๆ กันไป
2.งานด้านการแพทย์ ปัจจุบันมีโรงพยาบาลของมิชชั่นนารีที่มอบให้คริสตจักรไทยดำเนินการ

3. งานด้านการศึกษามิชชั่นนารีได้เปิดโรงเรียนแบบตะวันตก เพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนทั้งชายและหญิง ในจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย
การวิเคราะห์ด้านการบริหารคริสตจักร
คริสตจักรจะสามารถดำเนินงานอย่างเกิดผลและเจริญรุ่งเรือง เป็นสถานที่แห่งการได้พักใจ ได้ฟื้นฟูจิตวิญญาณย่อมต้องเกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เชื่อที่มีความตั้งใจจริง มีความรู้ความสามารถ การที่คริสตจักรไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งในด้านการบริหารอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ คือ

ประการที่ 1 การขาดบุคลากรที่มีความสามารถในการนำคริสตจักรให้ก้าวไปตามจุดประสงค์

การทำงานปรนนิบัติในคริสตจักรมีหลากหลายหน้าที่แต่ผู้ที่ได้รับผลตอบแทนเป็นค่าตอบแทนอย่างชัดเจนคือ ศิษยาภิบาล คนอื่นๆ ไม่ได้รับ ทำให้หลายคนปฎิเสธการรับใช้ในงานต่างๆ อย่างเต็มใจ และยาวนาน เพราะความเหนื่อยล้า และไม่เห็นมีพระพรอะไรอันเนื่องมาจากการรับใช้ เมื่อทำงานไปสักระยะหนึ่งเกิดความไม่เต็มใจ เพราะเป็นกฎแห่งการถวายเครื่องบูชาที่ว่า การถวายที่จะได้รับพรนั้นต้องเป็นการถวายด้วยความเต็มใจ (1 โครินธ์ 9.7) ”ทุกคนจงให้ตามที่เขาได้คิดหมายไว้ในใจ มิใช่ให้ด้วยนึกเสียดาย มิใช่ให้ด้วยการฝืนใจ เพราะว่าพระเจ้าทรงรักคนนั้นที่ให้ด้วยใจยินดี” การเกิดการสะสมภาระงานทำให้รู้สึกว่างานที่ทำอยู่นั้นเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ เหมือนเด็กนักเรียนที่สะพายเป้ลูกเสือเดินทางไกล หลังจากที่ครูได้สอนเกี่ยวกับการเตรียมตัวไปเดินทางไกลและแรมคืนเรียบร้อยแล้วเด็กบางคนเกรงว่าตัวเองจะมีอุปกรณ์และสัมภาระต่างๆ ไม่เพียงพอต่อความสะดวกสบายของตนจึงขนสิ่งของต่างๆ เท่าที่ตัวเองจะสามารถแบกขนไปได้ เมื่อลองยกดูก็คิดว่าพอจะแบกไปไหวเพราะไม่ค่อยหนักเท่าไหร่เพราะมีแต่ของเล็กๆ น้อย เช่น ซองบะหมี่ เครื่องปรุงรส เครื่องฟังเอ็มพีสาม หมอน บางคนยังเอาชุดนอนไปด้วย และอุปกรณ์อื่นๆ ต่อเมื่อลูกเสือคนนี้
เดินไปได้สักระยะหนึ่งภาระต่างๆ ที่อยู่ในถุงเป้ที่แบกไว้บนหลังมันเริ่มส่งอาการคล้ายๆ กับว่าสิ่งต่างๆ นั้นมันมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ยิ่งเดินไปยิ่งไกลเท่าใด ภาระต่างๆ ในเป้ลูกเสือก็ยิ่งมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้นจนลูกเสือตัวเล็กๆ ที่ด้อยประสบการณ์ไม่สามารถแบกเดินต่อไปไหว
เขามีทางเลือกอยู่ไม่มากนัก คือ 1 เอาฝากเพื่อนคนอื่นให้ช่วยแบกไป อย่างที่ 2 เอาของบางอย่างทิ้งไว้ข้างทางหรือเอาแจกให้ชาวบ้าน หรือทางเลือกที่ 3 เอาของมอบให้คุณครูใจดีสักคนหนึ่งช่วยขนไปให้แทน แต่การเอาของมอบให้คนอื่นย่อมหมายถึง คะแนนในการทำกิจกรรมก็ต้องถูกตัดไปด้วย อุทาหรณ์เรื่องนี้คงเป็นสิ่งที่จะสามารถอธิบายได้ดีว่างานง่ายๆ บางอย่างถ้าปล่อยให้คนที่ขาดประสบการณ์และทักษะในสิ่งที่เขากำลังปฏิบัติหรือเรียนรู้ อาจทำให้เขาต้องเอาภาระบางอย่างทิ้งไป ผิดกันเพียงอย่างเดียวคือภาระที่คนงานของพระเจ้าเอาทิ้งไว้ข้างทาง หรือโยนให้ผู้อื่นนั้นมันไม่เป็นเหมือนภาระที่คริสตจักรแบ่งให้
คริสเตียนที่เริ่มจะเติบโตบางคนในคริสตจักรทำ
คริสตจักรท้องถิ่นห่างไกลหลายแห่งมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าผู้บริหารระดับสูง ของคริสตจักรไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคหรือองค์กรบริหารสูงสุด เมื่อรับทราบปัญหาหรือสภาพอันเหนื่อยล้า ท้อถอยของคริสตจักรแล้ว ไม่สามารถเข้ามาดูแลสารทุกข์ สุกดิบของคริสตจักรท้องถิ่นได้อย่างทันท่วงทีเท่าที่ควร การทำงานต่างๆ สมาชิกต้องดิ้นรนเองเป็นส่วนใหญ่
ทั้งการนมัสการ การเยี่ยมเยียน การสร้างกลุ่มสัมพันธ์ต่างๆ การอบรมสั่งสอน การบริการสังคม และที่ไม่ได้ทำเลยหรือทำกันปีละครั้งในเทศกาลคริสต์มาส คือการประกาศข่าวดี
การทำพันธกิจของคริสตจักรหลายแห่งเป็นไปแบบการลองผิดลองถูก ผู้ปกครองที่มีความรู้ทางโลกดีและมีฐานะทางเศรษฐกิจดีได้รับเชิญให้มาเป็นคณะกรรมการในรูปของคณะธรรมกิจ แต่ไม่สามารถใช้ความสามารถทางโลกจัดการหรือสนับสนุน “ฝ่ายจิตวิญญาณ”
ได้ดีนัก งานหลายๆอย่างที่ศิษยาภิบาลพยายามจะริเริ่มถูกยับยั้งหรือ ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณเนื่องจากผู้ปกครองที่มีอำนาจในการตัดสินใจไม่ให้ความร่วมมือ อ้างว่าสิ้นเปลื้องงบประมาณ และบางครั้งก็วัดผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ แบบกำไรขาดทุน

ประการที่ 2 คริสตจักรอยู่ภายใต้อิทธิพล

คริสตจักรท้องถิ่นขาดทักษะในการบริหารงาน ขาดการสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรที่รับใช้ประจำคริสตจักร การบำรุงรักษาบุคลากร การพัฒนาศักยภาพของผู้รับใช้ หรือผู้ปกครองประจำการให้สามารถรับใช้ได้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้คริสตจักรกลายเป็นกองทัพที่มีแต่ทหารพิการ มีแม่ทัพที่มุ่งแสวงหาการค้ากำไรและสร้างอิทธิพลเพื่อครอบครองคริสตจักรให้อยู่ในอาณัติ ผู้ปกครองรุ่นพ่อส่งต่อการอำนาจการปกครองคริสตจักรให้แก่คนในตระกูลจากรุ่นสู่รุ่น
คริสตจักรของพระเยซูคริสต์ต้องตกไปเป็นของตระกูลบางตระกูลที่เป็นเวลาปีแล้วปีเล่า ผู้ปกครองเหล่านี้ต่อมากลายเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจที่สำคัญของคริสตจักรโดยที่พวกเขาก็ไม่รู้ตัวเอง
คริสตจักรหลายๆ แห่งเกิดขึ้นจากการที่ชาวบ้านธรรมดาบางคนกลับใจเข้ามาเชื่อ
พระเจ้าทั้งครอบครัว เมื่อผู้เชื่อเกิดมีลูกมีหลานมากขึ้นจนพวกเขากลายเป็นตระกูลใหญ่
กลายเป็นเสียงส่วนใหญ่ในคริสตจักร คนอื่นๆ ที่กลับใจมาเชื่อและเข้ามาเป็นสมาชิกของคริสตจักรภายหลังหรือเข้ามานมัสการกับคริสตจักรกลายเป็นเพียงปัจเจกบุคคล หรือเป็น “ไม้ประดับ” หรือ “ผู้เข้าร่วม” หรือ “ผู้สังเกตการณ์” เมื่อคริสตจักรมีอายุเพิ่มมากขึ้นกลุ่มผู้ปกครองจากรุ่นหนึ่งส่งต่อพันธกิจของคริสตจักรสู่รุ่นที่สอง ความเชื่อในพระเจ้าเริ่มเสื่อมถอยเพราะ “เนื้อหนัง” และ “การหลงกลอุบาย” ของซาตาน การตัดสินใจต่างๆ ของคริสตจักร เป็นไปตาม “อำเภอใจ” ของกลุ่มผู้ปกครองที่ “ไม่บังเกิดใหม่” แต่มีตำแหน่ง
มีหน้าที่ มีอำนาจ มีอิทธิพล ทำให้พันธกิจของพระเจ้าเป็นเพียง การทำงานเอาหน้า
มักมีคำกล่าวที่ได้ยินบ่อย ๆ ได้แก่ “เดี๋ยวคริสตจักรอื่นเขามาเห็นอายเขา” หรือกลายเป็นเพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องในตระกูล เช่น เมื่อมีการจัดซื้อจัดจ้าง หรือการก่อสร้างอะไรก็ให้ญาติๆ เข้ามาประมูล เข้ามาจัดการ การก่อสร้างต่างๆ อาจมีผลประโยชน์ของตระกูลเข้ามาทับซ้อน จนทำให้พี่น้องหลายๆ คน หลายครอบครัวเกิดความเหนื่อยใจ และท้อถอย และหลายๆ ครอบครัวก็ท้อถอยออกไปจากความเชื่อด้วยเหตุผลว่า “นี่หรือคริสเตียน” ………
การแก้ปัญหานี้คงต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์ และผู้คงความรู้ในเรื่องการบริหารงานคริสตจักรที่พยายามแก้ปัญหาเหล่านี้มาเป็นเวลานานหลายสิบปี แต่ปัญหาก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป และนับวันยังไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาเบาบางลงไปได้เลย

ประการที่ 3 การปกป้องคำสอนของคณะเป็นการป้องกันหรือการกีดกันทางความเชื่อ

คริสตจักรในประเทศไทยหลายแห่งปกป้องคำสอนของตนเองมากเกินไป จนกลายเป็นการปิดประตูรับความคิดหรือได้รับเปิดเผยใหม่ๆ
คริสตจักรได้รับข่าวประเสริฐจากผู้ประกาศที่มาจากหลายๆ แหล่ง บางคณะก็สอนไปอย่างหนึ่งที่แตกต่างไปจากแนวปฏิบัติของคริสตจักร โดยอ้างเอาพระธรรมบางตอนมาเป็นพื้นฐานอ้างอิงในการสอน (Faith and practice advocacy) บางคณะสอนให้มีพิธีกรรม และวิธีปฏิบัติต่างๆ ที่ศาสนาจารย์หลายๆ ท่านผู้ซึ่งผ่านโรงเรียนพระคริสต์ธรรมและได้เรียนรู้ศาสนศาสตร์อย่างลึกซึ้งรับไม่ได้ บางครั้งคริสตจักรได้รับคำสอนผิด และต้องเผชิญกับผลแห่งคำสอนผิดที่ส่งผลกระทบรุนแรงมากจนทำให้คริสตจักรเกิดการแตกแยกเนื่องจากมีทั้งผู้รับคำสอนและผู้ไม่รับสอนใหม่ พี่น้องคริสเตียนหลายคนเดินหลงทางออกไปจากคณะคริสตจักรไทย บางคนยิ่งแย่ไปกว่านี้อีกคือถึงกับเดินหลงทางออกไปจากทางของพระเจ้า หรือออกจากการเป็นคริสเตียน และไม่นับถือศาสนาใดๆ พวกเขาไม่อยากจะสุงสิงกับใคร ไม่อยากถวายทรัพย์เพราะ ไม่อยากจะส่งเสริมคริสตจักรที่ไม่มีศิษยาภิบาล พวกเขาคิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินมากนักเนื่องจากไม่มีความจำเป็นในการใช้จ่ายค่าเลี้ยงดูศิษยาภิบาล คริสเตียนประเภทนี้ไม่ไปโบสถ์ ไม่ไปวัด แต่อยู่กับตัวเอง ตีไก่ ดูหนัง กินเหล้า เพลินเพลิดไป ปีหนึ่งไปโบสถ์ สองวัน คือ วันคริสต์มาส
และวันอิสเตอร์ ถ้าไปมากกว่านี้ก็จะเป็นวันที่ไปร่วมพิธีศพของผู้ปกครองบางคนที่โบสถ์
การรับคำสอนใหม่ไม่ใช่มีเพียงผลกระทบในทางลบต่อคริสตจักรเท่านั้น แต่บางกรณีกลับเป็นสิ่งดีกับคริสตจักรเนื่องจากเป็นการช่วยให้คริสตจักรเกิดการฟื้นฟูจิตใจ ได้รับการเปลี่ยนแปลงแนวคิด วิธีปฏิบัติใหม่ และคริสตจักรมีการปรับตัว ปรับพิธีกรรม ปรับวิธีการประกาศ วิธีการเทศนา พิธีการนมัสการ ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมนมัสการได้รับประสบการณ์ใหม่ เกิดของประทานในคริสตจักร บางคนได้สัมผัสกับฤทธิอำนาจของพระเจ้าในรูปแบบต่างๆ
อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น คณะผู้ปกครองของคริสตจักรไทยจึงมาปรึกษากัน และได้ลงความเห็นด้วยความเป็นห่วงคริสตจักรที่อ่อนแอจำนวนมากเหล่านี้ จึงได้ให้คำแนะนำที่รู้กันโดยให้คริสตจักรปกป้องคำสอนต่างๆ ที่เข้ามากับคณะผู้เยี่ยมเยือนต่างๆ โดยการปกป้องที่ได้ผลดีจนเกินความพอดีคือ “ปิดโอกาสไม่ให้ได้รับรู้” ไม่เปิดโอกาสให้ผู้อยู่นอกค่าย มาทำการฟื้นฟู หรือ หนุนใจใดๆ เพื่อปิดโอกาสในการได้รับสัมผัสกับประสบการณ์ หรือปรากฏการณ์ทางวิญญาณ หรือ ของประทานแห่งหนังสือ
กิจการ หรือแนวคิดถุงหนังน้ำองุ่นใหม่ หรือการปฏิบัติใหม่ๆ ใดๆ เพราะเกรงว่าของเก่าจะเสีย เกรงว่าน้ำในอ่างจะกลายเป็นน้ำขุ่น ด้วยความเป็นห่วงอาณาจักรของตนจะเกิดความเสี่ยง เกิดเหตุการณ์คำสอนผิดหรือเหตุการณ์ความแตกแยกเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อนอาจกลับหวนคืนมา ดังนั้นผู้ปกครองโดยความเห็นชอบของ “คณะกรรมการ” ที่อาจเรียกชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละระดับ จึงได้ประกาศการปกป้องคริสตจักรอย่างเข้มงวด หลายคริสตจักรจึงไม่กล้าพอที่จะรับกระแสใดๆ ไม่ยอมรับการเปิดเผยใหม่ๆ ศิษยาภิบาลหนุ่มๆ รุ่นใหม่หลายคนได้รับเชื้อไฟแห่งการเปลี่ยนแปลง มีใจร้อนรนอย่างมาก ต้องการเห็นการฟื้นฟูที่แท้จริงเหมือนในหนังสือกิจการ (Acts 28:23) ที่คนมากมายวิ่งมาหาอัครสาวกด้วยความสงสัย และแสวงหาพระเจ้า ศิษยาภิบาลรุ่นใหม่ไฟแรงอยากเห็นคริสตจักรที่ถูกปกครองด้วยผู้ปกครองที่เข้มแข็งในการบริหารงานแต่อ่อนแอด้านจิตวิญญาณได้รับการกระทบ(Impact) ด้วยคำสอนที่เขาเชื่อว่าทรงอานุภาพ ที่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่คริสตจักรที่เย็นชา จืดชืด และมีนิมิตที่พล่ามัว ให้กลับมีความหวังขึ้นมาบ้าง แต่ศิษยาภิบาลหลายคน หลังจากที่ได้นอนคิดทบทวนหลายตลบ สุดท้ายไม่กล้าพอที่จะทำเพราะกลัวคำว่า
“ตกงาน”

ประการที่ 4 การขาดการวิเคราะห์ตนเอง ไม่ปรับยุทธวิธีการในบริหารงาน

คริสตจักรจำนวนมากกำลังค่อยๆ ตายลงอย่างช้าๆ สมาชิกเก่าๆ เริ่มแก่ตัวลงเพราะมีอายุมากขึ้นๆ จนไม่สามารถเป็นคนเดินนำหน้าในการพัฒนาด้านวัตถุของคริสตจักรได้อีกต่อไป พวกเขากำลังเห็นว่าคริสตจักรของตนเองกำลังเหงา และสงสัยว่าเด็กที่กำลังโตเป็นวัยรุ่นที่เกิดในคริสตจักรหายไปไหน ทั้งที่ตอนเป็นอนุบาลก็ยังมาเรียนรวีวารศึกษาทุกอาทิตย์ เมื่อผู้ชราทั้งหลายนั่งคุยกันจะพูดปลอบประโลมใจกันด้วยถ้อยคำที่ฟังแล้วน่าสลดใจ...
“ เด็กๆ ไม่มาโบสถ์เพราะพวกเขาต้องเรียนพิเศษวันอาทิตย์”
“พ่อแม่คาดหวังกับลูกๆ ของพวกเขามาก เพราะสังคมปัจจุบันการแข่งขันด้านการศึกษามันสูงมากจนหลายครอบครัวไม่กล้าที่เสี่ยงพาลูกมาโบสถ์วันอาทิตย์” พ่อแม่หลายคนต้องไปนั่งเฝ้าลูกด้วยตัวเองเพื่อเป็นกำลังใจแก่ลูก และดูแลไม่ให้ลูกหลบหนีไปเที่ยวกับเพื่อนเมื่อไปเรียนพิเศษวันอาทิตย์
“อนุชนไม่อยากมาโบสถ์อาจเป็นเพราะว่าพวกเขาเบื่อเพลงตามระเบียบประชุมสมัยเก่าที่เขาร้องกันมาหลายสิบปีจนจำได้เกือบครบทุกเพลง”
“อนุชนไม่มีคนสอน เพราะเราขาดบุคลากร ครูรวีก็ลาออกไปแล้ว เมียอาจารย์ก็ต้องสอนอนุบาลด้วย ไม่มีเวลาแล้ว ผู้ปกครองก็ไม่มีความรู้ที่จะสอนได้ หน่วยงานที่ดูแลฯ ก็สนใจอยู่บ้างแต่ไม่สามารถจะทำอะไรเป็นรูปธรรมในการช่วยเหลือให้สถานการณ์ที่ตกต่ำดีขึ้น”
“อนุชนของเราไปอยู่ร้านเกมวันอาทิตย์ ไม่ได้มาโบสถ์ พ่อแม่ก็บังคับไม่ได้ เพราะว่า มันเป็นยุคคอมพิวเตอร์” “มันเป็นยุคของเขา” “ช่างมันเถอะ”
เมื่อเป็นเช่นนี้สมควรหรือยังที่จะมีการวิเคราะห์จุดอ่อน และจุดแข็ง ของการบริหารงานคริสตจักร แล้วนำมาปรับปรุงให้ทันกาลก่อนที่คริสตจักรหลายๆ แห่งจะกลายเป็นเพียงที่สำหรับประกอบพิธีกรรมจากศาสนาคริสต์ สวนทางกับนิมิตของคริสตจักรที่มีความคาดหวังว่าเป็นที่แห่งการทรงสถิตของผู้เป็นเจ้า เป็นที่แห่งการเลี้ยงดูฟูกฟัก เป็นที่มาแล้วกลับออกไปด้วยความโล่งใจ ได้รับพระพรแห่งความสุขใจ อย่างไรก็ตามคริสตจักรบางแห่ง เมื่อสังเกตดูพบว่าไม่มีการสำแดงใดๆ จากเบื้องบนเลยปีแล้วปีเล่า คริสตจักรเป็นเพียงกลุ่มผลประโยชน์ มีการเอื้อประโยชน์แก่ตัวเอง ลูกหลานและวงศาคณาญาติของบุคคลบางกลุ่มที่ได้ชื่อว่า คริสเตียน เมื่อมีผู้เชื่อใหม่หลงเข้ามาในคริสตจักร คริสตจักรก็ไม่สามารถติดตามดูแลเลี้ยงดู หรือฟูกฟักให้เติบโตเป็นไปตามธรรมชาติของคริสเตียนที่ดีได้ คริสเตียนหลายคนไม่มีคำพยานใดๆ ที่จะขอบพระคุณพระเจ้า


ประการที่ 5 คณะธรรมกิจเทศนาไม่มีความมั่นใจในการเทศนาสั่งสอน หรือประเมินการเทศนาเป็นเรื่องที่ด้อยความสำคัญ

การที่จะบริหารงานให้องค์กรเติบโต และมีสมาชิกที่เพิ่มพูนอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยผู้บริหารงานที่มีความเข้าใจพันธกิจทุกด้าน โดยเฉพาะพันธกิจทางด้านจิตวิญญาณ คริสตจักรที่อ่อนแอเห็นว่า การจ่ายค่าจ้างศิษยาภิบาลนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพียงเพื่อจัดให้มีใครสักคนมาเติมเต็มในเรื่องการเทศนาใน “ช่องว่าง” ของขั้นตอนการนมัสการพระเจ้าเท่านั้น พิธีการนมัสการของคริสเตียนที่มีธรรมเนียมและวาระแห่งการนมัสการพระเจ้ามาตลอดคือ ต้องมีใครสักคนหนึ่งที่จะมาเปลี่ยนผู้ปกครองที่รับหน้าที่ “เวร” ในการเทศนาทุกวันอาทิตย์ เมื่อการเทศนากลายเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในพิธีกรรมการนมัสการพระเจ้า มันจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องมีใครสักคนมาทำหน้าที่ขั้นเวลาให้เวลาแห่งการเทศนาไม่มีช่องโหว่ ผู้ปกครองบางคนทำการเทศนาโดยไม่มีการเตรียมตัว ผู้เทศนาพูดเรื่อยเปื่อยไปตามความคิดของตนเอง บางทีก็พูดปัญหาต่างๆ หรือบางครั้งการเทศนากลายเป็นเวทีสำหรับประชาสัมพันธ์ และการโฆษณากิจกรรมต่างๆ ที่คริสตจักรกำลังดำเนินการอยู่ คริสเตียนจำนวนมากที่มานั่งในสถานนมัสการ มีคนหลายสิบคนที่กำลังนั่งฟังเทศน์ พวกเขาอุตส่าห์ปิดทีวีที่บ้านเพื่อมาร่วมการนมัสการ แต่กลับต้องนั่งฟังคนที่ไม่มีการเตรียมตัวดีพอ พูดไม่มีสาระ และไม่ตรงประเด็นสาธยายอะไรอะไรให้ฟัง จนหมดเวลาเทศนาคือไม่เกิน 30 นาที หรืออย่างมากก็ไม่ควรเกิน 45 นาที
เมื่อคริสตจักรแห่งใดแห่งหนึ่งที่ศิษยาภิบาลคนเก่าถูกโหวตให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกมีความเห็นไม่ครบจำนวนโหวตเพียงพอที่จะช่วยต่ออายุการเป็นศิษยาภิบาล ทำให้ศิษยาภิบาลผู้น่าสงสารไม่สามารถได้อยู่ต่อ เนื่องจากผลการลงประชามติของสัปปุรุษ ศิษยาภิบาลจึงจำต้องขนย้ายข้าวของออกไปหาที่อยู่ใหม่ หรืออีกกรณีหนึ่งคือ ศิษยาภิบาลบางคนเบื่อหน่ายสมาชิกที่เป็นพวก หัวดื้อ ถือตัวเป็นใหญ่ ผู้จัดการคริสตจักรที่มีการครอบครองของเนื้อหนังมากจนเกินไป ศิษยาภิบาลจึงจำเป็นต้องย้ายตัวเองออกไป

เมื่อไม่มีศิษยาภิบาลทำงานรับใช้ในคริสตจักรพวกสมาชิกผู้อาวุโสจะปรึกษากันและแบ่งเวรทำหน้าที่ผู้เทศนา โดยมอบหมายหน้าที่ผู้นำระเบียบการนมัสการให้ใครก็ได้สักคนหนึ่งที่พอจะอ่านบทระเบียบการนมัสการได้ คุณลักษณะฝ่ายวิญญาณของผู้นำ ไม่จำเป็นต้องพิถี่พิถันมากนัก เมื่อมีผู้เทศนา ผู้นำประชุม และมีคนนั่งฟัง คริสตจักรแห่งนี้ก็จะสามารถดำเนินพิธีกรรมนมัสการพระเจ้าได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาศิษยาภิบาลประจำ เมื่อเหตุการณ์ผันแปรไปเช่นนี้ บรรดาผู้ปกครองของคริสตจักรที่อ่อนแอเหล่านี้จะพลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นธรรมมาสเพื่อเทศนาตามเวลาที่กำหนดไว้ โดยผู้ปกครองบางคนยืนอ่านกระดาษที่จดมา หรือบางคนก็อ่านจากแผ่นถ่ายเอกสารที่บนธรรมมาสขณะทำหน้าที่ผู้เทศนา ด้วยเหตุเหล่านี้หากพิจารณาดูให้ดีแล้ว เราอาจจะเห็นภาพอะไรบางอย่าง บางครั้งผู้เทศนาไม่ได้เทศนาแต่ว่าเป็นการอ่านจากหนังสือคำเทศนาที่มีคนทำขายเป็นเล่มๆ บางคนก็เอาเรื่องราวจากหนังสือพิมพ์บ้าง เรื่องที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในความสนใจของคนในประเทศมาแสดงความเห็นให้สอดคล้องกับคำเทศนาของตน บางคนเอาเรื่องนิยาย หรือเนื้อหาบางตอนจากละครทีวีมาประกอบการเทศนา บางคนก็เอามุขตลกจากหนังสือฮาสนั่น หรือหนังสือการ์ตูนที่เต็มไปด้วยสีสันและคารมมาอ่านให้ที่ประชุมนมัสการฟัง ผู้ฟังหลายๆ คนก็ได้รับความบันเทิงจากการเทศนาและเป็นความรู้ที่แปลกใหม่แต่น่าเสียดายที่การเทศนาไม่สามารถทำให้ผู้มานมัสการได้รับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใดๆ ในด้านความเชื่อ ด้านจิตวิญญาณ บางคนยิ่งหนักไปกว่านี้เขาใช้ธรรมมาสอันเป็นที่สำหรับใช้คำเทศนาสั่งสอน และหนุนใจในความเชื่อมั่นในพระเจ้า เป็นเวทีในการกล่าวเสียดสี พาดพิงติเตียนคนบางคนที่ตนเองไม่ชอบหน้า หรือที่กำลังเป็นปัญหาของคริสตจักร หรือคนที่พยายามที่ทำบางอย่างที่ผู้ทำหน้าที่เทศนาเห็นว่าเป็นการแหกกฎระเบียบของคริสตจักร
เหตุการณ์ผ่านไปซ้ำๆ ไปสักระยะหนึ่งผู้ปกครองหลายๆ คนก็มาพูดคุยปรับทุกข์กันว่า คริสตจักรเราน่าจะมีการเชิญนักเทศน์ต่างถิ่นมาเทศนาที่คริสตจักรของเราบ้าง เพื่อเปลี่ยนรสชาติในการฟังเทศน์ที่คริสตจักร เนื่องจากพวกผู้ปกครองหลายคนก็อ่อนล้า และไม่อยากจะเทศนาแล้วเพราะการเทศนากลายเป็นหน้าที่เวรที่เริ่มหนักอึ้งขึ้นเรื่อยๆ เป็นภาระที่พวกผู้ปกครองหลายๆ คนต้องรับทั้งที่พวกเขาขาดคุณสมบัติฝ่ายวิญญาณ และผู้ปกครองบางคนไม่มีความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัวใดๆ กับองค์พระผู้เป็นเจ้าเลย นานๆ จะอธิษฐานอย่างจริงจังสักครั้งและคณะผู้ปกครองรู้สึกว่าพี่น้องก็เริ่มหายหน้าไปทีละคนสองคน บางคนก็มาบ้างไม่มาบ้าง เพราะมาแล้วไม่ได้อะไร การนมัสการพระเจ้ากลายเป็นเพียงพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์เท่านั้น
พี่น้องคริสเตียนบางคนมาโบสถ์เฉพาะวันที่มีงานพิเศษที่มีคนมีได้งานใหม่ หรือมีความดีใจเนื่องในโอกาสพิเศษ หรือเป็นการจัดเลี้ยงอาหารเที่ยงวันเกิด ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้คริสตจักรจึงเห็นสมควรตกลงจ้างนักเทศน์ที่มีฝีปากดีที่พอจะทำให้การฟังเทศน์ของคริสตจักรมีบรรยากาศที่ดีขึ้นบ้างและอาจสร้างเสียงหัวเราะขึ้นมาบ้าง และที่สำคัญคริสตจักรสามารถประหยัดเงินค่าเลี้ยงดูศิษยาภิบาลที่อยู่ประจำได้เป็นจำนวนหลายพันบาทต่อเดือน
เหตุการณ์ผ่านไปเนิ่นนานพอสมควรเป็นแบบวัฎจักร คริสตจักรเริ่มอ่อนแรง และไร้ฤทธา ไม่มีการหายโรคในคริสตจักร สมาชิกอายุน้อยๆ เริ่มหายหน้าไปไม่มีการสอน
รวีวารศึกษาเพราะเด็กมาแล้วก็ไม่มีใครดูแล สมาชิกหลายคนเริ่มบ่นว่าผู้นำ การนมัสการตอนเช้ามีเพียงสมาชิกที่สูงอายุที่มาเตรียมตัวข้ามพ้นเขตขันต์แห่งกาลเวลาไปอยู่กับพระเจ้าเพียงไม่กี่คนที่มีอยู่เท่านั้น การนมัสการเป็นไปด้วยความน่าเบื่อหน่าย ผู้ปกครองบางคนที่ยังพอมีไฟอยู่ก็ต้องนั่งรอบรรดาหมู่มวลสมาชิกที่ทยอยกันมาโบสถ์ตั้งแต่เวลาสิบโมงครึ่งจนถึงเกือบๆ สิบเอ็ดโมง คริสตจักรจึงสามารถดำเนินการประชุมนมัสการได้ สมาชิกและผู้ปกครองบางคนก็มาสายมาก บางคนมาถึงโบสถ์เมื่อการเทศนาเกือบจะเสร็จแล้ว การนมัสการพระเจ้าใช้เวลาไม่มากนักเวลาสิบเอ็ดโมงแก่ๆ ก็เลิก หากวันไหนมีนักเทศน์ที่พูดแบบลงไม่เป็น ใช้เวลาเทศน์เนิ่นนานเลยเวลาสิบสองนาฬิกา นักนมัสการเทียมเท็จหลายๆ คนจะยกแขนขึ้นมาดูนาฬิกาบ่อยๆ เพื่อเป็นนัย ส่งสัญญาณให้นักเทศน์เหมือนจะตัดพ้อว่า ท่านนักเทศน์เอ๋ย หยุดการเพ้อเจ้อได้แล้ว สมาชิกที่อ่อนแรงในความเชื่อบางส่วนจะลุกจากมานั่งยาว (PEWS)เดินออกจากโบสถ์ไปเลยก็มีเพราะเป็นเวลาที่กระเพาะอาหารของเขาเริ่มทำงานอีกครั้งแล้ว นี่คือสภาพความเป็นไปของคริสตจักรที่อ่อนแรง ถอยหลังเนื่องจากเหตุปัจจัยนานัปการอันเนื่องจากขาดทักษะ ขาดวิสัยทัศน์ ขาดการนำที่ดี
ทางหน่วยงานที่ปกครองดูแลเริ่มสังเกตว่า คริสตจักรต่างๆ หลายๆ แห่งที่ขาดผู้เลี้ยง คริสเตียนมีพฤติกรรมส่อความถดถอยคล้ายๆ กัน ยิ่งได้ยินข่าวคราวไม่ดีไม่เหมาะสมเกี่ยวกับคริสเตียนในคริสตจักรแว่วมาเป็นระยะ จึงได้เวลาแห่งความพยายามจัดโครงการส่งเสริมให้มีการอบรม สัมมนา พัฒนาผู้นำคริสตจักรด้วยวิธีการต่างๆ หลากหลายวิธีแต่ต้องประสบกับปัญหา คือไม่ค่อยมีคริสตจักรเป้าหมายที่ต้องการให้พัฒนา สนใจเข้ารับการอบรมเท่าที่ควร มีแต่คริสตจักรที่เขาพอจะไปได้และร้อนรนรีบสมัครเข้ารับการอบรม คริสตจักรที่อ่อนแเออ้างเหตุผลเนื่องจากการทำมาหากิน ความไม่พร้อมต่างๆ ด้วยเหตุแห่งความอ่อนแอทางด้านพฤติกรรมคริสเตียน ผู้ปกครองหลายๆ คนไม่สามารถปกครองดูแลครอบครัวของตนเองได้ บางคนไม่สามารถปกครองตัวเองได้ ติดสุรา ติดผู้หญิง มีเมียน้อย โกงที่ทำงาน ลูกหลานติดสุรา ติดยาเสพติด คนในคริสตจักรมีปัญหาพฤติกรรมไม่แตกต่างไปจากชาวโลก คริสเตียนมีความรู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องมารับการอบรมเพิ่มเติม บางคนไม่เห็นคุณค่าของการเรียนพระคัมภีร์เพิ่มเติมอีกแล้วเพราะนึกว่าตัวเองเป็นคริสเตียนมานาน รู้หมดแล้ว ไม่ต้องรับการอบรมอีกแล้ว พอแล้ว แก่แล้ว จำอะไรไม่ได้แล้ว อายเขา ให้คนอื่นไปเถอะ หรือปีนี้ขอก่อนเอาไว้โอกาสหน้าค่อยคิดใหม่อีกครั้ง คริสตจักรของเราก็มีคนมากพอสมควรแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้วุ่นวายมากไปกว่านี้ เสียเวลาทำมาหากิน ช่วงนี้ก็เป็นฤดูกาลทำเงิน ทำกำไรในงานธุรกิจ และอาชีพส่วนตัวน่าจะดีกว่า
มีคำถามว่าหน้าที่ของผู้ปกครองคืออะไร ต้องทำอะไรบ้าง ผู้ปกครองหลายคนตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้จักบทบาทหน้าที่ของตน ไม่อยากเป็นภาระเพราะว่าการมาโบสถ์ให้เห็นหน้าตากัน มาอยู่เป็นเพื่อนกันก็น่าจะเพียงพอแล้ว ดังนั้นเมื่อคนในหน้าที่ไม่รู้จักหน้าที่ของตนย่อมทำให้เกิดความสับสนต่อตนเองและคริสตจักรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การวิเคราะห์ข้อดีของการบริหารงานของคริสตจักรทั่วไปในประเทศไทย

หลังจากได้นำเสนอแนวคิดจากการวิเคราะห์งานด้านการบริหารของคริสตจักร
แล้ว ได้พบว่าในความอ่อนแอหรือความไม่ทันสมัยของการบริหารงานนั้น ได้พบว่าคริสตจักรมีความเข้มแข็งหรือด้านที่ดีอยู่มากหลายประการ กล่าวคือ

ประการที่ 1 การเป็นองค์กรที่มีการบริหารที่ชัดเจน โปร่งใส และมีโครงสร้างที่ชัดเจน

ความเข้มแข็งของคริสตจักรคือการเป็นองค์ที่มีการปกครองตามโครงสร้าง มีสายการบริหารที่ชัดเจน ทำให้คนที่จะเข้ามาอยู่ร่วมกับคริสตจักรไทยต้องถือปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่มีความชัดเจน บุคลากรแต่ละฝ่ายมีความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน นับตั้งแต่ศิษยาภิบาล คณะกรรมการภาค คณะกรรมการบริหารคริสตจักรไทยฯ การปกครองแบบโครงสร้างใหญ่ครอบคลุมโครงสร้างเป็นระดับขั้นลงไป ทำให้เกิดความมั่นคงอย่างมาก องค์กรมีกฏกติกา สิ่งที่ทำได้ ทำไม่ได้ชัดเจน ทำให้การบริหารงานมีความชัดเจนในภาระหน้าที่ และแต่ละหน่วยย่อยรู้จักบทบาทภาระงานของตน ทำให้การดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ มีกรอบงานที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน แต่เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีระบบที่คอยอุปภัมถ์ค้ำชูให้หน่วยงานแต่ละเนื้อได้พึ่งพาอาศัยกัน ทำให้องค์กรมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างมั่นคง และเจริญก้าวหน้า

ประการที่ 2 มีการบริหารจัดการทรัพยากรด้านทุนทรัพย์ และสินทรัพย์ที่ดี

คริสตจักรไทยนับเป็นองค์กรที่มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านจำนวน และคุณภาพ เนื่องจากการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ และมีสินทรัพย์จำนวนมาก กล่าวได้ว่า มหาศาล ทำให้ผู้บริหารของคริสตจักรไทยสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวัตถุสิ่งก่อสร้างทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ การที่คริสตจักรไทยบริหารจัดการสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เกิดรายได้ จากการบริหารงาน การจัดตั้งกองทุนต่างๆ ทำให้เกิดรายได้มาจุนเจืนงานอื่นๆที่ไม่ค่อยก่อให้เกิดรายได้ อาทิ การสงเคราะห์ สวัสดิการการบริการสาธารณสุขแก่บุคลากรในระดับต่างๆ คริสตจักรไทยหลายแห่งมีการวางแผน มองการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนงานด้านที่ดินและสิ่งก่อสร้าง มีโรงเรียน โรงพยาบาล สถานบริการที่ก่อให้เกิดรายได้ มีบริหารเช่าสถานที่ ห้องประชุม สถานที่จัดประชุมขนาดต่างๆ โบสถ์ของคริสตจักรไทย จำนวนมากที่เป็นอาคารจุคนได้มากเป็นร้อยๆ คน คริสตจักรมีความเข้มแข็งด้านการเงิน เมื่อเปรียบเทียบกับคริสตจักรในคณะอื่นๆ พบว่าคริสตจักรของคริสตจักรไทยมีขนาดใหญ่ สวยงาม และถือเป็นเกียรติและศักดิ์ศรีชาวคริสต์อย่างแท้จริง

ประการที่ 3 ความเข้มแข็งทางด้านความมั่นคงของผู้รับใช้พระเจ้าในตำแหน่งต่างๆในคริสตจักร

คริสตจักรไทยมีธรรมนูญปกครองคริสตจักร มีกฎระเบียบ มีสวัสดิการ เงินค่าตอบแทนผู้ทำงานของพระเจ้าอย่างเป็นเอกภาพ ทำให้บุคลากรมีความอุ่นใจ เกิดความมั่นคงปลอดภัยในหน้าที่การงาน ทำให้ดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพมาร่วมงานในคริสตจักรมากกว่าคริสตจักรในคณะอื่นๆ นอกจากนี้คริสตจักรไทยมีระบบการตรวจสอบ ระบบการประเมินผลงานของศิษยาภิบาล ทำให้บุคลากรต้องขยันขันแข็งในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากมีการประเมินตามวาระ สิ่งนี้นับเป็นข้อดีเด่นของคริสตจักรไทยแม้ว่าจะมีศิษยาภิบาลจำนวนมากไม่ค่อยเห็นด้วยเนื่องจากเกรงว่าจะต้องย้ายไปอยู่ที่คริสตจักรที่ด้อยกว่า หรือไม่มีงานทำเนื่องจากถูกโหวตให้ออก การประเมินแบบนี้มีข้อดีคือทำให้เกิดการกระตุ้นในการทำงาน มีการประเมินผลงานของตนเองตลอดเวลา ไม่อู้งาน หรือขาดความเอาใจใส่ในภาระงานในหน้าที่ เมื่อถึงวาระที่สมาชิกต้องประเมินผลการทำงาน ในช่วงหมดวาะการทำงาน ศิษยาภิบาลที่ดีมีคุณภาพก็จะได้รับการลงมติให้สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้อย่างแน่นอน ในข้อนี้สำหรับผู้เขียนเองมีความคิดเห็นว่าหากศิษยาภิบาลเป็นผู้ที่มีของประทานมีสิทธิอำนาจในการการสั่งสอน ย่อมไม่เกรงกลัวว่าจะตกงานหรือ ไม่ได้รับการต่ออายุการปฏิบัติงาน

ประการที่ 4 ระเบียบในการเลื่อนศานศักดิ์และการได้รับศาสนศักดิ์

คริสตจักรไทยเป็นหน่วยงานที่มีความเข้มแข็งทางด้านศาสนศาสตร์อย่างแท้จริง ในวงการศิษยาภิบาลหรือผู้รับใช้พระเจ้าเมื่อมีการพบปะหรือพูดคุยกัน หากมีการถามถึงคุณวุฒิด้านศาสนศาสตร์ และศาสนศักดิ์ คริสตจักรไทยจะได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างมาก เนื่องจากคำว่า “ศาสนาจารย์” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าอาจารย์ของคริสตจักรไทยนั้นมีความขลังมาก เพราะการที่จะเป็นศาสนาจารย์ของคริสตจักรไทยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในหน้าที่อย่างแท้จริง เนื่องจากการที่จะได้เลื่อนศาสนศักดิ์ต้องผ่านการสอบความรู้ และต้องมีระยะเวลาสำหรับการฝึกงานสำหรับตำแหน่งต่างๆ พอสมควรจึงจะสามารถสมัครเข้าสอบได้ ผิดกับคริสตจักรคณะอื่นๆ ที่ตำแหน่งศิษยาภิบาลได้กันง่ายกว่า และไม่ต้องมีการสอบอะไรมาก บางคนความรู้ทางศาสนศาสตร์แทบไม่มี บางคนไม่เคยผ่านโรงเรียนพระคัมภีร์อะไรเลยก็ได้เป็นอาจารย์ การที่ไม่ได้รับการอบรม การเรียนรู้ มีแต่ความเชื่อ ความมุ่งมั่นอย่างเดียวหลายครั้งทำให้เกิดปัญหาในเรื่องคำสอน การปฏิบัติตน การดูแลฟูกฟักผู้เชื่อเป็นอย่างมาก บางคนขาดความถ่อมใจทำให้เกิดความเย่อหยิ่งมีปัญหากับหน่วยงาน บางคนก็ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอะไร เป็นเพียงผู้ตามอย่างเดียว ขาดทักษะในการบริหารงาน การวางแผน แต่สำหรับบุคลากรของคริสตจักรไทยนับว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถมาก และถือว่าเป็นอันดับหนึ่งในเรื่องของศาสนกิจ การบริการสังคม การบริการชุมชน การประกาศเผยแพร่ และในด้านการบริหารจัดการบุคลากรอย่างแท้จริง

ข้อคิดเห็นส่งท้าย

การวิเคราะห์การบริหารงานของคริสตจักรไทยนับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้เขียนเนื่องจาก ผู้เขียนเป็นผู้เกิดมาในคริสตจักรไทยแต่ไปเติบโตในความเชื่อกับคณะอื่น ทำให้สามารถมองเห็น ได้ยิน ได้รับรู้เรื่องต่างๆ ผิดบ้างถูกบ้าง จึงขอเสนอความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา บางข้ออาจไม่เป็นความจริง หรือเป็นความจริงที่ยอมรับยาก แต่ก็เป็นการนำเสนอด้วยความจริงใจ ด้วยความเคารพในเอกสิทธิการบริหารของคริสตจักรไทย เนื่องจากผู้เขียนยังไม่ได้เป็นศิษยาภิบาลในสังกัดของคริสตจักรไทยจึงวิเคราะห์ไปอย่างไม่ต้องกลัวว่าจะสอบไม่ผ่านเพราะเชื่อมั่นว่า หน่วยงานแต่ละหน่วยย่อมมีความเด่น และความด้อยไม่เหมือนกัน แต่องค์ก็ต้องมีการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์และยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หากเรามัวแต่คิดว่าของเดิมดีอยู่แล้วก็คงไม่มีคริสตจักรใดๆ ใช้เครื่องฉายจอภาพขนาดใหญ่ในโบสถ์ หรือการใช้พระคัมภีร์ฉบับคอมพิวเตอร์ในการเทศนาที่เกิดผลได้
ตามความเห็นของผู้เขียนเชื่อว่า หากเอาการบริหารงานของคริสตจักรไทย บางส่วนไปปรับใช้กับการเทศนา และพิธีกรรมตามแบบของคริสตจักรที่ผู้เขียนรับใช้อยู่เชื่อว่า งานของพระเจ้าจะต้องก้าวหน้า ก้าวไกล นำคนมาถึงความรอด สันติสุขในพระเยซูคริสต์ได้อย่างมากมายแน่นอน

การครองรักครองเรือน- การเลือกคู่ และการเลิกกัน

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการหย่าร้าง

๑. การสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน
๒. ปัญหาการเงิน ไม่เพียงพอค่าใช้จ่าย (Stanley & Markman, 1997)
๓. ไม่มีความยึดมั่นต่อการแต่งงาน
๔. การเปลี่ยนแปลงของ ความสำคัญในชีวิต
๕. ความไม่ซื่อตรงต่อกัน การนอกใจ
๖. ความล้มเหลวในความคาดหวังในความต้องการของอีกฝ่าย
๗. การติดสิ่งเสพติด
๘. การใช้กำลัง และการใช้เรื่องเพศในทางผิดธรรรม (Abuse)
๙. ขาดทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

ปัจจัยอื่นๆ
คู่แต่งงานที่มีอายุระหว่าง ๒๓-๒๗ มีอัตราการหย่าร้างที่ต่ำกว่า คู่ที่มีการแต่งงานในวันต่ำกว่าอายุ ๒๐ ปี
๖๙ % of respondents said their marriages were very happy.
๘๘ % said they were completely or very satisfied with their marriages.
ข้อมูลประเทศไทย ปี 2551
ประชากรในประเทศไทย ๖๕ ล้านคน
๐-๑๔ ปี: ๒๑.๖ % (male 7,195,750/female 6,870,858)
๑๕-๖๕ ปี : ๗๐.๑ % (male 22,547,238/female 23,092,881)
๖๕ ปี ขึ้นไป:๘.๒ % (male 2,437,640/female 2,923,782) (2007 est.)

Fatherhood Today, Volume 10, Issue 3, Summer 2005 pgs 4-5
http://www.ku.ac.th/e-magazine/october46/know/house.html

หน้าที่ของสามี-ภรรยา ที่ต้องปฏิบัติต่อกัน
เมื่อผ่านขั้นตอนการเลือกคู่แล้ว การอยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยา ทั้งคู่จะต้องมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกัน ดังนี้

สามีมีหน้าที่ 5 ประการ
1. ให้ความนับถือ ยอมรับฐานะแห่งภรรยา
2. ยกย่องให้เกียรติ ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม
3. มีความซื่อสัตย์ ไม่นอกใจ
4. มอบความเป็นใหญ่
5. หาเครื่องประดับ เครื่องแต่งกายมามอบให้

ภรรยามีหน้าที่ 5 ประการ
1. จัดดูแลงานบ้านให้เรียบร้อย
2. ใส่ใจสงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
3. ซื่อสัตย์ ไม่ประพฤติผิดนอกใจ
4. ช่วยประหยัดดูแลรักษาทรัพย์ที่หามาได้
5. ขยัน ไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง
คำสอนทางพุทธที่เกี่ยวกับ ความสุขของครอบครัว
1. สุขที่เกิดจากการมีทรัพย์
2. สุขที่เกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์
3. สุขที่เกิดจากความไม่เป็นหนี้
4. สุขที่เกิดจากการทำงานไม่เป็นโทษ

คำสอนที่เกี่ยวกับวิธีการเลือกคู่ครอง
การเลือกคู่ครองที่เหมาะสมจะทำให้การครองเรือนราบรื่น และ สำเร็จสมประสงค์ เรียกว่า ฅ
สมชีวิกถา 4 ข้อ คือเหตุที่ทำให้คู่สมรสครองเรือนได้ยืดยาว

1. สมศรัทธา ให้เลือกบุคคลที่มีความเชื่อเลื่อมใสในศาสนาหรือสิ่งเคารพบูชาต่าง ๆ เหมือนกัน มีความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกัน มีจุดมุ่งหมายในชีวิตเหมือนกัน ตลอดจนมีรสนิยมตรงกัน
2. สมศีลา ให้เลือกบุคคลที่มีความประพฤติ ศีลธรรม จรรยามารยาท มีพื้นฐานการอบรมพอเหมาะสอดคล้องกัน ไปกันได้ หรืออยู่ในระดับเดียวกัน จะได้ไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจิซึ่งกันและกัน
3. สมจาคา ให้เลือกบุคคลที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีใจกว้าง มีความเสียสละ มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น บุคคลที่เสมอกันด้วยจาคะนี้จะทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข เพราะเมื่อคนเราอยู่ด้วยกันก็ต้องเสียสละทั้งทรัพย์สินเสียสละความสุขของตน เพื่อเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
4. สมปัญญา ให้เลือกบุคคลที่มีปัญญาเสมอกัน คือ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักดี รู้จักชั่ว รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ มีการใช้ความคิดเพื่อแก้ปัญหา

ควรเลือกคนที่มีลักษณะ 4 อย่างดังต่อ เป็นคู่ครอง เพื่อประโยชน์สุขในปัจจุบันชาติ
(ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์)
1. เลือกบุคคลที่มีความขยันในการประกอบอาชีพ
2. เลือกบุคคลที่เป็นคนประหยัด รู้จักออมทรัพย์
3. เลือกบุคคลที่รู้จักคบคนดีเป็นเพื่อน
4. เลือกบุคคลที่มีการเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟุ้งเฟ้อนัก

หน้าที่บิดามารดา และบุตร
บิดามารดามีหน้าที่ 5 ประการ บุตรมีหน้าที่ 5 ประการ
1. ห้ามไม่ให้บุตรทำความชั่ว 1. ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
2. สอนให้ตั้งอยู่ในความดี 2. ช่วยทำกิจการหรือธุระของท่าน
3. ให้การศึกษาศิลปวิทยา 3. ดำรงวงศ์สกุล
4. หาคู่ครองให้บุตรเมื่อถึงกาลอันควร 4. ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับมรดก
5. มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงกาลอันควร 5. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้

นอกจากนี้ศาสนาพุทธยังสอนให้ สามีภรรยาที่อยากมีความสุขให้ปฏิบัติต่อ สงฆ์ด้วยคือ ให้ คิด พูด ทำ ต่อสงฆ์ด้วยความเมตตา และ ต้อนรับสงฆ์ด้วยความเต็มใจ และ ให้อุปถัมป์ ด้วยปัจจัยสี่ด้วย

เหตุผลในการเลือกคู่ครองของแต่ละบุคคล มีอุดมคติ

1. เพื่อความรักความอบอุ่น การมีชีวิตคู่จะช่วยให้สมหวังในความรักและช่วยให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นที่ได้อยู่ร่วมกับผู้ที่ตนรัก
2. เพื่อขยายเผ่าพันธุ์ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของธรรมชาติที่มีมาแต่เดิม
3. เพื่อสร้างฐานะทางครอบครัว ซึ่งอาจนำไปสู่สภาพครอบครัวใหม่ที่มีฐานะดีกว่าเดิม หรือช่วยให้ฐานะที่มีอยู่เดิมนั้นดียิ่งขึ้น

หลักเกณฑ์ในการเลือกคู่ครอง

1. ความรักและความพึงพอใจ
2. วุฒิภาวะของคู่สมรส ได้แก่
- อายุ
- สุขภาพกาย
- วุฒิภาวะทางอารมณ์
- ระดับสติปัญญา
3. บุคลิกภาพ
4. ศาสนาและวัฒนธรรม
5. ฐานะทางเศรษฐกิจ

ความพร้อมในด้านต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญมาก สำหรับชีวิตสมรส การเตรียมตัวก่อนการสมรส นอกจากการวางแผนจัดงานตามประเพณีแล้ว คู่สมรสควรพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. ความพร้อมด้านอารมณ์ โดยปกติอายุเป็นส่วนหนึ่งของความพร้อมด้านอารมณ์ ดังนั้นคู่สมรสจึงควรสำรวจตนเองว่ามีความพร้อมที่จะเผชิญปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตสมรสหรือไม่

2. ความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตคู่ คู่สมรสควรมีอาชีพหรือรายได้ก่อนแต่งงาน

3. ความพร้อมด้านสุขภาพ คู่สมรสควรปรึกษาแพทย์ก่อนแต่งงานเพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด ถ้ามีปัญหาจะได้แก้ไข

การตรวจสุขภาพก่อนสมรส

1. สุขภาพทั่วไป เพื่อให้แน่ใจว่าไม่เป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคเอดส์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

2. ค้นหาความบกพร่องทางด้านร่างกายที่เป็นอุปสรรคในการตั้งครรภ์ เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

3. การตรวจกลุ่มเลือด เพื่อให้ทราบถึง โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เพื่อสามารถระมัดระวังและป้องกันตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ได้

กฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับ การให้สมรส

ตามกฎหมาย ยินยอมให้กระทำการสมรสได้เมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ โดยได้รับความยินยอมจากพ่อแม่และผู้ปกครอง แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 17 ปี ก็สามารถทำการสมรสได้แต่ต้องขออนุญาตจากศาล
นอกจากนี้ตามกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขแห่งการสมรสว่า ห้ามบุคคลต่อไปนี้ทำการสมรสกัน เช่น เป็นคนวิกลจริต เป็นญาติสืบสายเลือดเดียวกัน ผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น

การปรับตัวในชีวิตสมรส

เพื่อให้การครองเรือนราบรื่น คู่สมรสควรยึดหลักในการปรับตัวในชีวิตสมรส ดังนี้

1. การปรับตัวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว การให้เกียรติและยกย่องกัน ไม่ประพฤติตนนอกใจคู่สมรส

2. การปรับตัวเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ปัญหาเรื่องเงินมักเป็นปัญหาใหญ่ ควรมีการวางแผนการใช้จ่าย

3. ปรับตัวด้านเพศสัมพันธ์ ย่อมนำความพึงพอใจมาสู่คู่สมรส และเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ชีวิตครอบครัวราบรื่น


บทกวีเกี่ยวกับการพบคู่รัก
http://bannpeeploy.exteen.com/20080131/entry-12

บางคนบางคู่ เห็นหน้ากันเพียงครั้งเดียวก็หลงรักกัน
บางคนบางคู่ รู้จักศึกษานิสัยใจคอกันพอสมควร จึงเกิดความรัก
บางคนบางคู่ ได้เกื้อหนุนจุนเจือกัน นานไปก็เกิดเป็นความรัก
บางคนบางคู่ สนิทสนมกลมเกลียวเป็นเพื่อนเล่นกันมาแต่เด็กแต่น้อย แล้วจึงค่อยแปรเปลี่ยน เป็นความรักเมื่อโตเป็นหนุ่มเป็นสาว
บางคนบางคู่ ได้สมหวังในความรัก ขณะที่บางคู่กลับต้องเลิกรา
บางคน ได้แต่หลงรักเขาข้างเดียว แต่เขาไม่เคยมีใจรักตอบ
บางคน เขามาชอบ พยายามทอดสะพานให้เรา แต่กลับไม่สนใจ..
ขณะที่บางคน ทั้งชีวิตกลับเงียบเหงา ไม่เคยมีลมรักพัดผ่านมาให้ชื่นใจเลย แม้แต่เพียงครั้งเดียว
ดูแล้วความรักของหญิงชายนี้ช่างวุ่นวายนัก จนน่าสงสัยว่ามีเหตุอะไรที่ทำให้หญิงชายมารักกัน หรือมีเหตุอะไรที่ทำให้หญิงชายนั้นไม่รักกัน

ลักษณะการเป็นคู่ของหญิงชายในทัศนะของคนไทย

มีได้หลายแบบ คือ หญิงชายที่รักกัน และมีความสัมพันธ์กัน เรียกว่าเป็นคู่กัน
คู่รัก ได้แก่คู่หญิงชายที่มีใจรักสมัครสมาน ปฏิบัติต่อกันในฐานะคู่รัก แต่ยังไม่ได้เป็นสามีภรรยากัน

คู่ครอง คือ หญิงชายที่ได้ตกลงอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากันในชาติภพปัจจุบัน
เนื้อคู่ คือ หญิงชายที่เคยเป็นคู่ครองกันมาในอดีตชาติ แต่ในชาติภพปัจจุบันอาจเป็นหรือไม่ได้เป็นคู่ครองกันก็ได้

คู่แท้ คือ หญิงชายที่เป็นเนื้อคู่กัน เคยอยู่ร่วมกันในอดีตมามากกว่าคนอื่นๆ หญิงชายแต่ละคนอาจมีคู่แท้ได้หลายคน และเช่นเดียวกับ

เนื้อคู่ คือ คู่แท้อาจจะไม่ได้เป็นคู่ครองกันในชาติปัจจุบันก็ได้ หากทั้งสองฝ่ายไม่ได้มาเกิดร่วมกัน หรือทั้งสองฝ่ายมีวิบากจากถูกอกุศลกรรมมาตัดรอน

คู่เวรคู่กรรม คือ หญิงชายที่ได้เป็นคู่ครองกันในปัจจุบัน แต่เนื่องจากเหตุที่ทำให้ต้องมาครองคู่กันนั้นเกิดจากเคยทำอกุศลกรรมร่วมกันไว้ในอดีต จึงต้องมารับวิบากกรรมร่วมกัน หรือเคยอาฆาตพยาบาทกันมาก่อนในอดีต จึงต้องมาอยู่ร่วมกันเพื่อแก้แค้นกันตามแรงพยาบาทนั้น คู่ประเภทนี้มักจะมีเหตุให้มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน ขัดอกขัดใจกัน อยู่ด้วยกันด้วยความทุกข์และเดือดร้อน หาความสุขไม่ได้

คู่บารมี คือ หญิงชายที่เป็นเนื้อคู่กัน เคยอยู่เป็นคู่ครองกันมากมากกว่าคู่อื่น และมีความตั้งใจที่จะเกื้อหนุนเป็นคู่ครองกันไป จนกว่าคู่ของตนจะได้สำเร็จในธรรมที่ปรารถนา

การปฎิบัติเพื่อให้คู่ครองมีความสุข
หญิงและชายที่รักกัน คงปรารถนาที่จะให้คนรักของตนเป็นเนื้อคู่ อยากให้ความรักของตนมีแต่ความสุขแต่บางคู่อาจมีการพลัดพราก ความรักจืดจาง จากหวานกลายเป็นขม บางคู่แม้จะยังรักกัน แต่การทำมาหากินกลับฝืดเคือง ชีวิตมีแต่อุปสรรค เหล่านี้ล้วนแต่เป็นทุกข์ที่เกิดเพราะความรัก เป็นวิบากที่เกิดจากการกระทำของทั้งสองฝ่าย หากหญิงและชายปรารถนาที่จะมีความรักและชีวิตที่ครอบครัวที่เป็นสุข จะต้องเป็นผู้ไม่สร้างอกุศลกรรม ดังนี้

๑. มีความมั่นคงในคู่ครองของตน ไม่เจ้าชู้หลายใจ ไม่ทำให้คู่ของตนผิดหวังชอกช้ำใจ โดยเฉพาะต้องมีสติมั่นคงเมื่อได้มีโอกาสได้พบกับเนื้อคู่คนอื่นๆ ที่อาจผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่งการได้เคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อนอาจทำให้จิตใจหวั่นไหวได้
๒. ไม่เป็นเหตุให้คู่ครองเขาต้องแตกแยกด้วยความอิจฉา ริษยา
๓. ไม่ล่วงศีลข้อ ๓
๔. ไม่ดูหมิ่นศาสนา หรือ สาวกทางศาสนา

การสร้างความสุขในชีวิตสมรส
ครอบครัวมีความสุข ชีวิตสมรสประสบความสำเร็จเป็นสิ่งที่ผู้ครองเรือนปรารถนา
แต่ครอบครัวมีความสุขเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับความคิดและความรู้สึกของแต่ละบุคคล
และแต่ละครอบครัว ตัวอย่างเช่น
ครอบครัวมีความสุข คือ ครอบครัวที่มีการศึกษาดี มีชื่อเสียง สังคมยอมรับ และยกย่อง
ครอบครัวมีความสุข คือ ครอบครัวที่มีความเข้าใจกัน เห็นอกเห็นใจ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง
สามัคคีกันเป็นอย่างดี
ครอบครัวมีความสุข คือ ครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยสวยงาม
มั่นคง คนในครอบครัวมีอาชีพและมีรายได้
ครอบครัวมีความสุข คือ ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวสมบูรณ์ครบถ้วน มีพ่อแม่
ลูกหลาน ปู่ ย่า ตา ยาย อยู่ร่วมกัน