แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปัน และส่งเสริมความรู้ ความเชื่อ ความเข้าใจ ในเรื่องทั่วไป ทั้งศาสนา วัฒนธรรม และสังคม โดย อาจารย์รีวัฒน์ เมืองสุริยา MA, Mdiv, BA,[ My web: {http://reewat.blogspot.com} { www.idmt.org} ]
ความเป็นมาของรวีวารศึกษา-ตอนที่ 2
ตอนที่ 2 โดยรีวัฒน์ เมืองสุริยา
เนื่องจากการเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ และนักหนังสือพิมพ์ โรเบิร์ท ไรเคส ได้ตีพิมพ์บทบรรณาธิการเกี่ยวกับการสอนรวีวารศึกษาในปี ค.ศ. 1983 เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ของเขาเป็นผลให้ การสอนรวีวารศึกษา แพร่หลายออกไปอย่างมาก ในปี ค.ศ.1985 มีการรวมตัวขององค์กรต่างๆ โดยไม่จำกัดคณะนิกายเพื่อจัดการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการจัดการสอนรวีวารศึกษา ต่อมาได้จัดตั้งเป็นสมาคมรวีวารศึกษา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือ และพัฒนางาน ด้านนี้ โรเบิร์ท ใช้โรงพิมพ์ของเขาจัดพิมพ์เอกสารประกอบการสอนมากมาย ซึ่งได้แก่ หนังสือหัดอ่าน การสะกดคำ คู่มือการเรียนพระคัมภีร์ ข้อพระคัมภีร์สำหรับชั้นรวีวารศึกษา ซึ่งคัดลอกจากพระคัมภีร์
ในประเทศอังกฤษในเขต North of England ใน เวลส์ (Wales) และพบว่ามีทั้งผู้ใหญ่และเด็กเข้าชั้นเรียนรวีวารศึกษาประมาณ 1800 คน ต่อมามีหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลสูง อีก 2 ฉบับ คือ “The Gentleman’s Magzine” และ “Armenian Magazine” ได้ตีพิมพ์แนวคิด การจัดชั้นรวีวารศึกษาของ โรเบิร์ท ไรเคส จนทำให้แนวคิดการสอนรวีวารศึกษาเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขว้าง
ผลจากการจัดการสอนรวีวารศึกษา ทำให้สถิติอาชญากรรมในพื้นที่เมือง ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เด็กๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถอ่านออกเขียนได้ ได้รับการอบรมบ่มนิสัยให้ดีขึ้น และมีความรู้พื้นฐานในความเชื่อทางศาสนา
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสอนรวีวารศึกษา เป็นที่สนใจของโบสถ์ต่างๆ และคริสเตียนกลุ่มต่างๆ ร่วมทั้งกลุ่มของ ฮันนา มอร์ (Hannah More) แ ละน้องสาวของเธอร่วมกันจัดทำหลักสูตร และ กิจกรรมต่างๆ ฮันนา มอร์และน้องสาว ได้คิดวิธีการสอนแบบต่างๆ ในชั้นเรียนรวีวารศึกษาให้น่าสนใจ และมีกิจกรรมที่สนุกสนาน มีโครงการสอนที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียนในช่วงอายุและวัยที่แตกต่างกันของผู้เข้าชั้นเรียน การสอนเน้นความหลากหลายตาม เพศ วัย ของผู้เรียนชั้นเรียน เน้นกิจกรรมที่น่ารื่นรมย์ มีการร้องเพลงเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กๆ
การสอนรวีวารศึกษาตอบสนองต่อความต้องการของ พ่อแม่ที่อยู่ในชนชั้น
กรรมาชีพ ที่ต้องการให้ลูกได้เรียนรู้ และเป็นการถ่ายทอดค่านิยม ที่ว่า ทุกคนต้องเป็นคนจริงจัง ทำงานหนัก มีวินัย ขยัน อดทน พัฒนาตนเอง และลัทธิที่เชื่อว่า ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน(Egalitarianism) และการอยู่ในระบอบคอมมูน (Communalism) การสอนรวีวารศึกษาในระยะนี้ไม่เพียงแต่เป็นการสอนเพื่อพัฒนาการทางด้านการอ่านออกเขียนได้ และความรู้ทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ของคนในชนชั้นกรรมาชีพด้วย
ในปี ค.ศ. 1831 การสอนรวีวารศึกษาในประเทศอังกฤษ เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นอย่างมาก มีเด็กเข้าชั้นเรียนในแต่ละอาทิตย์ประมาณถึง 1,250,000 คน ซึ่งเป็นค่าทางสถิติประมาณ ร้อยละ 25 ของประชากรขณะนั้น การสอนรวีวารศึกษาถือเป็นงานที่บุกเบิกด้านการสอน ในระบบโรงเรียน หรือโรงเรียนรัฐบาล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น