ความเป็นมาของรวีวารศึกษา-ตอนที่ 1

รวีวารศึกษา
โดย รีวัฒน์ เมืองสุริยา

ความหมาย
1. การศึกษาหรือโรงเรียนโดยทั่วไปที่มีความเกี่ยวข้องกับโบสถ์ หรือศาลาธรรมของชาวยิว ที่ให้การศึกษาอบรมทางด้านศาสนาสำหรับเด็กในวันอาทิตย์
2. ครูหรือ นักเรียนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอบรมทางด้านศาสนาในวันอาทิตย์

ประวัติและความเป็นมา

โรเบิร์ท ไรเคส เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1736 เสียชีวิต เมื่อ 5 เมษายน ค.ศ. 1811 (Robert Rikes of Gloucester 1735-1811 A.D.) เขาเป็นนักสังคมสงเคราะห์ และเป็นฆราวาส ในคณะ แองกลิกัน เกิดที่เมือง Gloucester เป็นบุตรคนโต ของ นาง Mary Drew และ นาย Robert Raikes ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ โรเบิร์ท ไรเคส มีภรรยาชื่อ นาง Anne Trigge มีบุตร 3 คน และธิดา 7 คน โรเบิร์ท ไรเคส มีบุคลิกร่าเริง ช่างพูด และเป็นคนใจดี เขาเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ และเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Gloucester Journal
แรงบันดาลใจอย่างหนึ่งที่ทำให้โรเบิร์ท จัดชั้นเรียนรวีวารศึกษา คือการที่เขาได้ไปเยี่ยมย่านสลัม หรือย่านเสื่อมโทรมของเมือง เขารู้สึกหดหู่ที่ได้เห็นความเสื่อมโทรมต่างๆ ที่เด็กได้รับ จากสภาพความเป็นอยู่ของเด็กที่รับจ้างทำงานในสถานที่เสื่อมโทรมขาด สวัสดิการ ไร้การศึกษา เขาจึงนำเรื่องไปปรึกษากับ ศาสนาจารย์ โทมัส สต๊อก (Thomas Stock) แห่งหมู่บ้าน Ashbury, Berkshire พวกเขาได้แนวคิดว่า เวลาที่ดีที่สุดที่จะสอนเด็กๆ คือวันอาทิตย์เพราะเป็นวันหยุดทางศาสนาคริสต์อยู่แล้ว และโรเบิร์ทเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทุกอย่างในการจัดชั้นเรียนรวีวารศึกษา

ในครั้งแรกที่เขาจัดการสอนชั้นรวีวารศึกษา มีผู้เข้าเรียนเป็นเด็กชายเพียง 1 คน แรงบันดาลใจด้านการจัดการเรียนการสอนอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เขาจัดชั้นเรียนเกิดขึ้นเมื่อเขาบังเอิญไปเห็นเด็กโตกำลังสอนเด็กเล็ก ต่อมาในชั้นเรียนก็มีเด็กหญิงเข้ามาเรียนด้วย ภายใน 2 ปี ชั้นเรียน มีโรงเรียนหลายแห่งเปิดสอนรอบๆ เมือง Gloucester ในการจัดการเรียนการสอน โรเบิร์ท ให้เด็กๆ อายุระหว่าง 6-14 ปี มาเรียนเวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา ร่วมชั้นเรียนจนถึงเที่ยงวัน แล้วให้กลับไปบ้าน แล้วมาใหม่ในเวลา 13.00 นาฬิกา หลังจากหัดอ่านหัดเขียนแล้ว เด็กๆ จะถูกพาไปโบสถ์ และสอน และจ้างให้ท่องข้อเชื่อต่างๆ จนถึงเวลา 17.00 น. เขาก็จะปล่อยเด็กให้กลับบ้าน โดยให้เด็กสัญญาว่าจะกลับไปบ้านอย่างเงียบๆ และไม่ทำเสียงดังวุ่นวาย เด็กๆที่มาเข้าชั้นเรียนในตอนแรกส่วนใหญ่เป็นเด็กมาจากครอบครัวยากจนมาก ขาดแคลนทุกอย่าง ตั้งแต่อาหาร เสื้อผ้า พ่อแม่ พ่อแม่ของพวกเขามักถูกจำคุก หรือตายจากไปแล้ว ขาดคนเลี้ยงดู บางครั้งเด็กๆ เหล่านี้ก็ถูกคุมขัง เจ็บป่วย เพราะทำงานหนักมากเกินกำลัง อยู่ในที่อาศัยที่คับแคบ สกปรก เด็กๆ ใส่เสื้อผ้าเก่า และขาด ไม่หวีผม มักจะมีการทะเลาะวิวาทกันบ่อย กับเด็กๆ ด้วยกัน

ในตอนแรกชั้นรวีวารศึกษาของ โรเบิร์ทถูกต่อต้านเนื่องจากมีคนคิดว่า การจัดการเรียนแบบนี้เป็น โรงเรียนรุ่งหริ่ง มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าการจัดชั้นเรียนของเขาเป็นการบ่อนทำลายระบบการศึกษาทางศาสนา และทำให้ความศักดิ์สิทธิของวันสะบาโต เสื่อมถอย และคริสเตียนไม่ควรรับจ้างในวันสะบาโต ในช่วงปี ค.ศ.1970 โรงเรียนหลายแห่งได้หยุดสอนการเขียน

โรเบิร์ท ไรเคส เป็นผู้จัดตั้งสมาพันธ์รวีวารศึกษา เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ.1782 มีการจัดตั้งชั้นเรียน ซึ่งในตอนแรกมีการจัดกิจกรรมทั้งในวันเสาร์ หรือวันอาทิตย์ สำหรับเด็กยากจนที่รับจ้างทำความสะอาดปล่องไฟตามโรงงาน และตามบ้าน ในเขต Sooty Alley, แห่งเมือง Gloucester ในปี ค.ศ. 1980 (Kelly 1970: 75)

แท้ที่จริงมีการจัดการเรียนการสอนให้อ่านพระคัมภีร์ และทักษะพื้นฐานต่างๆ ในวันอาทิตย์มาก่อนบ้าง ในกลุ่มคณะพิวริทัน(Putiran) และ พวก อีเวนเจลิคอล (Evangelical Congregations) ในเขตแคว้น เวลส์ (Wales) แต่โรเบิร์ทกลับได้รับการยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้บุกเบิก และทำให้การสอนรวีวารศึกษาวันอาทิตย์แพร่หลาย และขยายไปอย่างมากมาย ถึงประมาณ 400 แห่ง ในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศอังกฤษ

2 ความคิดเห็น: