ความเป็นมาของรวีวารศึกษา-ตอนที่ 4

การจัดการหลักสูตรรวีวารศึกษา

คำจำกัดความของหลักสูตรมาจากคำว่า “ลู่แข่งขัน”หลักสูตรเป็นแนวทางที่จะทำให้การทำให้เป้าหมายนั้นสำเร็จ สำหรับอุปกรณ์ประกอบหลักสูตรเช่น หนังสือครูหนังสือนักเรียน รูปภาพเกมท่องจำ ซึ่งในแต่ละอย่างนั้นก็จะมีวิธีใช้ที่แตกต่างกัน หลักสูตรที่วางแผนสำหรับผู้ใหญ่ ส่วนมากแล้ววัยหนุ่มสาวจะรู้สึกว่าเขาไม่ต้องการบทเรียนที่สอนทั่วไปเพราะพวกเขาได้ยินมาตลอด แต่บทเรียนนั้นต้องเป็นบทเรียนที่เฉพาะเจาะจงตรงกับสิ่งที่เขาสนใจ หรือการท้าทายการถวายตัวรับใช้ เช่นหลักสูตรการศึกษาพระคัมภีร์ จะเป็น การศึกษาพระคัมภีร์ทั้งเล่มหรือการหาความหมายสำหรับชีวิตของพวกเขา สำหรับหลักสูตรเลือกก็เป็นอีกแนวทางที่จะช่วยให้ผู้เรียนกับนักเรียนไปด้วยกันได้ และตรงตามความต้องการของผู้เรียนการจัดอบรมผู้นำ เป็นแนวทางที่จะทำให้มีคนหนุ่มสาวได้เริ่มในการรับใช้ช่วยให้คริสตจักรเข้มแข็งขึ้นอีกด้วย การเน้นหลักสูตรก็จะอยู่ใน 3 ด้าน คือ

1. พระคริสต์เป็นศูนย์กลาง
2. พระคัมภีร์เป็นรากฐาน
3. สัมพันธ์กับนักเรียน

การเลือกบทเรียนในการสอนจะอยู่ในบรรทัดฐานของเนื้อหาทาง
ศาสนศาสตร์ เนื้อหาบทเรียน รูปลักษณ์ของบทเรียน ความช่วยเหลือของครูและความช่วยเหลือของนักเรียนด้วย

วิธีการสอน

การสอนโดยการอธิบายพระคำของพระเจ้า ครูผู้บรรยายจะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจบทเรียนที่ตนสอนและต้องเตรียมพร้อมเป็นอย่างดีโดยคำนึงอยู่เสมอว่า ครูเป็นผู้เลี้ยงที่ต้องนำแกะไปยังทุ่งหญ้าเขียวสด การเกี่ยวข้องกับนักเรียน ครูนอกจากจะอภิปรายแล้วยังต้องเปิดโอกาสให้กับนักเรียนได้ถาม/ตอบด้วย และในการสอนนั้นต้องมีกิจกรรม เพราะสำหรับเด็กการเรียนรู้ไม่ใช่เป็นการนั่งเรียนในชั้นเรียนเท่านั้นเพราะการนั่งฟังไม่ใช่นิสัยของเด็ก การเรียนรู้ของเขาต้องครอบคลุมไม่จำเจ เด็กต้องการทักษะสิ่งใหม่ ๆ ที่เขาจะได้แสดงออกอยู่เสมอ ๆ กิจกรรมสามารถช่วยให้เด็กได้พัฒนาในด้านการแสดงออก เป็นการจินตนาการที่เขาตั้งใจไม่ว่าจะเป็น การวาดรูประบายสี หรืองานฝีมือต่าง ๆ การจัดห้องเรียนก็เป็นการเรียนบทเรียนไปในตัวเช่นการติดรูปที่เล่าเรื่องต่าง ๆ ในพระคัมภีร์ตามผนังห้องเรียน การสอนเด็กที่ดีครูต้องรู้จักให้กำลังใจแก่เด็กชมเขา สร้างวินัยให้แก่เขาให้กลายเป็นนิสัยส่วนตัวของเขา

การสร้างสาวกผ่านทางรวีวารศึกษา
เมื่อนักเรียนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาระดับหนึ่ง ครูรวีต้องมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องจนเขาสามารถหากินอาหารเองได้ การปลุกเร้าระดมให้ผู้เรียนได้อุทิศชีวิตของพวกเขาแด่พระเยซูคริสต์ อีกด้านหนึ่งคือ ครูเป็นแบบอย่างแก่แก่ผู้เรียนในการประกาศก็จะช่วยให้พวกเขาได้มีความกล้าหาญในการประกาศ โดยการมุ่งเน้นเป้าหมายมาที่ผู้เรียนจะช่วยให้เขาพัฒนาของประทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ครูผู้สอนไม่ควรมองข้ามอีกอย่างคือ การชมเชยในสิ่งที่ผู้เรียนได้ทำ จะเป็นการกระตุ้นให้เขามุ่งมั่นต่อไปที่จะทำดีเพราะเขารู้ว่าครูเห็นในสิ่งที่เขาทำ

กฎแห่งการเติบโตของงานรวีวารศึกษา
พระเจ้าทรงคาดหวังให้การเจริญเติบโตในด้านจำนวน (กจ.6.7) ขบวนการของรวีวารศึกษาคือการเจริญเติบโตและการเห็นผลของพระวิญญาณเกิดขึ้นในผู้เรียนด้วย ส่วนด้านความรู้เป็นสิ่งที่ควบคู่กันกับการเติบโตตัวอย่างจาก กจ.2.41-42 คนทั้งหลายได้ขะมักเขม้นฟังคำสอนของพวกอัครทูต

พื้นฐานการเจริญเติบโตของรวีวารศึกษาแบ่งออกเป็น 4 อย่างคือ
1. กฎแห่งการขยายออกไป
2. กฎแห่งวินัย
3. กฎแห่งการบริหารและการจัดองค์กร
4. กฎแห่งการเป็นผู้นำ ซึ่งกฎทั้งสี่นี้เป็นกุญแจแห่งการเจริญเติบโต

องค์ประกอบของการสร้างสาวก เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ใช้เทคนิคช่วยหรือการนำกิจกรรมเข้ามาช่วยหรือในการสอนมีกิจกรรมที่น่าสนใจ และสามารถนำคำสอนไปใช้ได้จริง การเป็นผู้นำที่ดีควรเป็นคนที่เข้ากับคนอื่นได้ดี เรียนรู้จักการใช้เทคนิคต่าง ๆ ส่วนฝ่ายวิญญาณต้องได้รับการทรงเรียกจากพระเจ้ามีความเข้าใจในพระคัมภีร์และสามารถะนำมาประยุกต์ใช้ได้

อนาคตของงานรวีวารศึกษา

งานรวีวารศึกษาเกิดขึ้นจากบุคคลที่มีความห่วงใยในชีวิตของคนที่ไม่มีใครสนใจจากบุคคลที่เป็นภาระของสังคมเป็นอันตรายต่อคนทั่ว ๆ ไปเป็นอันพาล กระจกส่องหลังที่เปี่ยมไปด้วยพลังที่เกิดผล หลังจากสงครามกลางเมืองสงบลง ปี 1866 จอห์น เอช วินเซนต์ ได้จัดทำหนังสือ ซันเดย์สคูล ทีเชอร์ ซึ่งเป็นระบบใหม่ของรวีวารศึกษา ในปี 1872 บทเรียนนี้ก็เป็นที่รู้จักกันในทุกคณะ แม้แต่ในแคนาดาก็ได้นำบทเรียนนี้ไปใช้ด้วย

สรุป

งานรวีวารศึกษา เป็นงานที่เริ่มต้นมาอย่างมีหลักการ และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง การศึกษาและพัฒนาด้านจิตวิญญาณของผู้เชื่อเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญอย่างยิ่งยวด การสอนพระวจนะของพระเจ้าคือวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เชื่อทุกระดับอายุ ทุกระดับความเชื่อมีการพัฒนาขึ้นไปสู่ความเจริญงอกงามทางด้านจิตวิญญาณ ความเชื่อ ความรัก และเป็นคริสเตียนที่เกิดผลอย่างแน่นอน

ความเป็นมาของรวีวารศึกษา-ตอนที่ 3

แนวคิดการจัดการสอนรวีวารศึกษา สำหรับคริสตจักรในประเทศไทย

รวีวารศึกษา เป็นการตอบสนองพระมหาบัญชาของพระเยซูคริสต์ ใน วลีที่บอกว่า “สอนให้พวกเขาถือสิ่งสารพัด” ในการจัดรวีวารศีกษา จะช่วยในการสอนอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากต่อสมาชิกผู้เชื่อในคริสตจักร ที่จะได้เรียนรู้พระคำของพระเจ้าอย่างเป็นระบบ จะช่วยทั้งในด้านหลักข้อเชื่อและการเจริญเติบโตในฝ่ายวิญญาณอย่างสมบูรณ์ ซึ่งรวีวารศึกษา เป็นมากกว่าบทเรียนที่นำมาขั้นเวลาในเช้าวันอาทิตย์เท่านั้น แต่รวีวารศึกษาเป็นเหมือนแขนที่เป็นอวัยวะที่สำคัญส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือเป็นอวัยวะที่สำคัญส่วนหนึ่งในคริสตจักรเช่นกัน รวีวารศึกษาไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะในคริสตจักรเท่านั้น แต่ยังเป็นแขนที่เอื้อมออกไป สู่สังคมข้างนอก นอกจากนี้เมื่อเราได้มีโอกาส ลงในพื้นที่ รวีวารศึกษายังช่วยให้ผู้หลงหายได้มีโอกาสเข้ามาร่วมสามัคคีธรรมกันในชั้นเรียนอีกด้วย ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือจากการสร้างคนผ่านทางรวีวารศึกษา มีคนหนุ่มสาวมากมายที่ถวายตัว รับใช้เพระเจ้าโดยการเป็นมิชชั่นนารี ออกไปประกาศต่างประเทศมากมายอีกด้วย

การจัดองค์กรรวีวารศึกษา
ในตอนเริ่มแรกการจัดระบบรวีวารศึกษายังไม่มีการปรับปรุงเท่าใดนัก เพราะขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดระบบ เมื่อคริสตจักรมีการเจริญเติบโต และมีผู้เชื่อหลายวัยอยู่ร่วมกัน การแบ่งการจัดการในลักษณะการวางแผนเป็นองค์กรรวีวารศึกษา จึงจำเป็นต่อการสอนตามวัย และขนาดความเชื่อ ซึ่งจัดแบ่งเป็นรวีชั้นต่าง ๆ ดังนี้

1. ชั้นรวีฯ เด็ก
2. รวีฯ ยุวชน
3. รวีฯ อนุชน
4. รวีฯ ผู้ใหญ่

ผู้สอนมีบทบาทและหน้าที่ช่วยให้นักเรียนเข้าสู่ความจริงของพระคัมภีร์ เปิดโอกาสให้เขาได้ถาม อภิปราย ตอบคำถามและที่สำคัญคือ ต้องไวต่อการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ด้วย เพื่อผู้เรียนจะได้รับความรู้และเติบโตในฝ่ายวิญญาณอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามรวีวารศึกษาต้องไปเคียงข้างกับคริสตจักรเป็นแขนที่เสริมสร้างให้คริสตจักรเจริญขึ้น

การบริหารงานรวีวารศึกษา
การบริหารรวีวารศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเมื่อคริสตจักรเติบโตขึ้น ศิษยาภิบาลเพียงคนเดียวไม่สามารถที่จะดูแลผู้เชื่อทั้งคริสตจักรได้ทั้งหมด ในการตั้งคณะกรรมการรวีวารศึกษานั้นผู้ที่เข้ามาต้องมีเป้าหมายเดียวกันคือ การสร้างสาวกของพระเยซูคริสต์ ต้องช่วยกันระดมความคิด จัดทำหลักสูตร อุปกรณ์และรายการต่าง ๆ ตามพระคำของพระเจ้าพระเจ้าทรงห่วงใยคนทุกชนชาติ เราจะเห็นได้จากหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 31.11-12 “จงเรียกประชาชนให้มาชุมนุมกัน ทั้งชายหญิงและเด็กและคนต่างด้าว” นำพระคัมภีร์ใหม่ พระเยซูเองก็เป็นผู้ที่ต้องการให้ทุกคนได้รับความรอด ในพระมหาบัญชาพระองค์ได้สั่งให้ออกไปสั่งสอนชนทุกชาติให้เป็นสาวกของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ยังไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องของพระเจ้าหรือผู้ที่หลงหายที่คนเหล่านี้จะได้กลับอยู่ในทางของเจ้าอีกครั้ง การจัดรีวารระศึกษายังทำให้คนโตเร็วและเข้มแข็งในความเชื่อ

การจัดการ ทำให้เราสามารถมองเห็นกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนทำให้เรารู้ว่าเราควรจะติดตามกลุ่มเป้าหมายกลุ่มไหน การทำศาสโนประชากร หารายชื่อผู้ที่ไม่ได้มาคริสตจักรประจำ คนที่เราพามาคริสตจักร เพื่อนบ้านของเรา หรือการจัดกิจกรรม เช่น การเล่นบัดดี้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การทุ่มเทของผู้นำที่ต้องขยันทุ่มเทพัฒนาบทเรียน สามารถแก้ไขสถานการเฉพาะหน้าได้ และเป็นผู้ที่ทุ่มเททั้งด้านร่างกายเวลา และด้านฝ่ายวิญญาณเป็นอย่างมาก

ความจำเป็นและหน้าที่ของผู้สอนรวีวารศึกษา

ความรับผิดชอบในการอภิบาลที่ทำหน้าที่การอภิบาลซึ่งครูรวีมีส่วนช่วยมาก เพราะศิษยาภิบาลคนเดียวไม่สามารถสอนทีเดียวหลายชั้นได้

ครูรวี จึงมีหน้าที่สำคัญอยู่สามอย่างด้วยกันคือ

1. นำฝูงแกะ
2. เลี้ยงฝูงแกะ
3. ป้องกันฝูงแกะ

คุณสมบัติของครูรวีคือ ต้องเป็นครูฝ่ายวิญญาณ ชีวิตส่วนตัวของครูต้องมีเวลาเฝ้าเดี่ยวกับพระเจ้า ในด้านการพัฒนาต้องได้รับการอบรมฝึกฝน มีการสร้างวินัยในตัวชีวิตของครูต้องสอดคล้องกับสิ่งที่เขาสอนด้วย


เป้าหมายหลัก 3 ประการในการสอนรวีวารศึกษา
1. เกี่ยวกับนักเรียน ครูผู้สอนต้องนำวิญญาณของนักเรียนทุกคนเข้ามาถึงพระเยซูคริสต์

2. เกี่ยวกับหลักสูตร ครูนำพระคำของพระเจ้าไปถึงผู้เรียน ในการเรียนครูต้องเตรียมอุปกรณ์สื่อการ สอนอย่างดีเยี่ยม

3. เกี่ยวกับงาน ในชั้นเรียนเราต้องรู้จักนักเรียนในชั้นเรียนของเราเป็นอย่างดีและนอกชั้นเรียนเราก็ควรติดต่อกับเขาอยู่เรื่อย ๆ


การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนการสอนรวีวารศึกษา

ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเป็นครูรวีวารศึกษาที่ดีได้ ดังนั้นการจัดอบรมครูรวีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับคนที่พระเจ้าเรียกให้รับใช้ การอบรมครูรวีจะช่วยเสริมทักษะใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นเรียนรู้จักการใช้สื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบข้างให้เป็นประโยชน์ รู้จักการผลิตสื่อการสอนปรับปรุงเทคนิคแนวคิดให้กว้างขึ้น นอกจากการฝึกอบรมพิเศษแล้ว ครูรวียังสามารถเรียนรู้ได้จากตารางของคริสตจักรท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย

มาตรฐานสำหรับงานรวีวารศึกษา


ขั้นตอนในการปรับปรุงรวีวารศึกษา มาตรฐานงานรวีวารศึกษา รวีวารศึกษาสอนเรื่องพันธสัญญา เป็นข้อตกลงระหว่างครูรวีกับฝ่ายรวีวารศึกษาซึ่งเป็นการตกลงกันเพื่อเป็นประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายครูต้องทำข้อตกลงเป็นลายลักอักษร หนึ่งปี บางที่ก็ใช้พันธสัญญาโดยคำพูดเท่านั้น เพื่อเป็นการรับรองการทำงาน

- กำหนดมาตรฐาน นโยบายต่าง ๆ

- กำหนดความต้องการ บุคลากร (ครูรวี)

- วิจัยความต้องการ การวางแผน

- ค้นหาจุดแข็ง ความก้าวหน้า

- ศึกษาบันทึกต่าง ๆ การออกไป

- การประเมินโดยการสังเกตการณ์ อุปกรณ์ต่าง ๆ

- ยุทธวิธีสำหรับการปรับปรุง

ความเป็นมาของรวีวารศึกษา-ตอนที่ 2



ตอนที่ 2 โดยรีวัฒน์ เมืองสุริยา

เนื่องจากการเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ และนักหนังสือพิมพ์ โรเบิร์ท ไรเคส ได้ตีพิมพ์บทบรรณาธิการเกี่ยวกับการสอนรวีวารศึกษาในปี ค.ศ. 1983 เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ของเขาเป็นผลให้ การสอนรวีวารศึกษา แพร่หลายออกไปอย่างมาก ในปี ค.ศ.1985 มีการรวมตัวขององค์กรต่างๆ โดยไม่จำกัดคณะนิกายเพื่อจัดการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการจัดการสอนรวีวารศึกษา ต่อมาได้จัดตั้งเป็นสมาคมรวีวารศึกษา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือ และพัฒนางาน ด้านนี้ โรเบิร์ท ใช้โรงพิมพ์ของเขาจัดพิมพ์เอกสารประกอบการสอนมากมาย ซึ่งได้แก่ หนังสือหัดอ่าน การสะกดคำ คู่มือการเรียนพระคัมภีร์ ข้อพระคัมภีร์สำหรับชั้นรวีวารศึกษา ซึ่งคัดลอกจากพระคัมภีร์

ในประเทศอังกฤษในเขต North of England ใน เวลส์ (Wales) และพบว่ามีทั้งผู้ใหญ่และเด็กเข้าชั้นเรียนรวีวารศึกษาประมาณ 1800 คน ต่อมามีหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลสูง อีก 2 ฉบับ คือ “The Gentleman’s Magzine” และ “Armenian Magazine” ได้ตีพิมพ์แนวคิด การจัดชั้นรวีวารศึกษาของ โรเบิร์ท ไรเคส จนทำให้แนวคิดการสอนรวีวารศึกษาเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขว้าง

ผลจากการจัดการสอนรวีวารศึกษา ทำให้สถิติอาชญากรรมในพื้นที่เมือง ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เด็กๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถอ่านออกเขียนได้ ได้รับการอบรมบ่มนิสัยให้ดีขึ้น และมีความรู้พื้นฐานในความเชื่อทางศาสนา

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสอนรวีวารศึกษา เป็นที่สนใจของโบสถ์ต่างๆ และคริสเตียนกลุ่มต่างๆ ร่วมทั้งกลุ่มของ ฮันนา มอร์ (Hannah More) แ ละน้องสาวของเธอร่วมกันจัดทำหลักสูตร และ กิจกรรมต่างๆ ฮันนา มอร์และน้องสาว ได้คิดวิธีการสอนแบบต่างๆ ในชั้นเรียนรวีวารศึกษาให้น่าสนใจ และมีกิจกรรมที่สนุกสนาน มีโครงการสอนที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียนในช่วงอายุและวัยที่แตกต่างกันของผู้เข้าชั้นเรียน การสอนเน้นความหลากหลายตาม เพศ วัย ของผู้เรียนชั้นเรียน เน้นกิจกรรมที่น่ารื่นรมย์ มีการร้องเพลงเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กๆ

การสอนรวีวารศึกษาตอบสนองต่อความต้องการของ พ่อแม่ที่อยู่ในชนชั้น
กรรมาชีพ ที่ต้องการให้ลูกได้เรียนรู้ และเป็นการถ่ายทอดค่านิยม ที่ว่า ทุกคนต้องเป็นคนจริงจัง ทำงานหนัก มีวินัย ขยัน อดทน พัฒนาตนเอง และลัทธิที่เชื่อว่า ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน(Egalitarianism) และการอยู่ในระบอบคอมมูน (Communalism) การสอนรวีวารศึกษาในระยะนี้ไม่เพียงแต่เป็นการสอนเพื่อพัฒนาการทางด้านการอ่านออกเขียนได้ และความรู้ทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ของคนในชนชั้นกรรมาชีพด้วย

ในปี ค.ศ. 1831 การสอนรวีวารศึกษาในประเทศอังกฤษ เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นอย่างมาก มีเด็กเข้าชั้นเรียนในแต่ละอาทิตย์ประมาณถึง 1,250,000 คน ซึ่งเป็นค่าทางสถิติประมาณ ร้อยละ 25 ของประชากรขณะนั้น การสอนรวีวารศึกษาถือเป็นงานที่บุกเบิกด้านการสอน ในระบบโรงเรียน หรือโรงเรียนรัฐบาล

ความเป็นมาของรวีวารศึกษา-ตอนที่ 1

รวีวารศึกษา
โดย รีวัฒน์ เมืองสุริยา

ความหมาย
1. การศึกษาหรือโรงเรียนโดยทั่วไปที่มีความเกี่ยวข้องกับโบสถ์ หรือศาลาธรรมของชาวยิว ที่ให้การศึกษาอบรมทางด้านศาสนาสำหรับเด็กในวันอาทิตย์
2. ครูหรือ นักเรียนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอบรมทางด้านศาสนาในวันอาทิตย์

ประวัติและความเป็นมา

โรเบิร์ท ไรเคส เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1736 เสียชีวิต เมื่อ 5 เมษายน ค.ศ. 1811 (Robert Rikes of Gloucester 1735-1811 A.D.) เขาเป็นนักสังคมสงเคราะห์ และเป็นฆราวาส ในคณะ แองกลิกัน เกิดที่เมือง Gloucester เป็นบุตรคนโต ของ นาง Mary Drew และ นาย Robert Raikes ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ โรเบิร์ท ไรเคส มีภรรยาชื่อ นาง Anne Trigge มีบุตร 3 คน และธิดา 7 คน โรเบิร์ท ไรเคส มีบุคลิกร่าเริง ช่างพูด และเป็นคนใจดี เขาเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ และเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Gloucester Journal
แรงบันดาลใจอย่างหนึ่งที่ทำให้โรเบิร์ท จัดชั้นเรียนรวีวารศึกษา คือการที่เขาได้ไปเยี่ยมย่านสลัม หรือย่านเสื่อมโทรมของเมือง เขารู้สึกหดหู่ที่ได้เห็นความเสื่อมโทรมต่างๆ ที่เด็กได้รับ จากสภาพความเป็นอยู่ของเด็กที่รับจ้างทำงานในสถานที่เสื่อมโทรมขาด สวัสดิการ ไร้การศึกษา เขาจึงนำเรื่องไปปรึกษากับ ศาสนาจารย์ โทมัส สต๊อก (Thomas Stock) แห่งหมู่บ้าน Ashbury, Berkshire พวกเขาได้แนวคิดว่า เวลาที่ดีที่สุดที่จะสอนเด็กๆ คือวันอาทิตย์เพราะเป็นวันหยุดทางศาสนาคริสต์อยู่แล้ว และโรเบิร์ทเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทุกอย่างในการจัดชั้นเรียนรวีวารศึกษา

ในครั้งแรกที่เขาจัดการสอนชั้นรวีวารศึกษา มีผู้เข้าเรียนเป็นเด็กชายเพียง 1 คน แรงบันดาลใจด้านการจัดการเรียนการสอนอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เขาจัดชั้นเรียนเกิดขึ้นเมื่อเขาบังเอิญไปเห็นเด็กโตกำลังสอนเด็กเล็ก ต่อมาในชั้นเรียนก็มีเด็กหญิงเข้ามาเรียนด้วย ภายใน 2 ปี ชั้นเรียน มีโรงเรียนหลายแห่งเปิดสอนรอบๆ เมือง Gloucester ในการจัดการเรียนการสอน โรเบิร์ท ให้เด็กๆ อายุระหว่าง 6-14 ปี มาเรียนเวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา ร่วมชั้นเรียนจนถึงเที่ยงวัน แล้วให้กลับไปบ้าน แล้วมาใหม่ในเวลา 13.00 นาฬิกา หลังจากหัดอ่านหัดเขียนแล้ว เด็กๆ จะถูกพาไปโบสถ์ และสอน และจ้างให้ท่องข้อเชื่อต่างๆ จนถึงเวลา 17.00 น. เขาก็จะปล่อยเด็กให้กลับบ้าน โดยให้เด็กสัญญาว่าจะกลับไปบ้านอย่างเงียบๆ และไม่ทำเสียงดังวุ่นวาย เด็กๆที่มาเข้าชั้นเรียนในตอนแรกส่วนใหญ่เป็นเด็กมาจากครอบครัวยากจนมาก ขาดแคลนทุกอย่าง ตั้งแต่อาหาร เสื้อผ้า พ่อแม่ พ่อแม่ของพวกเขามักถูกจำคุก หรือตายจากไปแล้ว ขาดคนเลี้ยงดู บางครั้งเด็กๆ เหล่านี้ก็ถูกคุมขัง เจ็บป่วย เพราะทำงานหนักมากเกินกำลัง อยู่ในที่อาศัยที่คับแคบ สกปรก เด็กๆ ใส่เสื้อผ้าเก่า และขาด ไม่หวีผม มักจะมีการทะเลาะวิวาทกันบ่อย กับเด็กๆ ด้วยกัน

ในตอนแรกชั้นรวีวารศึกษาของ โรเบิร์ทถูกต่อต้านเนื่องจากมีคนคิดว่า การจัดการเรียนแบบนี้เป็น โรงเรียนรุ่งหริ่ง มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าการจัดชั้นเรียนของเขาเป็นการบ่อนทำลายระบบการศึกษาทางศาสนา และทำให้ความศักดิ์สิทธิของวันสะบาโต เสื่อมถอย และคริสเตียนไม่ควรรับจ้างในวันสะบาโต ในช่วงปี ค.ศ.1970 โรงเรียนหลายแห่งได้หยุดสอนการเขียน

โรเบิร์ท ไรเคส เป็นผู้จัดตั้งสมาพันธ์รวีวารศึกษา เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ.1782 มีการจัดตั้งชั้นเรียน ซึ่งในตอนแรกมีการจัดกิจกรรมทั้งในวันเสาร์ หรือวันอาทิตย์ สำหรับเด็กยากจนที่รับจ้างทำความสะอาดปล่องไฟตามโรงงาน และตามบ้าน ในเขต Sooty Alley, แห่งเมือง Gloucester ในปี ค.ศ. 1980 (Kelly 1970: 75)

แท้ที่จริงมีการจัดการเรียนการสอนให้อ่านพระคัมภีร์ และทักษะพื้นฐานต่างๆ ในวันอาทิตย์มาก่อนบ้าง ในกลุ่มคณะพิวริทัน(Putiran) และ พวก อีเวนเจลิคอล (Evangelical Congregations) ในเขตแคว้น เวลส์ (Wales) แต่โรเบิร์ทกลับได้รับการยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้บุกเบิก และทำให้การสอนรวีวารศึกษาวันอาทิตย์แพร่หลาย และขยายไปอย่างมากมาย ถึงประมาณ 400 แห่ง ในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศอังกฤษ

ความเป็นมาของพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ภาคภาษาไทย

ข้อควรรู้เกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล

Bible มาจากคำว่า Biblia ซึ่งเป็นภาษาละตินและภาษากรีก หมายถึง หนังสือหลายเล่ม เป็นคัมภีร์ที่ชาวคริสต์ถือว่าเป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์ โดยมีความเชื่อว่า เป็นพระวจนะของพระเจ้าที่ตรัสผ่านมนุษย์ด้วยวิธีการดลใจให้บุคคลต่างๆ บันทึกขึ้นเพื่อเปิดเผยรหัสธรรมเกี่ยวกับพระเจ้า ความเป็นมาของโลกและมนุษย์ รวมถึงจุดมุ่งหมายของชีวิต เพื่อให้มนุษย์ได้อยู่ร่วมกับพระเจ้าอีกครั้ง
คัมภีร์ไบเบิลแบ่งออกเป็นสองภาค คือ ภาคพันธสัญญาเดิม มีทั้งหมด ๓๙ เล่ม (นิกายคาทอลิกมีภาคอธิกธรรมเพิ่มอีก ๗ เล่ม) บันทึกด้วยภาษาฮีบรู เป็นเรื่องราวตั้งแต่สมัยการสร้างโลก ประวัติศาสตร์ของชนชาติอิสราเอล สุภาษิต เพลงสดุดี และคำพยากรณ์เกี่ยวกับการมาถึงของพระผู้ไถ่และวันพิพากษาโลก และ ภาคพันธสัญญาใหม่ มี ๒๗ เล่ม บันทึกด้วยภาษากรีกแบบคอยเนีย เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติของพระเยซู กิจการของอัครทูตและบรรดาจดหมายของสาวกของพระเยซู รวมถึงหนังสือวิวรณ์ซึ่งเป็นเล่มสุดท้าย เมื่อรวมทั้งสองภาคแล้วจะเป็นหนังสือถึง ๖๖ เล่ม

ความเป็นมาของคัมภีร์ไบเบิล
เชื่อกันว่าคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาเดิม ได้รับการบันทึกขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ ๑,๔๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นหนังสือที่ว่าด้วยกฎหมายซึ่งชาวยิวเรียกว่า “โตราห์ (Torah)” หรือหนังสือห้าเล่ม (Pentateuch) ประกอบด้วยปฐมกาล อพยพ เลวีนิติ กันดารวิถี และเฉลยธรรมบัญญัติ ซึ่งชาวยิวและชาวคริสต์ยุคแรกเชื่อว่า โมเสส (Moses) เป็นผู้บันทึกขึ้น ครั้นต่อมาในปลายศตวรรษที่ ๑๘ ได้มีการศึกษาวิเคราะห์จนเป็นที่ยอมรับกันว่า หนังสือห้าเล่มนี้เกิดจากการนำเอาข้อเขียนสี่ชิ้นมารวมกัน ได้รับการบันทึกไว้ต่างเวลาและต่างสถานที่ โดยบันทึกขึ้นเมื่อประมาณศตวรรษที่ ๙ ก่อนคริสตศักราช เนื้อหาต่างๆ ได้รับการถ่ายทอดเป็นมุขปาฐะมาจากยุคของโมเสส และเป็นการปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นประเพณีที่อ้างอำนาจของโมเสสเป็นผู้กำหนด

พระคัมภีร์เดิมนอกเหนือจากโตราห์ ตั้งแต่โยชูวา จนถึงมาลาคี ได้รับการบันทึกขึ้นโดย บุคคลสามกลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มปุโรหิต เป็นตระกูลที่มีเชื้อสายของอาโรน พี่ชายของโมเสส มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา เป็นผู้สอน ดูแลวิหาร ดูแลการเขียนและการคัดลอกพระคัมภีร์ กลุ่มผู้เผยวจนะ เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้ง มีหน้าที่เขียนบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการพูดและบันทึกสิ่งที่พระเจ้าตรัส และกลุ่มนักปราชญ์ ผู้รู้ หรือนักประพันธ์บทกลอน เพลง สดุดี และสุภาษิต

พระคัมภีร์เดิมฉบับที่แปลจากภาษาฮีบรูเป็นภาษากรีก เพื่อให้หมู่ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศที่ไม่รู้ภาษาฮีบรูสามารถอ่านได้ โดยเฉพาะเชลยที่กลับมาจากบาบิโลน และที่ไปอาศัยอยู่ในเมืองอเล็กซานเดรียทางตอนเหนือของอียิปต์ซึ่งพูดภาษากรีกเป็นหลัก ไม่พบหลักฐานการแปลพระคัมภีร์ฉบับนี้นอกจากตำนานที่พบเกี่ยวกับการแปลหมวดเบญจบรรณ (ปฐมกาล-เฉลยธรรมบัญญัติ) จากจดหมายฉบับหนึ่งอ้างว่าให้มีการแปลเนื่องจากกษัตริย์กรีก ฟิลาเดลปัส (Philadelphus) ที่ปกครองในช่วง ๒๘๕-๒๔๗ ก่อนคริสต์ศักราช ต้องการมีพระคัมภีร์ของยิวไว้ในหอสมุด จึงขอผู้เชี่ยวชาญ ๗๒ คนจากยูดาห์มาร่วมแปล เรียกว่า เซปทัวจินต์ (Septuagint) แปลว่า เจ็ดสิบ ใช้ตัวเลขของโรมัน LXX เป็นสัญลักษณ์

ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. ๔๐-๕๐ เริ่มมีการรวบรวมจดหมายฝากของอัครทูตเปาโล ๑๓ ฉบับ ที่เขียนถึงประชาคมชาวคริสต์ในอาณาจักรโรมัน มาระโกได้เขียนพระวรสารขึ้นในช่วงบั้นปลายชีวิตของเซนต์ปีเตอร์ หรือหลังมรณภาพของเซนต์ปีเตอร์ไม่นานราวปี ค.ศ. ๖๔ มัทธิวฉบับภาษากรีกและลูกาเขียนในช่วงระหว่างปี ค.ศ. ๗๐-๘๐ ก่อนหรือหลังการทำลายกรุงเยรูซาเล็มโดยชาวโรมัน ทั้งหมดเป็นการบันทึกเหตุการณ์และคำสั่งสอนของพระเยซู ซึ่งกลายเป็นพระกิตติคุณ ๔ เล่มได้แก่ มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น ยังมีหนังสือกิจการของอัครสาวก ซึ่งเป็นประวัติของคริสตจักรในช่วง ๓๐ ปีแรก ต่อมารวบรวมจดหมายฉบับอื่นๆ ของสาวกที่ช่วยสอนและตอบปัญหาของคริสตชนที่พบในชีวิตประจำวัน และหนังสือวิวรณ์ ที่เขียนขึ้นเพื่อหนุนใจบรรดาคริสเตียนที่ถูกรัฐบาลโรมันข่มเหง หนังสือทั้งหมดมี ๒๗ เล่ม เรียกว่า คัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาใหม่ โดยใช้เวลารวบรวมนานถึง ๓๐๐ ปี

สมัยจักรพรรดิคอนสแตนติน ได้มีการรับรองคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิโรมันในปี ค.ศ. ๓๑๓ ทำให้คริสต์ศาสนาเจริญรุ่งเรือง จึงเริ่มมีการปลอมปนความคิดความเชื่อมากขึ้น พระคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาใหม่เริ่มได้รับการรับรองให้ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการดำเนินชีวิตของคริสตชน และเริ่มมีการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาลาติน หรือฉบับวัลเกต โดยเจอโรม (ค.ศ. ๓๔๐-๔๒๐) ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ที่ใช้อย่างเป็นทางการในคริสตจักรโรมันคาทอลิกเป็นเวลานานถึง ๑,๕๐๐ ปี

เมื่อผ่านพ้นยุคมืดอันยาวนานหลายศตวรรษ ซึ่งชาวคริสต์สามัญถูกปิดกั้นมิให้เข้าถึงพระคัมภีร์ ทำให้เกิดกระแสความคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปศาสนาขึ้นในหลายประเทศ จอห์น ไวคลิฟฟ์ (John Wycliffe ค.ศ. ๑๓๒๔-๑๓๘๔) ชาวอังกฤษ จอห์น ฮัลส์ (John Huss ค.ศ. ๑๓๖๙-๑๔๑๕) ชาวเช็ก มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther ค.ศ. ๑๔๘๓-๑๕๔๖) ชาวเยอรมัน อุลริช ซวิงลี (Ulrich Zwingli ค.ศ. ๑๔๘๔-๑๕๓๑) ชาวสวิส จอห์น คาลวิน (John Calvin ค.ศ. ๑๕๐๙-๑๕๔๖) ชาวฝรั่งเศส ต่างไม่พอใจการปกครองของคาทอลิก จนเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาในที่สุด และแตกเป็นนิกายโปรเตสแตนท์อย่างเป็นทางการในปี ๑๕๒๙ ความเห็นข้อหนึ่งของลูเธอร์คือการเรียกร้องให้สามัญชนมีสิทธิ์อ่านพระคัมภีร์ หลายคนจึงเริ่มแปลพระคัมภีร์ออกเป็นภาษาต่างๆ และได้มีการพิมพ์พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษทั้งเล่มออกมาในปี ค.ศ. ๑๕๓๕ โดย ไมล์ส คัฟเวอร์เดล

พระสันตะปาปายอห์นที่ ๒๓ (ถึงแก่อสัญกรรมปี ๑๙๖๓) เป็นผู้ประกาศให้มีสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง โดยเชิญพระสังฆราชเข้าร่วม ๒,๘๖๐ องค์ เปิดประชุมเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๑๙๖๒ จนถึงวันที่ ๘ ธันวาคม ๑๙๖๕ โดยมีพระสันตะปาปาปอลที่ ๖ เป็นประธาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อพิจารณาสภาพการณ์ของโลกปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และพยายามหาคำตอบจากจุดยืนทางศาสนาให้กับสังคมปัจจุบัน การสังคายนาสิ้นสุดลงพร้อมด้วยเอกสาร ๑๖ ฉบับ ซึ่งบรรดาสังฆราชได้ลงมติด้วยการออกเสียงสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ ประกอบด้วยพระธรรมนูญ ๔ ฉบับ กฤษฎีกา ๙ ฉบับและปฏิญญา ๓ ฉบับ ว่าด้วยพระศาสนจักร การเปิดเผยของพระเจ้า พิธีกรรม การปฏิรูปชีวิตนักบวช การประกาศศาสนา เอกภาพของนิกายต่างๆ ในคริสต์ศาสนา ความสัมพันธ์กับศาสนาต่างๆ เสรีภาพในการนับถือศาสนา ฯลฯ

หลักฐานการแปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาไทย
ปี ค.ศ. ๑๖๖๒ คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้มีการตั้งศูนย์คริสตจักรขึ้น คณะบาทหลวงได้แปลหนังสือพระวรสาร หรือประวัติของพระเยซูจากพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มเป็นภาษาไทยในปี ค.ศ. ๑๖๖๔ โดยเขียนบนกระดาษสา หนังสือนี้มีชื่อว่า พระพุทธเยซู

นางแอนนา จัดสัน ภรรยาของอาโดนีรัม จัดสัน มิชชันนารีที่ทำงานในประเทศพม่า ได้ศึกษาภาษาไทยจากเชลยศึกชาวสยามที่ถูกกวาดต้อนมาครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก แอนนาได้แปลพระธรรมลูกาและหลักความเชื่อของคริสต์ศาสนาเป็นภาษาไทย เพื่อเผยแพร่แก่เชลยศึกชาวสยามเหล่านั้น พระธรรมเล่มนี้ถูกตีพิมพ์ในประเทศอินเดียเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๑๙

ในปี ค.ศ. ๑๘๒๘ มิชชันนารีคณะแรกจากสมาคมมิชชันนารีลอนดอน มีศาสนาจารย์คาร์ล กุทสล๊าฟ ชาวเยอรมันและศาสนาจารย์ยากอบ ทอมลิน เริ่มเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในกรุงเทพฯ ทั้งสองได้ร่วมกันแปลพระวรสารทั้งสี่เล่มออกเป็นภาษาไทย โดยเริ่มจากพระธรรมลูกา จัดพิมพ์ขึ้นที่สิงคโปร์ในปี ค.ศ. ๑๘๓๔ เมื่อเห็นว่างานดำเนินไปด้วยดี จึงได้ขอคณะกรรมาธิการอเมริกันเพื่องานธรรมทูตต่างประเทศให้ส่งมิชชันนารีมาเพิ่ม และได้ติดต่อคณะอเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่นในพม่าให้ส่งคนมาช่วย ศาสนาจารย์ยอห์น เทเลอร์ โจนส์ จึงได้มาพร้อมกับครอบครัวในปี ค.ศ. ๑๘๓๓ และได้เริ่มแปลคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาใหม่ทั้งหมดเป็นภาษาไทย

สมาคมพระคริสตธรรมอเมริกาได้ร่วมมือกับยูเนียนแบ๊บติสต์มิชชั่น และอเมริกันบอร์ดออฟมิชชั่น แปลพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มขึ้นใหม่ แก้ไขและจัดพิมพ์ในปี ค.ศ. ๑๘๔๙ และได้ทำการแก้ไขปรับปรุงเล่มอื่นๆ ด้วย รวมถึงการแก้ไขและจัดพิมพ์คัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาใหม่ ครั้นถึงปี ค.ศ. ๑๘๘๓ พระคัมภีร์ภาษาไทยทั้งภาคพันธสัญญาเดิม และ ภาคพันธสัญญาใหม่ได้รับการแปลเสร็จเรียบร้อย และจัดพิมพ์แยกเล่มโดยสมาคมพระคริสตธรรมอเมริกา

ปี ค.ศ. ๑๘๖๑ คณะเพรสไบทีเรียนได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในกรุงเทพฯ เพื่อจัดพิมพ์พระคัมภีร์ออกเผยแพร่โดยร่วมกับสมาคมพระคริสตธรรมอเมริกาจัดพิมพ์พระคัมภีร์ที่แปลเป็นภาษาไทยออกจำหน่ายในสมัยนั้น และได้จัดพิมพ์พระคัมภีร์ทั้งเล่มได้สำเร็จในวันที่ ๑๖ กันยายน ๑๘๙๔ โดยพิมพ์บทเพลงซาโลมอนออกมาเป็นเล่มสุดท้าย

ครั้นถึงปี ค.ศ. ๑๙๔๐ ศาสนาจารย์โรเบิร์ต อาร์ แฟรงกลิน ได้พิมพ์พระคัมภีร์ฉบับสมบูรณ์ออกมา ซึ่งมีคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาใหม่ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. ๑๙๓๐ และคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาเดิมซึ่ง ดร.ดาร์ริงตันแปล จนเป็นที่แพร่หลายและเป็นต้นแบบของพระคัมภีร์ในปัจจุบัน ซึ่งชื่อของพระคัมภีร์แต่ละเล่มใช้ชื่อภาษาอังกฤษตามแบบโบราณ

ได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจทานแก้ไขพระคัมภีร์อีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. ๑๙๕๔ โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายโปรเตสแตนต์และฝ่ายคาทอลิก มีกรรมการยกร่างคำแปลสามคน กรรมการตรวจสอบแก้ไขฉบับยกร่างแปดคน กรรมการที่ปรึกษา ๒๕ คน งานแก้ไขครั้งนี้ใช้เวลานานถึง ๑๓ ปี เนื่องจากต้องการแก้ไขการแปลให้ถูกต้องตามต้นฉบับมากที่สุด โดยการเทียบฉบับภาคพันธสัญญาเดิมกับต้นฉบับภาษาฮีบรู และเทียบฉบับภาคพันธสัญญาใหม่กับต้นฉบับภาษากรีก ซึ่งเป็นภาษาเดิมที่ใช้ในการบันทึก ขั้นสุดท้ายต้องให้นักลีลาภาษาไทยมาช่วยขัดเกลาภาษาให้ทันสมัยยิ่งขึ้น พระคัมภีร์ภาษาไทยฉบับนี้แก้ไขเสร็จสมบูรณ์และจัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกที่ฮ่องกง ในปี ค.ศ. ๑๙๗๑

สมาคมพระคริสตธรรมไทยได้แปลพระคัมภีร์ภาษาไทยขึ้นอีกสำนวนหนึ่ง โดยเน้นภาษาที่ทันสมัย มีความสละสลวย เพื่อให้คนอ่านทั่วไปสามารถอ่านได้เข้าใจง่ายขึ้น เรียกว่า “พระวจนะสำหรับยุคใหม่” หรือฉบับ “ประชานิยม” โดยมีบุคคลหลายท่านจากฝ่ายโปรเตสแตนต์และฝ่ายคาทอลิก มาเป็นคณะกรรมการตรวจสอบแก้ไขการแปล โดยภาคพันธสัญญาเดิมได้เพิ่มบทอธิกธรรมไว้ด้วย ซึ่งเป็นหนังสือเจ็ดเล่มที่ฝ่ายคาทอลิกยอมรับ แต่ฝ่ายโปรเตสแตนต์ไม่ยอมรับ แปลเสร็จและจัดพิมพ์ภาคพันธสัญญาเดิมในปี ค.ศ. ๑๙๗๗ และจัดพิมพ์ภาคพันธสัญญาใหม่ในปี ค.ศ. ๑๙๘๐ และจัดพิมพ์รวมเล่มออกมาในปี ค.ศ. ๑๙๘๔

พระคริสตธรรม คัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ฉบับมาตรฐาน ค.ศ. ๒๐๐๒ เป็นฉบับที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงคำแปลจากฉบับปี ๑๙๗๑ เนื่องจากภาษาไทยมีการพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา โครงการแก้ไขคำแปลจึงเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๙๗ มีผู้แปลซึ่งเป็นกรรมการยกร่างคำแปลทำหน้าที่พิจารณาแก้ไขคำแปล ประกอบด้วยคณาจารย์และนักวิชาการที่มีความรู้ภาษากรีกและฮีบรู ซึ่งผ่านอบรมจากสมาคมพระคริสตธรรมไทย กรรมการตรวจสอบทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและเสนอแนะในการแก้ไขคำแปล กรรมการที่ปรึกษาประกอบด้วยผู้นำคริสตจักร ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในแง่ผลกระทบของการแปลต่อคริสตจักรโดยรวม เมื่อผ่านกระบวนการยกร่างและพิจารณาข้อเสนอแนะจากการตรวจไขว้โดยผู้ยกร่างพระธรรมเล่มอื่นแล้ว จึงส่งให้ที่ปรึกษาฝ่ายการแปลของสหสมาคมพระคริสตธรรมสากลตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง แล้วให้นักลีลาภาษาขัดเกลาภาษาเป็นขั้นตอนสุดท้าย แล้วเสร็จทั้งเล่มในปี ค.ศ.๒๐๐๒

เบญจบรรณ ฉบับมาตรฐาน ๒๐๐๖ เป็นหมวดหนึ่งของพระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม ประกอบด้วยพระธรรมห้าเล่มแรกคือ ปฐมกาล อพยพ เลวีนิติ กันดารวิถี และเฉลยธรรมบัญญัติ ได้รับการแก้ไขคำแปลใหม่จากฉบับ ๑๙๗๑ เริ่มแก้ไขคำแปลพระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิมในปี ค.ศ. ๑๙๙๙ โดยพยายามแปลให้มีเนื้อความสอดคล้องกับสำเนาฉบับภาษาฮีบรูให้มากที่สุด และเลือกใช้ภาษาไทยที่อ่านเข้าใจได้ง่าย โดยคณะกรรมการยกร่างฯ ได้ยึดหลักเกณฑ์เดียวกับการแก้ไขคำแปลพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ และมีมติให้ผลักดันพระคัมภีร์เดิมหมวดประวัติศาสตร์ (โยชูวา-เอสเธอร์) เป็นหมวดต่อไปที่จะจัดพิมพ์ต่อจากพระธรรมสดุดี ซึ่งจะสิ้นสุดกระบวนการยกร่าง และจัดพิมพ์ราวปลายปี ค.ศ. ๒๐๐๘ และคาดว่าจะแปลเสร็จทั้งเล่มในปี ค.ศ. ๒๐๑๐


เขียนโดย นิตยสารสานแสงอรุณปีที่ 11 ฉบับที่ 4

หนังสือประกอบการเขียน
ศาสนาคริสต์ , เสรี พงศ์พิศ เขียน, พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๒๙ (ไม่ระบุสำนักพิมพ์)
พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม ฉบับ 1971 และพระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ ฉบับมาตรฐาน 2002, สมาคมพระคริสตธรรมไทย: 2006
เบญจบรรณ ฉบับมาตรฐาน 2006, สมาคมพระคริสตธรรมไทย: 2006
ขอบคุณพิเศษ
ศจ.ดร.เสรี หล่อกัณภัย แห่งสมาคมพระคริสตธรรมไทย ที่กรุณาให้สัมภาษณ์และเอื้อเฟื้อข้อมูล

พระคัมภีร์น่าเชื่อถือเพราะอะไร

10 reasons to believe in the Bible
บันทึก:

1. ความตรงไปตรงมา

พระ คัมภีร์ช่างซื่อตรงยิ่งนัก แม้ความจริงจะเจ็บปวดก็ตาม พระคัมภีร์ชี้ว่ายาโคบ ผู้เป็นบิดาแห่ง "ชนชาติที่ได้รับการเลือกสรร" เป็นคนหลอกลวง และยังบรรยาย ถึงโมเสสผู้มอบพระบัญญัติว่าเป็นผู้นำที่ไม่มีความมั่นคงและโลเล ซึ่งก่อนที่ท่านจะ มาช่วยเหลือชนชาติของท่านนั้น ท่านได้ฆ่าคนแล้วหลบหนีไปยังทะเลทราย

• พระคัมภีร์ ไม่เพียงกล่าวถึงกษัตริย์ดาวิดว่าเป็นกษัตริย์ แม่ทัพและผู้นำฝ่ายวิญญาณที่อิสราเอล รักมากที่สุดเท่านั้น แต่ยัง กล่าวว่าพระองค์ได้เอาภรรยาของคนอื่นมา และได้วางอุบาย ให้สามีของนางถูกฆ่าเพื่อปกปิดความบาปของพระองค์เอง ในแง่หนึ่ง พระคัมภีร์ได้ กล่าวโทษคนของพระเจ้าคือชนชาติอิสราเอลว่า เลวร้ายมากยิ่งกว่าเมืองโสโดมและเมือง โกโมราห์เสียอีก (อสค.16:46-52)
• พระคัมภีร์แสดงถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นศัตรูกับ พระเจ้า และยังทำนายถึงอนาคตที่เต็มไปด้วยปัญหา พระคัมภีร์สอนว่า ทางไปสู่สวรรค์นั้น คับแคบและทางไปสู่นรกนั้นกว้าง เห็นได้ชัดว่าพระคัมภีร์ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อคนที่ต้องการ คำตอบสบายๆ หรือง่ายๆ ที่มองศาสนาและธรรมชาติของมนุษย์ในแง่ดีเพียงด้านเดียว


2. การรักษาพระคัมภีร์ไว้ให้เหมือนต้นฉบับเดิม
เมื่อ ประเทศอิสราเอลในปัจจุบันได้ถูกก่อตั้งขึ้นใหม่หลังจากที่กระจัดกระจายไป หลายพันปี คนเลี้ยงแกะชาวเบดูอินคนหนึ่งได้พบสมบัติทางโบราณคดีที่สำคัญที่สุดชิ้น หนึ่งสำหรับสมัย ของเรา เป็นเวลาถึงสองพันปีที่เอกสารนี้ถูกซ่อนอยู่ในไหแตกใบหนึ่งในถ้ำทางชายฝั่ง ตะวัน ตกเฉียงเหนือของทะเลตาย นอกจากนี้ยังมีการค้นพบต้นฉบับคัดลอกซึ่งมีอายุเก่ากว่าสำเนา ที่เก่าที่สุดที่มีอยู่ถึง 1000 ปี ฉบับคัดลอกฉบับหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือฉบับคัดลอกของอิสยาห์ ที่ปรากฏว่าเหมือนกับหนังสืออิสยาห์ในพระคัมภีร์ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ อย่างยิ่ง หนังสือม้วนที่ ทะเลตายนี้ถูกค้นพบท่ามกลางฝุ่นดินเป็นราวกับสัญลักษณ์แห่งการจับมือต้อนรับ ชนชาติที่ หวนคืนสู่บ้านเกิด สิ่งเหล่านี้ได้ลบล้างคำกล่าวอ้างของบรรดาผู้ที่เชื่อว่า ต้นฉบับพระคัมภีร์ ได้สูญหายไปกับกาลเวลาและถูกบิดเบือนไป

3. ข้ออ้างในพระคัมภีร์เอง
พระ คัมภีร์อ้างถึงพระคัมภีร์เองไว้อย่างไรเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทราบ ถ้าผู้เขียนพระคัมภีร์ ไม่ได้กล่าวว่าตนกำลังพูดแทนพระเจ้า เราก็คงจะทึกทักไปเองเป็นแน่ ซึ่งเราก็คงจะมีปัญหา อีกแบบหนึ่ง คงมีเรื่องลึกลับมากมายที่เราไม่เข้าใจ ซึ่งเป็นความลึกลับที่ประกอบอยู่ใน วรรณกรรมทางประวัติศาสตร์และจริยธรรม และเราก็คงจะไม่มีทางมีหนังสือที่เป็นแรง บันดาลใจให้เกิดคริสตจักรและธรรมศาลานับจำนวนไม่ถ้วนทั่วโลก หากพระคัมภีร์ไม่ได้อ้าง ว่ากำลังพูดแทนพระเจ้า ก็คงไม่สามารถเป็นรากฐานความเชื่อของคริสเตียนและยิวนับล้านๆ คนได้ (2 เปโตร1:16-21) แต่มีหลักฐานและข้อโต้แย้งมากมายที่สนับสนุนว่าผู้เขียนได้รับ การดลใจจากพระเจ้า เนื่องจากคนนับล้านได้ยอมแลกความเป็นอยู่ที่ดีของตนทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตนิรันดร์กับการรักษาข้อกล่าวอ้างเหล่านั้น พระคัมภีร์คงจะเป็นหนังสือที่ดีไม่ได้ หากผู้เขียนโกหกเรื่องแหล่งที่มาของข้อมูล

4. การอัศจรรย์ของพระคัมภีร์
การ อพยพของชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์ เป็นพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ที่สนับสนุนให้ เชื่อว่าพระเจ้าทรงสำแดงพระองค์ต่อชาวอิสราเอล ถ้าทะเลแดงไม่ได้แยกออกจริงตามที่ โมเสสว่า พระคัมภีร์เดิมก็คงสูญเสียสิทธิอำนาจที่จะกล่าวในพระนามพระเจ้า พระคัมภีร์ใหม่ ก็มีเรื่องของอัศจรรย์ต่าง ๆ เช่นกัน อัครทูตเปาโลยอมรับว่า ถ้าพระเยซูไม่ได้ทรงฟื้นจาก ความตาย ความเชื่อของคริสเตียนก็มีพื้นฐานอยู่บนเรื่องหลอกลวงเท่านั้น (1โครินธ์ 15:14-17) เพื่อเป็นการยืนยันความน่าเชื่อถือ พระคัมภีร์ใหม่ได้อ้างรายชื่อพยานหลายคนไว้ซึ่งพยาน เหล่านี้อยู่ในช่วงเวลาที่พิสูจน์ได้ด้วย (1โครินธ์ 15:1-8) พยานหลายคนยอมสละแม้ชีวิต มิใช่เพื่อศีลธรรมที่ไม่อาจจับต้องได้หรือเพื่อความเชื่อมั่นฝ่ายวิญญาณ แต่เพื่อคำกล่าวอ้าง ที่พวกเขายืนยันว่าพระเยซูทรงฟื้นขึ้นจากความตาย การสละชีวิตเพื่อความเชื่ออาจจะไม่ใช่ เรื่องแปลก แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าคนเหล่านั้นยอมสละชีวิตของตนเองบนพื้นฐานใด มีหลาย คนที่ยอมตายเพื่อสิ่งที่ตนเชื่อว่าเป็นความจริง แต่คงไม่มีใครยอมตายเพื่อเรื่องที่รู้ทั้งรู้ว่า เป็นเรื่องโกหก

5. เอกภาพของพระคัมภีร์
ผู้ เขียน 40 คน ใช้เวลากว่า 1,600 ปี เขียนหนังสือ 66 เล่มซึ่งประกอบขึ้นเป็นพระคัมภีร์ แม้จะมีช่วงเวลา 400 ปีที่ไม่ได้บันทึกอะไรไว้ ซึ่งอยู่ระหว่างพระคัมภีร์เดิม 39 เล่มกับพระ คัมภีร์ใหม่ 27 เล่ม แม้กระนั้นตั้งแต่หนังสือปฐมกาลถึงหนังสือวิวรณ์ ทุกเล่มต่างก็เล่าถึง เรื่องเดียวกันที่ได้รับการเปิดเผยไว้ ทุกเล่มต่างก็ให้คำตอบที่ไปในทางเดียวกันต่อคำถาม สำคัญที่เราถามกันว่า ทำไมเราจึงมาอยู่ที่นี่? เราจะขจัดความกลัวได้อย่างไร? เราจะอยู่ร่วม กันด้วยดีได้อย่างไร? เราจะอยู่เหนือสถานการณ์และยังมีความหวังใจได้อย่างไร? เราจะ คืนดีกับพระผู้สร้างของเราได้อย่างไร? พระคัมภีร์ได้ตอบคำถามเหล่านี้อย่างสอดคล้อง ต้องกันแสดงให้เห็นว่าพระคัมภีร์ไม่ได้เป็นหนังสือหลายเล่ม แต่เป็นเล่มเดียว

6. ความเที่ยงตรงทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์
ทุก ยุคสมัยมีคนมากมายที่คลางแคลงใจในความเที่ยงตรงทางประวัติศาสตร์ของพระ คัมภีร์ แต่ครั้งแล้วครั้งเล่าที่นักโบราณคดีสมับปัจจุบันได้ขุดพบหลักฐานของบุคคล สถานที่และ วัฒนธรรมที่ปรากฏในพระคัมภีร์อยู่เสมอ บ่อยครั้งที่เห็นได้ชัดว่าเรื่องราวที่บันทึกในพระ คัมภีร์นั้นน่าเชื่อถือยิ่งกว่าข้อสันนิษฐานของบรรดานักวิชาการ ทุกวันนี้ผู้ที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์ และสถานที่ซึ่งพระคัมภีร์กล่าวถึง ต่างก็เกิดความประทับใจกับสภาพจริงทางภูมิศาสตร์และ ประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในพระคัมภีร์

7. พระคริสต์ทรงให้การรับรองพระคัมภีร์
หลาย ต่อหลายคนกล่าวถึงพระคัมภีร์ในทางดี แต่ไม่มีคำรับรองใดที่มีน้ำหนักมากเท่ากับคำ กล่าวของพระเยซูชาวนาซาเร็ธ พระองค์มิได้เพียงยืนยันโดยพระดำรัสเท่านั้น แต่ด้วยชีวิต ของพระองค์เองด้วย ตลอดช่วงเวลาที่พระองค์ถูกทดลอง เมื่อทรงสั่งสอนประชาชนหรือ เมื่อทรงทนทุกข์ พระองค์ทรงทำให้ชัดเจนว่าทรงเชื่อพระคัมภีร์เดิมมากกว่าที่จะทรงคิดว่า เป็นประเพณีของชนชาติที่สืบทอดกันมาเท่านั้น (มัทธิว4:1-11,5:17-19) พระองค์ทรงเชื่อ ว่าพระคัมภีร์เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับพระองค์ พระองค์ตรัสต่อประชาชาติของพระองค์ว่า "ท่านทั้งหลายค้นดูในพระคัมภีร์ เพราะท่านคิดว่าในนั้นมีชีวิตนิรันดร์ และพระคัมภีร์นั้นเป็น พยานให้แก่เรา แต่ท่านทั้งหลายไม่ยอมมาหาเราเพื่อจะได้ชีวิต" (ยอห์น 5:39-40)

8. ความแม่นยำของคำพยากรณ์
ตั้งแต่ สมัยโมเสสมาแล้ว ที่พระคัมภีร์ได้พยากรณ์ถึงเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากเชื่อ ก่อนที่ อิสราเอลจะเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญา โมเสสได้ทำนายว่าอิสราเอลจะไม่สัตย์ซื่อจนทำให้ ต้องสูญเสียแผ่นดินที่พระเจ้าประทานให้ และต้องกระจัดกระจายไปทั่วโลก แล้วรวมตัวกันอีก และกลับมาตั้งถิ่นฐานอีกครั้งหนึ่ง (เฉลยธรรมบัญญัติ 28-31) หัวใจสำคัญของคำพยากรณ์ ในพระคัมภีร์เดิมคือ พระสัญญาเกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ผู้จะทรงช่วยประชากรของพระเจ้าให้ พ้นจากความบาปผิดของเขาทั้งหลาย และในที่สุดจะนำการพิพากษาและสันติสุขมายังมนุษย์ ทั้งโลก

9. ความอยู่รอดของพระคัมภีร์
หนังสือ ของโมเสสเขียนขึ้นก่อนพระคัมภีร์ฮินดูเล่มที่เก่าแก่ที่สุดถึง 500 ปี โมเสสเขียน ปฐมกาลก่อนพระมูฮัมหมัดเขียนคัมภีร์กุรอ่านถึง 2,000 ปี ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ อันยาวนานนั้น ไม่มีหนังสือเล่มใด ที่เป็นที่รักและเป็นที่เกลียดชังเท่ากับพระคัมภีร์ ไม่มี หนังสือเล่มใดที่มีผู้ซื้อ ผู้ศึกษาและอ้างอิงอย่างมากมายเท่ากับหนังสือเล่มนี้ ในขณะที่ หนังสือเล่มอื่นเป็นล้านๆเล่มผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แต่พระคัมภีร์ยังคงเป็นหนังสือที่ใช้เป็น มาตรฐานประเมินหนังสือเล่มอื่นๆ แม้ว่าบ่อยครั้งผู้ที่ไม่ชอบใจคำสอนในพระคัมภีร์จะไม่ ใส่ใจ แต่พระคัมภีร์ก็ยังคงเป็นหนังสือที่เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมตะวันตกตลอดมา

10. อำนาจของพระคัมภีร์ในการเปลี่ยนแปลงชีวิต
ผู้ ที่ไม่เชื่อมักอ้างว่ามีบางคนที่บอกว่าเชื่อในพระคัมภีร์แต่ไม่ได้รับการ เปลี่ยนแปลงโดย พระคัมภีรื แต่ในประวัติศาสตร์มีหลายคนที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นโดยหนังสือนี้

- บัญญัติ 10 ประการเป็นต้นกำเนิดแนวทางศีลธรรมให้กับคนจำนวนนับไม่ถ้วน

- หนังสือสดุดีของดาวิดให้การปลอบประโลมใจในเวลาที่มีปัญหาและสูญเสีย

- คำเทศนาบนภูเขาของพระเยซูเป็นยาแก้ความเย่อหยิ่งและยารักษาบรรดาคนยโสที่ยึดถือ กฎเกณฑ์ตายตัวนับล้านๆคน

- คำบรรยายของเปาโลเรื่องความรักใน 1 โครินธ์ 13 ทำให้ใจที่โกรธขึ้งอ่อนลง

- ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างอัครทูตเปาโล, ออกัสติน, มาร์ติน ลูเธอร์, จอห์น นิวตัน, ลีโอ ตอลสตอย และซี.เอส.ลูอิส แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลง โดยพระคัมภีร์ แม้แต่ ชนชาติหรือชนเผ่าอย่างพวกเซลท์ในไอแลนด์ ชาวไวกิ้งที่ป่าเถื่อนในนอร์เวย์ หรืออินเดียนแดงเผ่าออคาในเอกวาดอร์ก็ได้รับการเปลี่ยนแปลง โดยพระคำของพระเจ้า และ โดยชีวิตของพระเยซูคริสต์ที่มีความหมายและไม่มีใครเปรียบได้

สรุป
ไม่ ใช่คุณคนเดียว ที่มีคำถามเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของพระคัมภีร์ พระคัมภีร์ก็มีสิ่งลี้ลับ เหมือนกับโลกรอบ ๆ ตัวเรา แต่ถ้าพระคัมภีร์เป็นอย่างที่อ้างไว้จริงๆ คุณก็ไม่จำเป็นต้อง พยายามเสาะหาหลักฐานด้วยตัวคุณเอง พระเยซูทรงสัญญาว่าจะประทานความช่วยเหลือ จากพระเจ้าให้กับผู้ที่ต้องการรู้ความจริงเกี่ยวกับพระองค์และคำสอนของ พระองค์ พระเยซูซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในพระคัมภีร์ใหม่ตรัสว่า "ถ้าผู้ใดตั้งใจประพฤติตาม พระประสงค์ของพระองค์ ผู้นั้นก็จะรู้ว่าคำสอนนั้นมาจากพระเจ้าหรือว่าเราพูดตามใจ ชอบของเราเอง" (ยอห์น7:17) กุญแจสำคัญดอกหนึ่งในการเข้าใจพระคัมภีร์คือ พระคัมภีร์ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อให้เรา สนใจพระคัมภีร์เท่านั้น แต่หลักการทุกอย่างในพระคัมภีรืมีขึ้นเพื่อแสดงให่เห็นถึง ความจำเป็นที่เราจะต้องรับการอภัยโทษซึ่งพระเยซูทรงจัดเตรียมไว้ให้เรา พระคัมภีร์ แสดงให้เราเห็นว่า เพราะเหตุไรจึงจำเป็นต้องให้พระวิญญาณของพระเจ้าดำรงพระ ชนม์อยู่ในเรา พระเจ้าประทานพระคัมภีร์ก็เพื่อเหตุนี้

ที่มา : องค์การเยาวชนไทยเพื่อพระคริสต์